ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้า้งสังคมแห่งการเรียนรู้...

หากต้องการลงบทความ/งานเขียนของท่าน สามารถแจ้งความประสงค์ได้ทางเว็บบอร์ด หรือทางอีเมล์แอดเดรส; po_kenchin@hotmail.com
หรือจะสมัครสมาชิกอย่างเดียวก็ได้นะครับ

พงศาวดาร ชนพ.

ภาคปฐมบท จากยุคประชาธิปไตยครึ่งใบมาถึงยุคเผด็จการเต็มตีน


                ยิ้มก่อนอ่าน ตาหวานก่อนเปิด ยิ้มเสียเถิดเปิดแล้วค่อยอ่าน
                พงศาวดารช.น.พ.ต่อไปนี้เป็นฉบับฉลองครบรอบ 21 ปี ก้าวสู่ปีที่ 22 ...แหม!นานขนาดนี้ ก็ธรรมดาแหละ ย่อมต้องมีความเป็นมาเป็นไปกันมั่ง
                มีครบทุกรสแหละ ทั้งรักบู๊ตลกเศร้าเคล้าน้ำตาอิจฉาริษยา ตบกันน้ำกระจาย..(.ชักจะออกแนวหนังไทย ซะงั้น!)
1.             ภาคก่อตั้ง- ช.น.พ. แรกเริ่มเดิมทีก่อตั้งในราวกลางปี พ.ศ. 2528 ใช้ชื่อว่า ชุมนุมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา สังกัดสโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แต่ด้วยความที่คณะผู้ก่อตั้งเป็นนักกิจกรรมที่ป้วนเปี้ยนอยู่แถวตึกกิจกรรมนักศึกษา องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น(อนมข.) แล้วตอนนั้นตึกกิจกรรมฯก็เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆสียังไม่แห้งดี คณะผู้ก่อการก็เลยจองทำเลชั้น2ตึกกิจกรรมฯนี่แหละเป็นนิวาสถานของช.น.พ.มาแต่ต้น
                   คณะผู้บุกเบิกก่อตั้งเบื้องต้นก็มีพี่ตู้- วุฒิพงศ์  จุทาสงฆ์#นักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชนรุ่นที่ 1 หรือCD#1 (ภายหลังเรียนจบพี่ตู้ไปทำงานสร้างสรรค์เพลงอยู่กับค่ายแกรมมี่ เคยทำเพลงให้กับวงดังๆ หลายเพลง  ในนั้นก็มีเพลง  แหย่ไข่มดแดง ของวงซูซู แล้วก็เพลง  ป๋าผัว  ของสาวสมภาร)
                   ร่วมกับพี่ต้อม-ธีรพงษ์  วงศ์บุญ นักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษ(ปัจจุบันเป็นอาจารย์ฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี), พี่วิลเลี่ยม(ชื่อจริงจำไม่ได้ จำได้แต่ชื่อพ่อคือนายบุญยัง ปัจจุบันทำงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)แล้วก็พี่เตี้ย-ศักดิ์ชาย  ทองสุขคณะวิศวะฯ  (ปัจจุบันทำงานอยู่กับบริษัทยางมะตอยทิปโก้แอสฟัลต์)ร่วมกันก่อตั้ง  โดยมีนักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชนรุ่นปีที่  2  เป็นสตาฟหลักๆ 
                   คณะผู้ก่อการเห็นว่ากิจกรรมนักศึกษาในกาลครั้งนั้นอยู่ในภาวะสลบซบเซา สภาพกิจกรรมนักศึกษาอยู่ในยุควิกฤตศรัทธา เพราะกิจกรรมของฝ่ายซ้ายที่เคยขึ้นสู่กระแสสูงในขณะนั้นก็ตกอยู่ในสภาพหนียะย่ายพ่ายจะแจ ป่าแตกกลับคืนเมือง ส่วนบ้านเมืองก็เป็นประชาธิปไตยครึ่งใบ เลยขาดเป้าหมาย ไม่รู้ว่าจะทำกิจกรรมนักศึกษาไปทำไม? ทำไปแล้วจะได้อะไรขึ้นมา เรียกได้ว่าตกอยู่ในภาวะสับสนพอนึกอะไรไม่ออกก็เลยออกค่ายอาสาไปงั้นๆ
                   ในปีแรกของการก่อตั้งช.น.พ.จึงได้เน้นหนักไปทางการคิดกิจกรรมสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ คิดค้นรูปแบบการออกค่ายอาสาพัฒนาแบบใหม่ๆ
                   และเนื่องจากประธาน ช.น.พ.คนแรกคือ  พี่ตู้  จะออกแนวศิลปิน ลักษณะ อารมณ์ศิลปิน สนุกๆขำๆแต่สอดแทรกเนื้อหาหนักๆ เลยเป็นสีสันอย่างหนึ่งของ ช.น.พ. แล้วก็สืบทอดกันมาหลายเจเนอเรชั่น
                   (ป.ล.มีรูปๆหนึ่งเป็นรูปปริศนาติดอยู่ที่ช.น.พ. คนนี้ชื่อพี่นา-วิทยา ยืนยาว CD # 1 ตอนเรียนอยู่พี่นาไม่ค่อยได้มีบทบาทในช.น.พ.นัก พี่เขาเคยเป็นหัวหน้าสต๊าฟว้ากที่ดุดันมั้กมาก แต่ตอนไปฝึกงานก่อนจะจบนั้นก็เอาจริงเอาจังมาก กลับมาขลุกอยู่ช.น.พ.ระยะหนึ่ง ก่อนจะจบออกไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่องค์กรด้านสลัมแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ มีข่าวว่าเผชิญแรงกดดันหลายอย่าง และตำรวจสันนิษฐานว่าพี่นากระทำอัตวินิบาตกรรม ...)

2.             ภาคคบคิด- ในปีรุ่งขึ้น คือพ.ศ 2529 มีพี่อู๋ CD#2 (ปัจจุบันคือดร.พัฒนา  กิติอาษา อดีตอาจารย์ ม สุรนารีตอนนี้ไปสอนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์)เป็นประธานชุมนุม
                   เนื่องจากพี่อู๋เป็นนักกิจกรรมที่ออกแนวเรียนก็เด่น เล่นก็ดี หลีก็รุ่ง(คนอะไรมันจะเพอร์เฟ็คต์แมนขนาดนั้นวะ..) ยุคนี้จึงจะคึกคักในแง่ของการแสวงหารูปแบบใหม่ๆ ในการดูดคนเข้าชุมนุม เช่น ยึดพื้นที่หน้าตึกกิจกรรมมาเป็นสนามบอลโกล์หนู ซะงั้น และลดข้อห้ามการหลีไปพลางทำกิจกรรมไปพลางลงมาบ้าง (แต่ถ้าใครเน้นมาหลีเป็นหลัก ก็จะเชิญด้วยสายตาว่า มึงไปไกลๆตีนหน่อยไป...)
                   ส่วนการออกค่ายอาสาพัฒนาก็มีนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า  ค่ายต่อเนื่องเกิดขึ้นมา คือไม่ได้ออกค่ายหนเดียวแล้วเลิก แต่ไปออกค่ายในพื้นที่หมู่บ้านนั้นๆแบบต่อเนื่องหลายหน
                    และเริ่มมีกิจกรรมเสวนาเชิงวิชาการในวงแคบๆและขยายไปเสวนาในระดับคณะบ้าง  คนในขบวนรุ่นนี้ที่ยังเข้มข้นทำงานในแวดวงพัฒนามีหลาย คนเท่าที่จำได้ก็มีพี่ตุ๊ก ตอนนั้นมีตำแหน่งเป็นฝ่ายวิชาการชุมนุม (ปัจจุบันคือ ดร.กนกวรรณ ตอนนี้เป็นอาจารย์ที่ ม.อุบลฯ-มีบทบาทในการนำชาวบ้านเขื่อนปากมูลทำวิจัยแบบชาวบ้านและเคยเสนอผลการวิจัยต่ออดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ  ชินวัตร ที่ทำเนียบรัฐบาล) , พี่เฒ่า-ทองใบ  สิงสีทา(เข้าใจว่ายังทำงานที่มูลนิธิอะไรซักอย่างที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ควายและการเกษตรแบบยั่งยืนแถวๆ นครสวรรค์-สุพรรณบุรี),พี่อ้อย- กนกพร  ดีบุรี (ตอนนี้ยังทำโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศลุ่มแม่น้ำโขง),พี่ต๋อย- วันเพ็ญ  โกมินทร์ (ปัจจุบันทำงานอยู่สถาบันวิจัยเพื่อสังคม จุฬาฯ) พี่เหี่ยว- เดโช  ไชยทัพ (ปัจจุบันทำงานด้านป่าชุมชน และกป.อพช.ภาคเหนือ),พี่ต้อม รังสรรค์ เชื้อสาวะถี(ปัจจุบันเป็นพัฒนากรที่ขอนแก่น), พี่ต๋อม(ปัจจุบันเป็นพัฒนากรที่ไหนซักแห่ง) และพี่สุวิทย์ นามแสง (ปัจจุบันทำงานกับชุมชนชาวเกาะเสม็ด ระยอง) เป็นต้น
                   ทั้งหมดนี้เอ่ยนามมาเป็นCD #2  เป็นรุ่นที่เอาการเอางานมากทีเดียวตั้งแต่เรียนมาจนบัดนี้แหละ
                   ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการสร้างซุ้ม ชนพ. ขึ้นข้างตึกกิจกรรมฯ  หลังจากที่ชนพ.ส่งผู้แทนคือ พี่เหี่ยวกับพี่น้องณัฐ- ณัฐวุฒิรุ่งวงษ์ CD#3 (ปัจจุบันประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน  ต้นธารคอร์ปอเรชั่น  จำกัด และผู้ดำเนินรายการรู้ทันหุ้นทางโทรทัศน์ช่อง 11 )ไปประชุมสมาพันธ์ชาวค่ายอาสาพัฒนาที่ ม. รามคำแหง แล้วนำรูปแบบซุ้มกิจกรรมของรามฯมาทำซุ้ม ชนพ.(และซุ้มที่ว่าก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ ชนพ.มายาวนาน)
3.              ภาคศึกษา- ปี 2530 นายเหี่ยวกับน้องณัฐ  นำกล้าไผ่จากภูพานมาปลูกข้างๆซุ้มชนพ.ราวๆช่วงสงกรานต์ของปีนี้ ป่านนี้ก็เป็นกอใหญ่แก่หง่อมแล้วหละ พร้อมกับขุดสระน้ำข้างๆ ชนพ.(ต่อมาต้องถมทิ้งเพราะลูกยอป่าตกใส่น้ำส่งกลิ่นเหม็นเหลือหลาย)พี่เหี่ยวเป็นประธาน ชนพ. ในปีนี้ พี่เฒ่า เป็นฝ่ายวิชาการ และน้องณัฐเป็นประธานค่ายอาสา เพราะสไตล์ของพี่เหี่ยวนั้นจะเน้นการกระจายกันทำงาน สานกันเป็นทีม
                    ที่สำคัญนะขอบอก สาวๆจะแห่มาชุมนุมตรึมเป็นพิเศษเพราะประธานหน้าตาดี ดูเหมือนมีชาติมีตระกูล(แต่ตอนนี้กบาลไปยันท้ายทอย หาผมทำยายากแล้ว...)
                   ในปีนี้จะคึกคักเป็นพิเศษในแง่ของการจัดการ  ศึกษาทางเลือก  ความที่พี่เหี่ยวกับพี่เฒ่าไปมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรพัฒนาเอกชน  NGO ภาคอีสาน ก็เลยต่อเชื่อมสัมพันธ์กับขบวนการ  NGO นอกรั้วมหาวิทยาลัยอย่างคึกคักโดยการจัดเสวนาทางเศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง วัฒนธรรมและหลายเรื่อง  เช่น บทบาทของนักศึกษากับสังคม,  เกษตรกรรมธรรมชาติ ,แพทย์แผนโบราณ-แผนไทย,  การศึกษาแบบทางเลือก,  เกษตรแบบผสมผสาน,การต่อสู้ในแนวทางสันติวิธี เป็นต้น
                   นอกจากนั้นก็มีการนำหนังสือมาจากกรุงเทพฯ(ส่วนใหญ่นำมาจากเคล็ดไทย  , ศึกษิตสยาม ,สำนักพิมพ์โกมลคีมทอง คือออกแนวเป็นหนังสือประเภท  หนักๆ ในแนวคิดยุคนั้น) มาขายตลอดทั้งปี โดยเริ่มต้นจากงานรับน้องใหม่ แล้วก็ขายมันไปเรื่อย เพื่อหาเงินมาทำกิจกรรม
                   ส่วนการออกค่ายอาสา ชนพ. ได้ริเริ่มออกค่ายต่อเนื่อง  คือไม่ใช่ไปออกค่ายครั้งเดียวแต่มีการติดตามเยี่ยมค่าย  ศึกษาชุมชนฝังตัวในชุมชนอย่างต่อเนื่อง 4-5 ครั้ง ที่หมู่บ้านหนองคูบัว อ.หนองสองห้อง แล้วก็มีการศึกษาเสวนากิจกรรมทางปัญญา เข้มข้นถึงขีดสุดในยุคนี้ก็ว่าได้

4.             ภาคจัดตั้ง-ในปี พ.ศ. 2531 ภายหลังจากศึกษามาอย่างเข้มข้นในปีที่ผ่านมา  ตกมาในปีนี้มีพี่ก๋อย-วสันต์ อุ่นโรจน์ CD# 3 เป็นประธาน(ปัจจุบันทำงานอยู่คณะวิทยาศาสตร์ มข.)มีทีมงานหลักๆคือ  พี่น้องณัฐ เป็นฝ่ายวิชาการ และพี่เติ้ง- บรรพต  ศรีจันทร์นิตย์CD#3 เป็นฝ่ายสร้างภาระให้กับชุมนุม (ปัจจุบันเป็นนักวิจัยและนักวิชาการอิสระ)ที่ว่าเป็นฝ่ายสร้างภาระนั้นก็คือ ทำหน้าที่คอยประสานงานกับ อนมข.  และองค์กรแนวร่วมต่างๆ
                   ส่วนCD#4 มีพี่กุ้ง-สาคร  นาถ้ำชน (ปัจจุบันทำงานที่ ม. สุรนารี), พี่บึ้ง-บุญอ้อม  ทิพย์สุนา(ปัจจุบันทำงานอยู่องค์กรพัฒนาเอกชน และเป็นนักวิจัยอิสระ)พี่ต๋อมแต๋ม ปาริชาติ  ศรีธัญรัตน์(ตอนนี้อยู่แถวกทม.ไปเจอเรียนโทNIDAแว๊บๆมาซัก2-3ปีมาแล้ว) พี่จำปา-โต ถนอมสิน(ปัจจุบันทำงาน NGO แถวภาคอีสาน)แล้วก็พี่แดง (ตอนนี้น่าจะอยู่แถวๆโคราช)เข้ามาสืบสานต่อกิจกรรมหลักของเรานอกจากการออกค่ายอาสาฯและเสวนาทางปัญญาแล้วก็คือการแทรกซึมหาพันธมิตร  ในปีนี้เพื่อเตรียมเคลื่อนไหวใหญ่ในปีรุ่งขึ้น
                   หลักๆของปีนี้คือทำงานประสานงานกับองค์กรนักศึกษาละแวกตึกกิจกรรมกับ อนมข.นั่นแหละ ไม่ใช่เพื่อก่อการร้ายหรอก แต่เตรียมไว้ก่อการดี

5.             ภาค เคลื่อนไหว ปี พ.ศ.2532 มีพี่กุ้ง-สาคร นาถ้ำชน CD #4 เป็นประธาน  แกนนำหลักๆ ก็มีพี่บึ้ง  พี่ต๋อมแต๋ม  พี่โต หรือพี่จำปาตีนโต- ถนอมสิน และพี่อ๊อด เทวินทร์  ขอเหนี่ยวกลาง เป็นฝ่ายวิชาการ(ปัจจุบันคืออาจารย์อ๊อด-รองผู้อำนวยการเอแบคโพลล์-มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ)
                   ส่วนรุ่นที่มาสืบสานรับบททายาทอสูรก็จะมีพี่โอ๋-อดิศร สุนทรารักษ์ (ปัจจุบันทำงานอนุรักษ์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย)พี่แจ็ค -วิทยา(จำนามสกุลไม่ได้ จำได้แต่ชื่อพ่อ ปัจจุบันทำงานที่กรมพัฒนาชุมชน)
                   ในปีนี้ชาว ช.น.พ. ได้ออกความเคลื่อนไหว เป็นแนวหน้านำกลุ่มกิจกรรมนักศึกษา มข. รวมทั้งผนึกผสานกับทางสโมสรนักศึกษา(ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นองค์การนักศึกษามข.)ออกรณรงค์เคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับชาวนาในลุ่มแม่น้ำเสียว  พื้นที่ 8 อำเภอ 3 จังหวัด คือ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด  ศรีษะเกษ อย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการจับมือกับองค์กรนักศึกษาทั่วประเทศ เช่น  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท),คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน (คอทส.) เป็นต้น  ทำการรณรงค์คัดค้านการก่อสร้างเขื่อนปากมูล (แต่ต่อมาเราได้มาปักหลักที่ลุ่มน้ำเสียว และให้พันธมิตรของเราจากหลายสถาบันปักหลักที่เขื่อนปากมูลเพื่อที่จะแยกกันเดินรวมกันตี)

6.             ภาคปลุกพลังผู้ด้อยโอกาส  ปี 2533 มีพี่โอ๋-อดิศร CD#5 เป็นประธานชนพ. แกนนำก็มีพี่แจ็ค พี่โจ้(ปัจจุบันทำงานที่ ม. สุรนารี) ยุคนี้ความเคลื่อนไหวน่าจะถึงขั้นขีดสุด เมื่อการรณรงค์อย่างสันติกรณีลุ่มน้ำเสียว ต้องมาจบลงด้วยเหตุรุนแรงในช่วงวันสงกรานต์ของปีนี้
                   กรณีนาเกลือลุ่มน้ำเสียวนั้น มีชาวบ้านชาวนาที่เดือดร้อนจากการทำอุตสากรรมน้ำเกลือ ตลอดลุ่มน้ำเสียวจำนวนมหาศาล 8 อำเภอ 3 จังหวัด ไร่นาปศุสัตว์ล่มจม พวกเขาพยายามยื่นหนังสือร้องเรียนตามขั้นตอนทุกอย่าง แต่ไร้ผล  เพราะยุคนี้มีรัฐมนตรีมหาดไทยชื่อ นายบรรหาร  ศิลปอาชา  ซึ่งมีธุรกิจอุตสาหกรรมคลอรีนที่ต้องใช้เกลือจากลุ่มน้ำเสียวไปเป็นวัตถุดิบสำคัญ   มีตระกูลมหาเศรษฐีอุดหนุนรัฐบาลในขณะนั้นต้องใช้เกลือไปเป็นวัตถุดิบในอุตสาหรรมผลิตกระจก   
                   ปานว่าช้างเหยียบปากนก...  คือคำพูดของชาวบ้านที่กินความคำพูดทุกอย่างเบ็ดเสร็จ...นั้นแหละที่ทำให้ชาว ช.น.พ. ได้เป็นแกนหลัก นำองค์กรนักศึกษาเข้าร่วมกับชาวบ้านคัดค้านความอยุติธรรม..ง้างตีนช้างออกจากปากนก
                   แต่การต่อสู้อันสันติของชาวบ้านและนักศึกษา จบลงด้วยความรุนแรงที่ฝ่ายข้าราชการทหารและตำรวจบุกเข้าปราบปรามอย่างรุนแรงภายใต้คำสั่งลับจากกรุงเทพฯ  ทั้งที่ฝ่ายนักศึกษากับประชาชนได้กระทำทุกวิถีทางอย่างสันติหลีกเหลี่ยงการยั่วยุแล้วก็ตาม
                   มีชาวบ้านและนักศึกษาโดนกองกำลังผสมทหารและตำรวจกวาดจับไปทั้งสิ้น  43 คน  โดนตีหัวร้างข้างแตกหลายคน เท่าที่จำได้ว่าหนักที่สุดก็คือ ท่านประธาน ช.น.พ. ของปีนี้ นั่นคือ พี่โอ๋ เพราะโดนกระบองตีหัวแตก(หนังสือพิมพ์ลงข่าวหลายฉบับ)  นอกจากนักศึกษาขอนแก่นแล้ว ก็มีนักศึกษาองค์กรแนวร่วมจากรามฯ ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ และม.มหาสารคาม ถูกกวาดจับขังคุกที่สภอ.วาปีปทุม จนแทบไม่มีที่นอน แออัดยัดเยียดเต็มห้องขัง 
                   กรณีดังกล่าวมีเสียงก่นประณามรัฐบาลอย่างพร้องเพรียงทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ  แม้แต่ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช  ก็เขียนลงในคอลัมน์ซอยสวนพลูอันลือลั่นในยุคนั้นว่าเป็นการกระทำที่ย่ามใจลุแก่อำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง   ทว่าการกระทำยิ่งกว่าเผด็จการทหาร
                   แต่ด้วยพลังนักศึกษาประชาชนและพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศได้กดดันให้รัฐบาล พล.อ. ชาติชาย  ชุณหวัณ(รัฐบาลในขณะนั้น)ต้องปลดปล่อยผู้บริสุทธิ์ที่ถูกคุมขังอย่างไม่มีเงื่อนไข และมีการแต่งตั้ง พล. ต.อ.วิสิษฐ เดชกุญชร  ขึ้นสอบสวนและชี้ว่าตำรวจทหารและฝ่ายราชการทำเกินกว่าเหตุ เพราะเข้ากวาดล้างจับกุมในขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมจัดการการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ต้องปลดปล่อยนักศึกษาและผู้บริสุทธิ์ภายใน 24 ชั่วโมง
          ต่อมามีการสั่งปิดอุตสาหกรรมเกลือสินเธาว์ในพื้นที่(เข้าใจว่าปัจจุบันนี้ยังปิดอยู่)ส่วนรัฐบาลชาติชาย และนายบรรหารเป็นแกนนำ  ถูกทหารทำการรัฐประหารในปีถัดมา
                   อนุสนธิจากกรณีดังกล่าวได้ก่อผลสะเทือนตามมาหลายด้าน อาทิ ผู้นำชาวบ้านธรรมดาๆ ที่นำพาการลุกขึ้นต่อสู้ในคราวนั้น ได้ถูกเลือกเป็นส.ส.มหาสารคามหลายสมัยในเวลาต่อมา คือพี่สุชาติ ศรีสังข์
                   ชาวบ้านในพื้นที่ โดยเฉพาะแถบอ.วาปีปทุม ยังคงจัดให้มีกิจกรรมรำลึกเหตุการณ์ดังกล่าวทุกปีในช่วงวันสงกรานต์ ซึ่งเป็นวันที่นักศึกษากับชาวบ้านถูกปราบปรามจับกุมอย่างรุนแรง
                   นอกจากนั้นก็เป็นการจุดประกายไฟปลุกพลังให้ประชาชนทั่วพื้นที่ภาคอีสานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีต่างๆและเคยเงียบงันไม่กล้าลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมมาก่อนเลย ต่างก็ได้ลุกขึ้นรวมพลังกันต่อสู้เรียกร้องสิทธิให้กับตนเองอย่างแข็งขันในเวลาต่อมา
             ชาวช.น.พ.มีส่วนสำคัญในการเข้าไปสนับสนุนให้ชาวไร่ชาวนาจัดตั้งสมาพันธ์ชาวไร่ชาวนาภาคอีสานในราวปี พ.ศ. 2534 ก่อนที่องค์กรนี้จะค่อยๆกลายมาเป็นสมัชชาคนจนในเวลาต่อมา

   7 .ภาคพิสดาร-ในช่วงพ.ศ.2534-2535 มีพี่เหม็นCD# 7เป็นประธาน(ปัจจุบันเป็นศิลปินมีชื่อ  และมีนามสกุล)   และคณะพรรค เช่นพี่กล้า(ทำงานพัฒนาเอกชน และเป็นศิลปินมีชื่อมีนามสกุลเช่นกัน) พี่โตคางยาว(ทำงานอยู่กับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทย) พี่หลั่น (ทำปริญญาเอกทางด้านมานุษยวิทยาอยู่ที่เวียดนาม) สืบสานมรดกตกทอดต่อเนื่องมา
                   กิจกรรมที่เด่นๆก็มีการเป็นแกนนำประชาชนชาวขอนแก่น รณรงค์คัดค้านการสืบอำนาจของเผด็จการ รสช. โดยการจัดชุมนุมประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประจำจังหวัดขอนแก่น และรณรงค์คัดค้านการที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะมอบปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำเผด็จการรสช. (ไม่รู้คนทำ มันเอาอะไรคิด...)
                   แล้วช.น.พ.ก็สืบสานตำนานจากวันนั้นมาปานนี้ก็จะย่าง 22 ปีแล้ว เปลี่ยนจากชุมนุมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา มาเป็นชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา(ฟังแล้วดูมีชาติมีตระกูลขึ้นแยะ) จากสังกัดสโมสรคณะฯ ก็มาสังกัด อนมข.
                   จากยุคแสวงหา ผ่านการแสวงเหา จากประชาธิปไตยครึ่งใบ มาจนใบเต็มต้น วนไปเวียนมาจวบจนกระทั่งเผด็จการเต็มใบในปรัตยุบันนี้!
                   คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าเข้ามาแล้วก็จากไป มีทั้งสมหวัง ผิดหวัง อกหัก รักคุด อบอุ่นอบอวลด้วยมิตรไมตรี บางทีก็อิจฉาริษยาตาร้อน บางคราวก็รักความเป็นธรรม รักชาติบ้านเมือง ว่างๆก็รักเธอ (แต่เธอไม่รัก...เอ็งเลยอกหัก เพราะรักเขาข้างเดียว-สม!)
                   ซุ้มฮ้างๆ ข้างช.น.พ.ก็มีเกิดมีดับ ต้นยอป่าก็ออกลูกของมันทุกปี ต้นไผ่จากเล็กๆเท่าลูกหมา ตอนนี้ก็เป็นกอแก่ตามสังขารและกาลเวลา
                   ช.น.พ.หลายๆรุ่นก็มีคนทำงานสานต่อกันมา บางรุ่นเหลือคนสองคน บางรุ่นขนาดเหลือกันแค่2คนก็ยังตั้งวงทะเลาะกัน บางรุ่นก็รักกันน้ำหูน้ำตาไหล บางรุ่นก็ล้นทะลักหาที่นั่งไม่ได้ ต้องตีตั๋วยืน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนจะไม่เปลี่ยนแปรเลยก็คือจิตวิญญาณของช.น.พ.(บางทีคุณอาจสัมผัสมันได้...)
                ถ้าหากให้เทียบ ช.น.พ. กับคนๆหนึ่ง  ในความเห็นของผู้เขียนแล้ว ช.น.พ. ก็คงจะเป็นคนธรรมดาๆคนหนึ่ง ที่คุณเจอได้ตามโรงอาหารกลาง หรือข้างถนนระหว่างเดินทางไปเรียน หรือเป็นใครซักคนที่คอยลูบหลังเวลาคุณอ้วกตอนเมา พร้อมกับเขย่าตัวปลอบประโลม
                   ช.น.พ.เป็นอย่างนั้นแหละ คือมีรักโลภโกรธหลงทุกอย่าง แต่เป็นคนที่”Nice” น่ารักอัธยาศัยดีน่าคบหา  มีความเป็นศิลปินอยู่มากซักหน่อย(ศิลปินเลยมักจะเมาเป็นอาจิณ)ขี้เล่นอารมณ์ดี ตลกเกินความจำเป็นในบางครั้ง
                   แต่ในความธรรมดาๆนั้น ก็มีอะไรที่แนวพอสมควร คือบางครั้งก็ออกไปแนวเคร่งขรึมเอาจริงเอาจังกับชีวิตเป็นผู้ใหญ่เกินวัย  ชอบคิดแหกกรอบไปจากมาตรฐานชาวบ้านเขา(ชาวบ้านเขาเลยมักมองว่าไอ้พวกนี้มันออกจะแอ๊บๆ...)
                   ช.น.พ. มีมาตรฐานแบบ พระเอกหนังไทย  คือ รักเสียงเพลง รักธรรมชาติ  เกลียดการดูถูกคนจน มีอุดมคติต่อสู้เสียสละยืนหยัดอดทนเพื่อมวลชนผู้ทุกข์ยาก  เสียทีหน้าไม่หล่อ  ปากหมาวาจาผีเลยไม่มีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้าม(แรงไปเปล่าวะเนี่ย) 
                   อิอิ ที่ว่ามานั้นพูดเล่นนะ  แต่ก็อย่างว่าหละนะก็อาจจะมีความจริงอยู่บ้าง  ถ้าตัดสารรูปภาพลักษณ์ภายนอกประเภทขี้เหล้าเมายาออกไปได้มั่ง แล้วส่องเข้าไปถึงลูกถึงคนก็อาจจะเห็นเนื้อในผ่องแผ้วนพคุณ   ของช.น.พ.ก็ได้
                    ไหนๆตอนนี้ก็อายุจะ 22 ปีแล้ว ก็ถือว่าโตเต็มที่แล้ว ผมก็ไม่มีอะไรจะให้พร เพราะผมยังไม่แก่ถึงขั้นจะเป็นผู้ใหญ่ให้พรกับใครได้ แล้วก็ไม่ขอให้โอวาทอะไร เพราะเรื่องทำกิจกรรมนั้นมันสั่งสอนหรือสั่งเสียกันไม่ได้ ยุคใครสมัยใครก็ใฝ่ก็ฝันก็มันส์กันไป เผื่อวันนึงแก่มาหัวหงอกแล้วมองย้อนกลับไป ก็พอจะกรึ่มๆแล้วพูดได้เต็มปากว่า...
                   อืมมม ช.น.พ.ในยุคของกูนี่ก็ไม่ใช่ย่อยนะเว้ยเฮ้ย  หึหึหึหึหึ

                                                                                             #พี่น้องณัฐ รุ่น3#
_________________________________________________________

ภาคสอง บทเพลงย่ำรุ่ง



   “  ..เมื่อวันฝนซาฟ้าเปิด  เธอจะนอนฝันดี

      ..กับลมหายใจที่ยังมี  คนๆนี้จะมีรักให้เธอตลอดไป.. “
เนื้อเพลงของใครบางคนแว่วเข้ามาในหัว …พร้อมกับคำถามต่อเนื้อเพลงที่ว่า เธอจะรักเขาได้ตลอดลมหายใจที่ยังมีจริงหรือเปล่า ?.
 เร็วนะ - แป๊บๆก็ ยี่สิบกว่าปีแล้ว  หนาวนั้นเมื่อสองปีที่แล้ววันที่พวกเราได้คุยกันอยู่ที่ซุ้ม ผมยังรู้สึกว่าอีกตั้งนานกว่าจะได้กลับมาเจอกันอีก  วันสองวันก่อนกลับไปค้นสมุดงานครบรอบ 20 ปี ที่น้องทำให้เมื่อคราวโน้นมาอ่าน รู้สึกว่าบรรยากาศงานครั้งนั้นยังอุ่นๆอยู่เลย  สองปีแล้วเหรอนี่ จะได้กลับมาเจอกันอีกแล้วสิ  ดีใจครับ..
                ปี 2533 – 2536 เป็นช่วงที่ผม พี่ๆ เพื่อนๆและน้องๆ ได้มุดดินแกนมาใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นช่วงสี่ปีแห่งความสุข เศร้า เหงา และรัก
ย้อนไปเมื่อมิถุนายนปี 2533 ที่พวกเราเข้ามาป็น Freshsy  ( อ่อนครับอ่อน พี่ๆเช็ดน้ำลายกันตรึม )  ปีนั้นพวกพี่าๆเค้าเรียกพวกเราว่าเป็นรุ่น สร้างน้อง ครับ ( เสียดายที่ไม่ได้ทำเหรียญไว้แจก ไม่งั้นป่านนี้คงขายได้หลายตังค์ ) โดยพวกรุ่น 5 นำโดยพี่โอ๋ ( อดิศร สุนทรารักษ์ ) ประธานชนพ. ปัจจุบันทำงานพัฒนาเอกชนที่ อ.ภูหลวง) พี่หงุ่นหรือโศก เอแบก( อโศก พลบำรุง )  ปัจจุบันออกจากงานของอ.บัวพัน ไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพ  เฒ่าแจ็คกี่  เดอะ เกย์ ( วิทยา ลือชา ) พี่สำลี ( กิตติพงษ์ ทุ่งสะโร ) ทั้งสองปัจจุบันเป็นพัฒนากรที่กรมการพัฒนาชุมชน)   พี่โจ้ ( สรณะ ศรีตะชัย  ) ปัจจุบันทำงานที่ ม. เทคโนโลยีสุรนารี พี่เหน่ง ( จำชื่อไม่ได้ครับ และไม่ทราบที่อยู่ที่แน่ชัด ) พี่แอ็ด ( วีระชัย โชว์ใหม่ ) ปัจจุบันทำงานธกส.ที่ห้วยแถลง  พี่ธรรม ( ธรรมวิมล ) ปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่ ม.อุบล พี่จุ๋ม ( วารุณี ผลมาตย์ ) ปัจจุบันทำงานที่ ม.เทคโทโลยีสุรนารี พี่ปุ๊ พี่โป่ง สองสาวแห่งเมืองอุดร  พี่ไก่โต้น และพี่ๆรุ่น 6 อย่างเฒ่าหำเปียและกลุ่มสาวๆ และกลุ่มสาวๆ มีพี่นุช พี่กบแอ๊บ พี่ดา พี่น้อย  และปลาหลด  ( หลังนี่ชื่อคนนะ ขอบอก )
 เมื่อได้คอนเซ็ปว่าเป็นรุ่นสร้างน้องดังนั้นเมื่อพวกเราเสนอความคิดเห็นอะไร พี่ๆจึงมักจะยอมรับฟังความคิดเห็นของพวกเราเสมอ ซึ่งก็มีทั้งดีและไม่ดี แม้กระทั่งเรื่องเปลี่ยนค่ายเดือนตุลาคม จาก อ.เพ็ญ จ.อุดรไปที่ บ้านวังตาเทพ อ.เทพสถิต ชัยภูมิ จนนำไปสู่เหตุการณ์ ชนพ.ตุลาวิปโยคที่บ้านวังตาเทพ  ทั้งๆที่พวกพี่ๆเค้าไปเตรียมชาวบ้านไว้เรียบร้อยแล้ว   ก็เป็นความคิดพวกเรา
พวกพี่ๆเทรนงานให้กับน้องๆรุ่นผมอย่างขยันขันแข็งครับ ได้ทั้งเรื่องแนวความคิดดีๆและวิถีชีวิตที่เดินเข้าหารสชาติของแอลกอฮอล์ พวกน้องๆอย่างเราเลยแข็งแรงกันทั่วหน้าโดยเฉพาะคอ
ส่วนสาเหตุที่ให้เรียกว่าเป็นรุ่นสร้างน้องนั้น อาจเป็นเพราะปีก่อนที่พวกผมจะเข้ามานั้น มีน้องๆเข้ามาทำงานกันน้อย ห้าหกคนละมั้งที่เป็นหลัก ( เนื้อล้วน ๆ คัดมาแล้ว  ) ผู้ชายก็มีพี่เปียคนเดียวที่เป็นหลักนะครับ ที่เหลือก็พวกพี่ผู้หญิงสี่ห้าคนที่เอ่ยไป  ก่อนหน้านั้นอาจจะมีมากกว่านี้อยู่หรอกหากไม่เกิดเหตุการณ์วิกฤตซะก่อน  เรื่องอะไรใครอยากรู้เพิ่มเติมก็ถามไถ่กับพวกพี่ๆเอาเองละกัน เพราะผมก็ลืมไปแล้ว
เมื่อเห็นเป็นเช่นนั้นคณะกรรมการชนพ.ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหลายก็คงจะได้ข้อสรุปว่า เมื่อน้องใหม่อย่างพวกผมเข้ามาเราควรจะใช้วิชามารหลอกล่อน้องอย่างเต็มที่เพื่อดึงน้องๆเข้ามาทำงาน  แล้วบังเอิญว่ารุ่นผมนั้นมีผู้ชายเยอะด้วย ร้อยกว่าคนมั้ง 55.. เพราะว่าสาขาเพิ่งจะเปลี่ยนวิธีการรับเป็นแบบชายครึ่งหญิงครึ่ง ในที่นี้หมายถึงจำนวนนะครับ ไม่ใช่เป็นชายครึ่งนึงเป็นหญิงครึ่งนึงในคนๆเดียวกัน  จะถือว่าเป็นเรื่องความบังเอิญหรือโชคชะตาฟ้าลิขิตก็ได้ครับ ที่ทำให้เราได้มารักกัน โอว์ .. ขอบคุณสวรรค์  เพราะว่าถ้าสาขายังรับแบบเดิมอยู่ก็ไม่รู้ว่าจะมีพวกผมวันนี้หรือเปล่า เพราะตามสถิติจากสำนักวิจัยแห่งง้อไบ๊ บอกไว้ว่า ผู้หญิงจะสอบเข้าเรียนในสายนี้ได้มากกว่าผู้ชาย  ( ขอบคุณท่านอาจารย์ผู้เปลี่ยนกฎนี้ )  ซึ่งถ้าหากยังไม่เปลี่ยนก็อาจจะเป็นผมที่ต้องมาทำงานชนพ.เพียงคนเดียวท่ามกลางสาวๆก็เป็นได้  55++

พวกพี่โอ๋และเพื่อนๆพาน้องๆเริ่มต้นปีนั้นด้วยการสร้างซุ้มใหม่จากซุ้มเล็กๆน่ารักๆ ขนาดเถียงนาน้อย เมื่อหลายปีก่อน พอเปิดเทอมแรกปีการศึกษา 2533 เราก็ได้ซุ้มใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิม ตามแนวคิดเล็กๆชนพ.ไม่ ใหญ่ๆชนพ.ชอบ ( ทำ ไม่หรอกครับช่วงนั้นพี่ๆคงคิดดีแล้วว่าต่อจากนี้ไปจะต้องมีคนเข้ามาทำงานที่ชนพ.มากขึ้น ก็เลยเตรียมสถานที่ไว้รองรับ  มองการณ์ไกลครับ ซึ่งก็ไม่ผิดหวังจริงๆ

         ปี 2534 เหม็น – ทวีวงศ์  วีระนาคินทร์ CD7 ได้รับเกีรยติอันสูงสุดได้ เป็นประธาน ( ผมเองแหล่ะครับ ศิลปินอินดี้มีชื่อและนามสกุลอย่างที่พี่นัทว่าไว้ ทำเพลงมาแล้วหลายชุด ยอดแจกเกลี้ยง เป็นช่วงเฟื่องฟูของบรรดาศิลปินในวงเหล้า ) กรรมการชุดผมได้พี่หำเปีย( วิษณุ ผลมาตร์ CD6 ) ปัจจุบันทำงานที่ ธกส.อ.ด่านขุนทด และพี่หนุ่มอ้วน ภาษาไทย ( ศราวุธ อุทัยวี ปัจจุบันทำงานอิสระที่กาฬสินธุ์ ) เป็นรองประธาน น้องกบ CD8  เป็น เลขา  มีพี่รุ่นหก คือพี่กบแอ้บ พี่ดา พี่นุช  พี่น้อย พี่ปลาหลด มาช่วยประคอง ทั้งสี่คนเป็นหญิงสาว 
เพื่อนๆรุ่น 7 ก็เข้ามาช่วยทำงานกันเป็นล่ำเป็นสัน ( เพราะแต่ละคนล่ำๆสันๆกันทั้งนั้น ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ) อาทิ งัวกล้า( รังสรรค์ พุทธวงศ์  ประธานเชียร์ปี 2535) ปัจจุบันเป็น NGO อยู่ที่ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานราชบุรี  สมีโต ( พยุงศักดิ์ คชสวัสดิ์ ) ปัจจุบันทำงานอิสระที่ จ.อุบล หลั่นตากใบ ( ศิลปกิจ ตี่ขันติกุล นายกสมส.ปี 2535 ) ปัจจุบันเป็นนักวิชาการนักวิจัยอิสระ (มั้ง ) บินไปมาระหว่างเวียดนามและไทยแลนด์  เป้อแหล่  ( บุญแรม โม้เมือง ) ปัจจุบันทำงานอิสระที่อ.ศรีสมเด็จ ร้อยเอ็ด หมู หรืออ.พี่หมูของน้องๆ  ( อภิศักดิ์ ไผทาคำ ) ตู่บานส์ ( วารุณี ศรีกุตา ) น้องมุ ( วราภรณ์ ) น้องมลลี่  ( นฤมล ส่อนนารา ) ปัจจุบันทำงานที่เดียวกับพี่กล้า น้องมาว ( พัชรินทร์ อักษรนิตย์ ) ปัจจุบันเป็นนักพัฒนาชุนเมืองเขตบางรัก ( ซอย 9) กทม. น้องเอ (ธนพร โลตุรัตน์ )    ปัจจุบันเป็นพัฒนากรที่ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด น้องนัท ( กฤติยา ) ปัจจุบันเป็นพัฒนากรที่นครศรีธรรมราช เกี๊ยะ ภาษาไทย (ทำงานองค์กรไฮเฟอร์)พี่น้อย (กุ๊ดจี่) พรชัย แสนยะมูล ปัจจุบันเป็นนักเขียนและศิลปินมีชิ่อและนามสกุล  พงษ์ วัชรพงษ์ กฐินหอม ( เสียชีวิต ) โอ้ย..อีกหลายคนครับจำไม่หวาดไม่ไหว เยอะๆ…รุ่นนี้เยอะ
ส่วนรุ่นถัดมาก็ เช่น พวกน้องเอี้ยง  น้องแนน น้องต้อย ไอ้โซ้น ไอ้ขี้เพี้ย พวกนี้รุ่น 8 และน้องคนอื่นๆอีก หากไม่ได้กล่าวนามก็ขอโทษด้วนนะครับ เพราะจำบ่อได้จริงๆ เป็นพวกความจำสั้น แต่ว่าความฝันน่ะยาวไกลครับ – ประโยคนี้ยืมเขามานะ
กิจกรรมหลักของชนพ.ในช่วงนั้นก็จะเป็นงานค่ายแหล่ะครับ ค่ายต่อเนื่องก็ยังทำกันอยู่           กิจกรรมหาทุนช่วงเปิดเทอมก็ยังขายหนังสือเหมือนเดิม พี่เขาทำมาไงเราก็ทำตามต่อไปแหล่ะ เออ..เราไม่ได้เป็นพวกสิ้นคิดนะครับ  แต่เราเห็นแล้วว่าเรื่องไหนที่พี่ๆเค้าทำมาดีอยู่แล้วก็สานต่อไป กิจกรรมรับหนังสือมาจากสำนักพิมพ์ที่กรุงเทพมาขาย อย่างที่พี่นัทพูดไปก็ทำ ขายดีครับ วันไหนฝนตกวุ่นวายหน่อยต้องรีบคลุมหนังสือ ไม่งั้นเปียก   ขายอาทิตย์หนึ่งได้กำไรสักสามพัน ส่วนชมรมอื่นเค้าขายของใช้ เวลาเท่ากัน แต่ได้กำไรเป็นหมื่น ตอนอยู่ปี 4 ( 2536 )  ก็ยังขายอยู่นะครับ  หลังจากนั้นก็ไม่รู้ว่าเลิกขายกันไปเมื่อไหร่ แต่สองปีมานี้น้องเอ๋ อนุวัฒน์ ประธานปี 48 ได้นำกลับมาขายใหม่ และปีนี้ก็ยังขายกันอยู่  เดี๋ยวนี้เห็นขึ้นไปขายที่คอมเพล็กส์  คงไม่มีปัญหาเรื่องฝน
พูดถึงเรื่องขายหนังสือ ผมไม่ได้มองเรื่องเงินกำไรต้องเป็นกอบเป็นกำ แต่มองเรื่องสิ่งที่เราจะได้จากการเอาหนังสือมาขาย ที่ได้แน่ๆยกเว้นกำไรคือได้ซื้อหนังสือดีๆที่ราคาลดลงมา บางเล่มลดตั้ง 50-80 % พวกเราที่เป็นหนอนหนังสือเห็นแล้วน้ำลายไหล เลือดกำเดาออก สูสีกับเห็นน้องใหม่วัยเอ๊าะเลยทีเดียว เสร็จงานบางคนได้หนังสือไปอ่านเป็นสิบเล่ม บางคนที่ไม่ค่อยอ่านก็ยังได้ซื้อไปอ่านเล่มสองเล่น ก็คงเริ่มจากตรงนี้แหล่ะที่ทำให้พวกเราหลายๆคนรวมทั้งผมได้กลายเป็นพวกหนังสือริซึ่มเพิ่มอีกอย่าง นอกจากแอลกอฮอล์ ริซึ่ม  ชนพ.รุ่นผมจัดหนังครั้งหนึ่งครับ  ไม่ต้องถามเรื่องกำไรนะจัดเองดูเอง
      
              ปี 2534 ช่วงนั้นนโยบายเรื่องการพัฒนาหลายๆเรื่องของรัฐบาล ออกมาค่อนข้างเยอะ ก็ต่อเนื่องมาจากรุ่นก่อนๆ ทั้งเรื่องที่ดินทำกิน เรื่องการสร้างเขื่อนปากมูล ชนพ.เราก็เข้าร่วมรณรงค์ทั้งสองเรื่อง ทั้ง เรื่องโครงการจัดสรรที่ดินทำกินแก่เกษตรผู้ยากไร้(คจก.)ร่วมกับสมข.คัดค้านนะครับไม่ใช่สนับสนุน  มีกิจกรรมเดินรณรงค์ในตัวเมืองค่อนข้างบ่อย และในส่วนตัวผมกับโตก็ไปรับจ้างเก็บข้อมูลเรื่องนี้ที่บ้านซำผักหนาม  หนึ่งในหมู่บ้าน คจก.ที่โดนโยกย้าย ก็ได้รับทั้งข้อมูลดีๆในส่วนอื่นที่ยังไม่รู้ ได้ประสบการณ์เพียบ และก็ได้เงินมาเป็นทุนในการศึกษา (และสุรา) อีกหลายอาทิตย์
         
           ว่างจากกิจกรรมหลักและกิจกรรมจร เราก็มากินเหล้ากัน เอ้ย..ไม่ใช่  มาพัฒนาห้องชมรม เราทำชั้นวางของและติดพัดลมเพดานที่ห้องชมรม เมื่อก่อนที่ห้องจะมีพัดลมไอน้ำเก่าๆใช้อยู่ตัวนึง แล้วสงสารมันนะ เลยเจียดเงินเท่าที่มีมาทำห้อง ความจริงเราอยากจะทำมากกว่านั้นนะ แต่เงินมีแค่นั้นและก็คิดว่าถ้าทำหมดเดี๋ยวน้องๆรุ่นหลังๆจะไม่มีอะไรทำ เราเลยทำไว้แค่นั้น ปัจจุบันพัดลมที่ติดไว้ก็ยังใช้ได้อยู่นะครับ 

 ส่วนวงดนตรีที่มีชื่อเสียงที่สุดของชนพ. และซีดี วง The Alcohol  Band นั้น เกิดขึ้นเมื่อปี 2533  จำเวลาที่แน่นอนไม่ได้  สมาชิกรุ่นแรก มีแจ็ค เดอะเกย์ เหม็น และ กล้า  เล่นงานแรกนี่น่าจะเป็นงาน ซีดีสัมพันธ์นะครับ ( เมื่อก่อนงานซีดีสัมพันธ์จะเป็นงานทีจัดขึ้นเพื่อบายศรีสู่ขวัญ ผูกข้อต่อแขน กินข้าวปลา เชื่อมสัมพันธ์กันระหว่างน้องใหม่ ซีดีกับพี่ๆซีดี  )  วงเราผูกขาดสัมปทานงานชนพ.และงานชีดีทุกงาน  ต่อมามีอ้วน ภาษาไทย มาร่วมวง หลังจาก แจ็คกี้ เดอะ เกย์ จบไปก็ได้ หนึ่งขี้เพี้ยมาเล่นด้วย

ปี 2536 The ALGOHOL Band  ได้ไปสร้างชื่อเสียงไว้เรื่องหนึ่ง นั่นคือการได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดโฟล์คซองอุดมศึกษา 55 ++ ไม่ใช่ครับ  เราประกวดได้รางวัลที่ 1 ที่โรงพยาบาลอ.พล จ.ขอนแก่น ครับ ที่ 1  ขอย้ำ งานนั้นมีประกวดกันตั้ง 10 วง ที่ไปประกวดวันนั้นก็มี แจ๊คกี้เดอะ เกย์ งัวกล้า เหม็น และขี้เพี้ย  หลังประกวด คุณหมอสาวที่อยู่โรงพยาบาลถามพี่โจ้ว่า วงนี้เค้าเล่นประจำที่ผับไหน ว่างๆจะเข้าไปดู อื้อฮื้อ ..ได้ยินคำถามนี้ตัวแทบจะลอย  พี่โจ้ตอบว่าเล่นประจำที่ สนามหญ้าผับ  คุณหมอทำหน้างงๆ..

 พี่โจ้ CD5 ซึ่งขณะนั้นทำงาน NGO  อยู่ที่โรงพยาบาลพล เป็นคนสนับสนุนทั้งเงินค่าสมัครประกวด เงินค่าข้าวเย็น และเงินค่ารถขากลับ  อ้าว ไม่ได้เงินรางวัลเหรอ.. ได้ครับ ได้เงินรางวัลหนึ่งพันบาท เยอะนะครับในปีนั้น แต่ก็ไม่พอค่าเหล้า  เพราะผู้ติดตามนะสิไปกันเยอะมากราวสามรถบัส น้องๆ นกน้อย อุไรพร  ไม่รู้วันนั้นพี่โจ้แกจะดีใจหรือเสียใจดีที่ชวนพวกเราไปประกวด

 ปี2535 มีโซ้น CD8 ( จำชื่อจริงไม่ได้ ชื่อพ่อก็ไม่รู้จักครับ ) ปัจจุบันได้ข่าวว่าเป็นผู้จัดการปั๊มน้ำมันแถวชลบุรี  เป็นประธาน ช่วงนั้นมีการปฎิวัติโดยคณะ รสช. เราก็เข้าร่วมสำเร็จโทษ ( พูดซะเท่เลย ) ก็เข้าร่วมการรณรงค์คัดค้านการปฏิวัติของคณะรสช.งานนี้ส่งพี่โจ้ ซีดี5 ร่วมอดข้าวประท้วงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ขอนแก่นด้วย   ช่วงนี้กิจกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องรณรงค์ก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง 

เรื่องคัดค้านการให้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการพัฒนาชุมชนแก่  พล..สุจินดา  คราประยูร เราทำร่วมกับสโมสรนักศึกษาคณะมนุษย์เรานี่แหล่ะ นายกสโมสรปีนั้นก็ไม่ใช่ใครอื่นที่ไหนคนใกล้ตัวนี่เอง   พี่หลั่น ซีดี 7 อุปนายกก็พี่โต  ซีดี 7 พี่กุ๊ดจี่ ภาษาไทย  และกรรมการอีกคนคือนาย เหม็นนี่เอง  ผลงานวันนั้นเราทำสำเร็จครับ
ปีนี้จะมีน้องๆจากสาขาอื่นๆ เข้ามาทำงานด้วยหลายคน  คือ พี่ติ๊ก พี่ไก่  พี่โอ สาขาบรรณารักษ์  พี่ดอม ภาษาอังกฤษและ พี่เดฟ ภาษาไทย ( เสียชีวิต )

ช่วงปิดเทอมใหญ่ปี 2535 พวกเราได้สร้างงานชิ้นโบว์แดงขึ้นมาหนึ่งชิ้นในวันสัมมนาชนพ.ที่ห้องเรียนใต้ตึก HS 03 พวกเราได้ร่วมกันแต่งเพลง มาร์ช ชนพ. ขึ้นครับ โดยช่วยกันหลายคน ทั้งพี่โอ๋ แจ็คกี้เดอะเกย์ พี่โศก ผม กล้า หนึ่ง และคนอื่นๆขออภัยนะครับที่จำได้ไม่หมด เพลงเพราะมากครับ จริงๆนะ ขอบอก ..ไม่เชื่อให้ร้องให้ฟังก็ได้  “ เราชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา  มุ่งทำหน้าที่สิ่งดีให้แก่สังคม …”  แค่นี้ก่อนละกันครับ

ตั้งแต่ปี 2533 – 2536  กิจกรรมหลักก็ยังเป็นการทำค่ายแบบต่อเนื่อง  ส่วนกิจกรรมเคลื่อนไหวเริ่มซาในปลายปี  2535 แต่กิจกรรมนอกรอบเพื่อสร้างความสัมพันธ์น้องพี่ก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง  เช่นเตะบอลที่สนามชนพ. ( เราโมเมเอาเองว่าเป็นสนามของเรา  ) เตะเกือบทุกวันครับ บางทีก็แบ่งเป็นรุ่น 5 และรุ่น 7 ยิ่งตอนที่ไว้ผมยาวกันห้าหกคนด้วยแล้วสาวๆมองตรึม  “ นี่เธอดูพวกแก๊งค์ผมยาวเค้าเตะบอลกันสิ  เท่เป็นบ้า “  บางวันผมก็ได้ยินคำนี้ จากแววตาของเธอสาวๆหอ 2

  เตะเสร็จช่วงย่ำค่ำจนถึงดึกดื่น เราก็รวมกลุ่มเสวนากันในเรื่องต่างๆทั้งทางสังคม ดนตรี ศิลปะ และอื่นๆ แล้วแต่ใครจะมีเรื่องอะไรมาชวนคุย โดยเฉพาะรุ่น 5 และ 7 Alcohol night Party นี่มีบ่อยมากครับ  ก่อนที่รุ่น 5 จะจบนี่ช่วงนึงเราเอาหมอลำซิ่งมาเปิดฟ้อนกันเลย กลับไปนึกถึงวันนั้นก็สงสารสาวๆหอ 2 ขึ้นมาจับจิต (  พวกผมขอโทษด้วยนะครับ ) วันดีคืนดี พี่โศก พี่สำลี พี่โอ๋ ผม กล้า ก็ชวนกันไปหาปลาที่บ่อพักน้ำที่บ้านโนนม่วง เอามาทำกับข้าวกินที่ ชนพ.   พวกที่ไปหามาไม่กินนะครับ ให้คนอื่นกิน

เรื่องกินเหล้าเมื่อก่อนเราจะนำประเด็นที่น่าสนใจทางสังคมการเมืองและอื่นๆที่น่าสนใจขณะนั้นมาคุยแลกเปลี่ยนกันด้วยนะครับ  ลักษณะแบบนี้เป็นผลพวงมาจากรุ่นพี่ๆที่ทำกันมาเรื่อยๆ ก็ส่งมาจนถึงรุ่นผม ผมก็ส่งต่อให้น้องๆอีกสองสามรุ่นต่อมา ไอเดียดีๆบางอย่างก็เกิดที่นี่แหละครับ จริงแล้วเรากินน่ะคุยกันได้อะไรเยอะ แต่ก็นั่นแหล่ะครับ คนที่อยู่ข้างนอกก็คงไม่รู้ว่าตอนที่เราเริ่มกินน่ะเราคุยอะไรกันบ้าง บางคนมาเห็นก็ตอนที่เลิกคุยกันไปแล้ว ร้องเพลงสนุกสนานอย่างเดียว  เมื่อกินกันบ่อยเข้าก็กลายเป็นประเด็นเหมือนกัน  ก็เอามาพูดคุยกันหาข้อสรุป ก็หยุดกิน ( แถวนั้น )ไปพักนึง หลังจากนั้นก็กลับมาอีก  ก็นี่เป็นบ้านของเราเนาะ จะมีที่ไหนสุขใจเท่าบ้านเรา

ประธานในปีต่อๆมาก็มี
ปี 2536 พี่ หนึ่ง ขี้เพี้ย ( พิภพ ) CD 8  ตอนนี้ไม่รู้ว่าเร่ร่อนอยู่ที่ไหน
ปี 2537 นั้น เป็นพี่ตู่ใหญ่ CD 9 ปัจจุบันเป็นพัฒนากรอยู่กรมการพัฒนาชุมชน รุ่นนี้น่าจะมีพวกพี่ติ๊ก พี่โอ พี่ไก่ บรรณ พี่ดอม ภาษาอังกฤษ  ผู้หญิงก็จะมีน้องแมว รุ่น 9  ปัจจุบันเป็นพัฒนากรอยู่ที่จ.บุรีรัมย์  น้องเอ๋ รุ่น 9 ปัจจุบันทำงานที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี  มาทำงาน
ปี2538  เราได้ประธานหญิงคนแรกของชนพ. นั่นคือพี่ อ้อแอ้ CD 10 ( จีรนุช ศักดิ์คำดวง )  ปัจจุบันทำงานไปๆ มาๆ ระหว่างจ.สกลนครและปทุมธานี

ก่อนเดินเข้ามาที่นี่ในหัวใจดวงน้อยๆอันบริสุทธิ์ผุดผ่องและหน้าตาใสๆของผม ก็ไม่ได้คิดหรอกว่าจบไปแล้วจะรู้สึกผูกพันอะไรมากมายนัก ตอนเข้ามาแรกๆก็คิดแค่ว่าอยากมาใช้พลังในวัยหนุ่มทำอะไรให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมสักหน่อย ไหนๆก็เข้ามาเรียนในสาขานี้แล้ว ส่วนไอ้เรื่องอยากไปทำสวีททำมิวสิควีดีโอ ดอกไม้สายลม แสงแดดกุ๊กกิ๊กกับสาวๆน่ะ ยังไม่อยู่ในความคิดหรอกครับ (  แต่มันก็มาเอง อิอิ ..)

แต่พออยู่ด้วยกันนานเข้า ความรู้สึกผูกพันแบบหยั่งลึกก็เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว น่าจะเหมือนกับที่เราอยู่กับหญิงสาวสักคน เริ่มจากเป็นคนรู้จัก เป็นเพื่อน เป็นพี่เป็นน้อง เมื่อเวลาเดินผ่านไป  เราก็เริ่มเห็นความดีงามและความน่ารักของเธอ

แล้วในที่สุด ..ในที่สุด  ยิ่งฉันใกล้เธอเท่าไหร่    เราก็หลงรักเธอจนถอนตัวไม่ขึ้น โอ้ จ้อด มันยอดมาก  จะต่างกันที่กับหญิงสาวเธอเป็นคนทำให้เราเริ่มรักเธอ แต่กับชนพ.เราเองเป็นคนที่ทำให้เรารัก
 
ป่าที่มันรกชัฏผู้เดินทางมาก่อนหน้าก็ได้บุกเบิก ถากถางไปบ้างแล้ว สำหรับผู้เดินทางมาข้างหลังความท้ายทายโลดโผนผจญภัยในการเข้าไปแสวงหาหน่อไม้  เห็ดปลวก กะปอมก่าก็อาจจะลดลงไปบ้าง  แน่หล่ะสำหรับคนหนุ่มสาวความตื่นเต้นท้าทายมันให้รสชาติของชีวิตจัดจ้านและมีสีสันมากขึ้น แต่ประสบการณ์ดีๆกับความทรงจำที่งดงามก็ใช่ว่าจะมีอยู่แค่นั้น  

 เข้าสู่ปีที่ 22  ถ้าชนพ.คือบทเพลงๆหนึ่ง  เพลงบทนี้ที่มีทำนองและเนื้อร้องเดียวกัน  เพลงบทนี้ก็ผ่านการเอาไปเรียบเรียงและร้องในแนวต่างๆ  ตามยุคสมัยของใครต่อใครมากมาย  ลูกทุ่ง หมอรำ เพื่อชีวิต โฟล์ค เร็กเก้ ป๊อป ร็อค แจซซ์ แดนซ์  ฮิปฮอป หรือฮาร์ดคอร์  แต่ที่สุดแล้วทำนองและเนื้อร้องก็ยังคงอยู่ และเราก็ยังสามารถร้องร่วมกันได้เหมือนเดิม

มีความสุขทุกคนครับ  สวัสดีปีใหม่ 2550…”

                                                                                                เหม็น-ทวีวงศ์ วีระนาคินทร์  รุ่น 7
                                                                                                                13 พฤศจิกายน 2549
_________________________________________________________________

ภาคสาม ใช่ส่วนเกินจึงอุทิศ   แต่เป็นสิทธิและหน้าที่
  ร่วมปราถนาดี   ร่วมมีส่วนพัฒนาสังคมไทย

  จำไม่ได้ว่าได้อ่านบทกลอนบทนี้ตั้งแต่เมื่อไร  แต่พบว่ามันเป็นบทกลอนที่เขียนติดหน้าห้อง ชนพ.  บนตึกกิจกิจกรรมชั้น 2  ซึ่งปรากฏอยู่ในรูปภาพที่คาดว่าถ่ายมานานแล้ว เก็บอยู่บนชั้นเก็บของห้อง ชนพ.   และที่ทำให้จำมันได้ดีคือมันเป็นบทกลอนที่สร้างแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆคนในการทำกิจกรรมของ ชนพ. และอีกบทหนึ่ง ……. กลอนเปล่าของ  วงษ์ระวี    เสรีชน  ไปเถอะ........ไปสู่ค่ายอันมิรู้จบ  ในเอกสาร เป็นอะไรในไผ่ล้อม   มันทำให้หลายคนต้องออกแสวงหาสู่หมู่บ้านที่ห่างไกลและเดินทางไป  สู่ค่ายอันมิรู้จบตลอดช่วง 4 ปี ในมหาวิทยาลัย

                ชนพ. ช่วงปี 2537-2541  เป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ เป็นช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างขีดสุดก่อนที่จะประสบวิกฤติฟองสบู่แตกในปี 2540    ในยุคนั้นสถานการณ์กิจกรรมนักศึกษาในภาพรวมทั้งในระดับประเทศ (ไม่ใช่เฉพาะแค่ที่ มข.) อยู่ในช่วงที่หลายคนกล่าวว่า หลับใหล ไร้พลัง หรืออยู่ในช่วงกระแสต่ำของขบวนการนักศึกษา โดยดูจากบทบาทที่มีต่อสถานการณ์ปัญหาสังคมและการเมืองตอนนั้นที่นักศึกษามีบทบาทน้อยมาก แต่แม้ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างนั้น  ชนพ.ก็ยังสามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมมาอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมหลายอย่างอาจจะลดระดับความเข้มข้นลงบ้าง เพราะบริบทสถานการณ์ทางสังคมการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป  เน้นกิจกรรมการออกค่ายเป็นหลักขณะที่กิจกรรมทางความคิดและกิจกรรมเชิงเคลื่อนไหวลดลง เพราะต้องกล่าวว่าการเคลื่อนไหวทางสังคมไม่ได้ผูกติดแกนกลางไว้กับขบวนการนักศึกษาแต่มันได้ถ่ายโยงไปอยู่ที่กระบวนการภาคประชาสังคมเช่น NGOs และชาวบ้านไปแล้ว  ขณะที่นักศึกษาเป็นเพียงผู้เข้าร่วมในสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเท่านั้น     แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็คงสามารถสรุปได้ว่า คน ชนพ. ยังคงจิตสำนึก อุดมการณ์และความตั้งใจในการทำกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อสังคมอยู่อย่างเต็มเปี่ยม

·       ปี  2537   ชนพ.ช่วงนั้นมี พี่เอ CD#9-อภิชาต  พรมคง เป็นประธาน  มีพี่ตู้ญ้อ
CD#9 -จารุกาญจน์  โสมะตะนัย ( ปัจจุบันเป็นรองผู้จัดการบริษัทญี่ปุ่น แถวปทุมธานี) นายกสโมสรคณะมนุษย์และผอ.ค่าย   พี่กิ้ม CD#9  (นักฝึกอบรมของบริษัทปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง)    พี่ตู่ใหญ่ CD#9- จีระศักดิ์  บุตรด้วง (น่าจะยังเป็นพัฒนากร แถวจ.สระบุรี)  พี่แมว  พี่เอ๋ ฯลฯ จาก CD#9    พี่จากสาขาบรรณารักษ์ เช่น  พี่โอ   พี่ติ้ก-วชิราวุธ  ชุมแวงวาปี (ทำงานอิสระอยู่กรุงเทพ)  พี่ไก่  (ทำงานแถวอบต.บ้านเกิด อ.สตึก  จ.บุรีรัมย์)   พี่ดอม  จากภาษาอังกฤษและ พี่เดฟ   จากภาษาไทย ( เสียชีวิตไปแล้ว )  
กิจกรรมหลักของชนพ.ปีนั้นเริ่มจากการไปเยี่ยมค่ายที่ บ้านโนนพัฒนา  อ.ภูหลวง  จ.เลย  ซึ่งมีน้องๆโดยเฉพาะปี 1 ไปร่วมอย่างมาก  การไปครั้งนั้นได้สร้างความทรงจำให้กับผู้ไปร่วมอย่างมากเพราะต้องแบกกระเป๋าเดินเท้าลุยโคลนจากปากทางเข้าไปในหมู่บ้านระยะทางกว่า  2 กม.   มองเห็นภาพภูหลวงยืนทะมึนตระหง่านเป็นเทือกยาวและสายแม่น้ำเลยที่ไหลเชี่ยวกราก ชวนให้รู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงถึงพลังของธรรมชาติโดยแท้        และตอนขากลับน้องปี 1 ที่ไปด้วยต้องประจักษ์ถึงพลังฤทธิ์เดชของคน ชนพ. ว่า  กินเหล้า(ขาว)อย่างหนักหน่วงเพียงใด   เอาขวดเหล้าตีหัวตัวเองจนเลือดอาบ  อ้วกใส่คนรอบข้าง และยืนฉี่อยู่หลังรถอย่างไม่เกรงใจใคร แต่ครั้งนั้นก็เป็นกิจกรรมที่สร้างสีสัน รสชาด ความรู้สึกดีๆให้กับหลายคน โดยเฉพาะผู้มาใหม่ในปีนั้น 
      กิจกรรมใหญ่ของปีนั้นคือ การไปออกค่ายที่บ้านภูนกเขียน  อ. หนองบัวแดง  จ.ชัยภูมิ  หมู่บ้านหลังเขาที่ห่างไกล มีโรงเรียนเล็กๆ มุงด้วยเพิงหญ้า มีครูสอนอยู่คนเดียว   เพลง ใกล้ตาแต่ไกลตีน ของคาราวานและ โรงเรียนของหนูของ พงสิทธิ์   ซึ่งมักร้องกันเวลาออกค่ายช่วงนั้นดูจะเข้ากับบรรยากาศหมู่บ้านหลังเขาอย่างมาก   กิจกรรมคือไปช่วยสร้างอาคารเรียนเล็กๆให้โรงเรียน และไปช่วยสอนหนังสือเด็กนักเรียน    ตกเย็นพากันไปอาบน้ำที่ลำห้วยเพราะหมู่บ้านไม่มีน้ำประปา ห้องส้วมก็ไม่มี บรรยากาศยังเป็นหมู่บ้านแบบเดิมๆ   อาจจะเป็นภาพโรแมนติก ของใครบางคน แต่ภายใต้ความงดงามของหมู่บ้านปฏิเสธไม่ได้ถึงความลำบากและยากจนของชาวบ้าน       ส่วนชาวค่ายก็จะพักกับชาวบ้าน มีการทำอาหารและนำไปส่งให้กันเป็นที่สนุกสนาน     ซึ่งค่ายนี้มีกฎค่ายที่เข้มมากเช่น ห้ามชาวค่ายใช้เงินในหมู่บ้าน ห้ามซื้อของฟุ่มเฟือย ห้ามถ่ายรูป เพราะเราไม่ได้ไปเที่ยว    ห้ามแต่งกายไม่สุภาพ   ตกดึกก็จะมีการพูดคุยถกเถียงการทำงานกันหน้าดำคร่ำเครียดที่ศาลาวัด    และก่อนลาจาก ชาวค่ายต้องหลั่งน้ำตาเพราะความผูกพันระหว่างลูกศิษย์กับครูสมัครเล่นนั้นมีมาก  เด็กนักเรียนและชาวบ้านเข้าแถวถือดอกไม้มามอบให้พร้อมทั้งโอบกอดร่ำลากันด้วยคราบน้ำตา 

 หลังจากการออกค่ายครั้งนี้    ชนพ. จึงได้จัดกิจกรรมต่อเนื่อง โดยกลับไปออกค่ายแจกเสื้อผ้าที่หมู่บ้านบ้านนี้อีกครั้งในฤดูแล้ง ต้นปี 38   จำได้ว่าก่อนขึ้นรถ บรรดาสิงสุราประจำซุ้ม ซึ่งอยู่ในอาการเปรมปรีเต็มที่ ก็เริ่มปฏิบัติการเหล้าขาวมาตลอดทางจาก มข.ถึงหมู่บ้านปั้บ        จนพี่เทพ(จากคณะวิศวะ)    ประธานชมรมอาสาพัฒนาที่ไปด้วย ถึงกับเอ่ยปากว่า เพิ่งเคยเห็นค่ายที่สตาร์ทด้วยเหล้าขาวครั้งแรกในชีวิต   แต่การจัดกิจกรรมก็ผ่านไปด้วยดี  คนไปร่วมไม่มาก แต่สนุกสนานและได้ความสัมพันธ์ที่ดี

·       เข้าสู่ ปี 2538    มีพี่อ้อแอ้ CD#10 -จีรนุช  ศักดิ์คำดวง  (ทำงานกับองค์กรญี่ปุ่น)  
เป็นประธาน  มีพี่ฮ้อคกี้ CD#10  (เป็นตำรวจอยู่กรุงเทพ)    พี่แหม่มขอน (เรียนโทอยู่ม.เกษตร) พี่โส CD#10 (ทำงาน NGOs ชุมชนเมืองในขอนแก่น)  พี่แป๋วCD#10 (ทำงานพัฒนากร)  พี่ก้องCD#10 และพี่อีกหลายๆคน  ฯลฯ    ปีนี้ ชนพ. ได้พากันไปออกค่ายที่บ้าน ห้วยหินขาว   อ.ศรีเชียงใหม่   จ.หนองคาย    เป็นหมู่บ้านที่มีน้ำตก ชาวบ้านอยากพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่อไป ชนพ.จึงได้เข้าไปทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน  ได้ไปต่อเติมศาลากลางบ้านที่มีอยู่แล้วใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น   ตกเย็นหลังจากทำงานมาเหนื่อยๆ ชาวค่ายก็จะไปเล่นน้ำตกกัน   ในช่วงนั้น ชนพ. มักจะเลือกไปออกค่ายหมู่บ้านที่มีบรรยากาศธรรมชาติที่งดงาม เช่น มีภูเขา  มีน้ำตก  จนมีบางคนอดที่จะค่อนแคะไม่ได้ว่าจะไปออกค่ายหรือจะไปท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่ว่าจะไปที่แห่งไหน หัวใจสำคัญของการออกค่ายคือการเข้าไปสัมผัสชาวบ้านผู้ยากจนในชนบท  ส่วนการได้เสพบรรยากาศทางธรรมชาติก็เป็นของแถมที่ช่วยจรรโลงจิตใจและผ่อนคลายความรู้สึกให้ชื่นบานเท่านั้น

·       ปี2539   ได้ประธานคือ พี่แสง CD#11  (แต่ให้เรียกว่าแซงค์)  นัตทวิช   สิทธิวงศ์  
(ทำงานเขตเป็นเกษตรอำเภอที่อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ)    ทีมในรุ่นนั้นก็มีพี่ตั้กแตน CD#11 -พัชรา   แสงวิเศษ  (เป็นพัฒนากรเทศบาลเมืองหนองคาย)  พี่มาว CD#11- ถนัด  แสงทอง (ทำงาน NGOs เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก)   พี่สิทธิ CD#11-ประสิทธิ์  คำอุด (ทำงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เป็นช่างภาพสัตว์ป่ามือฉมังและมีข้อเขียนสารคดีลงตีพิมพ์ในนิตยสารหลายเล่ม)    บั้ม CD#11 -อภิชาต  งิ้วโสม  (ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กองกิจการนักศึกษา มข. วิทยาเขตหนองคาย)    ชัย CD#11 -สิริชัย  เจียรากร  (เป็นผู้รับเหมาในกรุงเทพฯ)   กอล์ฟ CD#11-จงกล  พารา  (ทำงานองค์กรไฮเฟอร์ ไทยแลนด์) และยังมีพี่เล็ก พี่ปุกกี้ พี่ป้อก อีกมากมายใน CD#11  ฯลฯ กิจกรรมหลักในปีนี้เริ่มจากออกค่ายช่วงซัมเมอร์  แมน CD#11-สมชาย  ตุพิลา (ปัจจุบันทำงานบริษัทของญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ) ได้งบประมาณของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่บังคับให้เด็ก มข. ที่ได้รับทุนจากมูลนิธิต้องไปออกค่ายที่ บ้านพังแดง    อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร   พี่แมน เลยติดต่อขอให้ ชนพ.เป็นเจ้าภาพ ในการเขียนโครงการ โดยมีคณะนักศึกษาที่ได้รับทุนเป็นสมาชิกค่าย   ค่ายครั้งนั้นมี ชนพ. 4 คนเข้าร่วมคือ นอกจากพี่แมนแล้ว มี พี่สิทธิ  พี่มาว  พี่กอล์ฟ  เข้าร่วม  แม้ว่าค่ายครั้งนั้นจะไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ก็ได้ประสบการณ์ในการทำงานกับเพื่อนต่างคณะ ต่างแนวคิด  การได้สัมผัสกับชีวิตชนเผ่าไทโซ่  แต่อคติทางวัฒนธรรม ก็ทำให้เราเข้าไม่ถึงชนเผ่านี้มากนัก     แต่กิจกรรมหลัก ชนพ.ในปีนี้คือการไปออกค่ายที่ บ้านซำม่วง  กิ่งอ.ผาสามยอด  จ.เลย ที่เลือกไปหมู่บ้านนี้เพราะสนใจเรื่องการจัดการป่าชุมชน แต่การออกค่ายครั้งนี้กลับทำให้ได้พบปัญหาของชาวบ้านคือ การเข้ามาของโรงโม่หินที่จะมาตั้งใกล้หมู่บ้าน   ทำให้ชาวบ้านหลายคนเป็นห่วงว่าจะกระทบต่อวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน  แต่ทั้งนี้ชาวบ้านก็ไม่กล้าที่จะคัดค้านเพราะกลัวว่าจะเป็นแบบ ครูประเวียน บุญหนัก  ผู้นำชาวบ้านที่ต่อสู้กับโรงโม่ในเขต   อ.วังสะพุง  และถูกยิงตาย     ตอนนั้นในค่ายมีการพูดคุยถกเถียงเรื่องนี้กันอย่างหลายครั้ง  มีการเก็บข้อมูล เชิญชาวบ้านที่เป็นกลุ่มเยาวชนมาพูดคุยแลกเปลี่ยนให้ข้อมูล  แต่เจ้าหน้าที่ราชการหลายคนกลับให้การสนับสนุนให้มีโรงโม่       ความกลัวว่านักศึกษาจะคัดค้านการสร้างโรงโม่ถึงขนาดว่าครูใหญ่ของโรงเรียนซึ่งให้การสนับสนุนโรงโม่ส่งคนมาสืบข่าวถึงในมหาวิทยาลัย
                ภายใต้ภาวะตันๆของคนทำงานและดูเหมือนจำนวนคนทำกิจก รมของ ชนพ. จะลดลง ทำให้มีการพูดคุยกันว่ามันน่าจะพัฒนารูปแบบการทำกิจกรรมของชนพ.ให้ก้าวหน้ามากขึ้น เพราะจากการไปสำรวจหมู่บ้านและออกค่ายที่ผ่านมา เราพบว่าหมู่บ้านมันมีความซับซ้อนมากขึ้น รูปแบบกิจกรรมค่ายแบบเดิมของชนพ. อาจไม่เพียงพอกับสถานการณ์ปัจจุบัน   จึงมีการพูดคุยหาแนวทางการทำกิจกรรมรูปแบบใหม่ๆ แต่ก็ยังทำได้แค่ระดับแนวคิดเท่านั้น     เราพยายามให้เกิดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนให้มากขึ้น  มีการย้อนไปศึกษาค่ายต่อเนื่องที่ ชนพ.เคยทำมาก่อน การทบทวนเป้าหมายของค่าย ชนพ. เช่นเน้นค่ายศึกษาเรียนรู้ กิจกรรมการก่อสร้างไม่ได้เป็นเป้าหมายหลักแต่ใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าหาชุมชนและตอบแทนชาวบ้านที่ให้โอกาสนักศึกษาเข้าไปเรียนรู้และพักอาศัย  แต่คำอธิบายนี้เราก็รู้สึกว่ายังไม่เพียงพออยู่ดี เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์ของหมู่บ้านใน พ.ศ.นั้น   
ปีนี้มีการจัดกิจกรรมพิเศษขึ้นมาคือการจัดงาน ทศวรรษ ชนพ. (ความจริงผ่านทศวรรษมา 1 ปีแล้วแต่เพิ่งนึกได้) ในช่วงนั้นอยากจัดกิจกรรมที่ให้รุนพี่ชนพ.รุ่นเก่าๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำกิจกรรมกับ น้องๆชนพ.ยุคปัจจุบัน   เพราะประสบการณ์ในยุคแรกเริ่ม   ชนพ.มีบทบาทสูง  กิจกรรมมีความก้าวหน้า มีสีสัน และมีพลัง  จึงอยากได้แง่คิดและประสบการณ์ของพวกพี่ๆ มาต่อเติมให้กับนักศึกษายุคปัจจุบัน  เพื่อนำไปพัฒนา ประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรม ต่อไป  การจัดงานค รั้งนั้นก็มีรุ่นพี่มาร่วมหลายคน ได้มีการเล่าเหตุการณ์ยุคการก่อตั้ง   วีรกรรมลำน้ำเสียวและอีกหลายๆเรื่องราว ซึ่งหลังจากจัดงานครั้งนั้นก็มีการจัดงานลักษณะ ครบรอบ   ชนพ.  มาเรื่อยๆ   และเกิดเป็นเครือข่ายรุ่นพี่รุ่นน้อง ชนพ. ต่อมา

·       ปี 2540    พี่ติ้ก CD#12  เป็นประธาน ชนพ.  ทีมงาม มี พี่โจอี้(จ่อย)  (ทำงานสึนามิที่
พัทลุง)   พี่เอ็ด    พี่แหม่ม-ภัทรสุดา  จันทร์คำ (เป็นข้าราชการกระทรวงทรัพย์ ที่ขอนแก่น)     พี่ชมพู่  (น่าจะทำงานมูลนิธิข้าวขวัญที่จ.)     พี่ตุ๊ก  (เป็นอาจารย์ที่ราชภัฏศรีษะเกษ)   เหลิม(เป็นตำรวจในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ)  มอส(เป็นอาจารย์ม.ราชภัฎร้อยเอ็ด)   ฯลฯ  จาก CD#12 กิจกรรมในปีนี้ก็เริ่มจาก การออกค่ายแจกเสื้อผ้าที่ บ้านภูเขาวง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น  เป็นหมู่บ้านริมเขื่อน ชาวบ้านไม่มีที่ทำกิน จึงค่อนข้างยากจน  ได้แจกเสื้อผ้าและได้เที่ยวชมความงามริมเขื่อนยามพระอาทิตย์อัสดง  ในปีนี้ได้มีการจัดกิจกรรมขายหนังสือหาทุนหลังจากที่ไม่ได้จัดมาหลายปี เพราะช่วงนั้นขายหนังสือแล้วขาดทุนจึงเปลี่ยนไปขายอย่างอื่น ซึ่งการขายหนังสือในปีนั้นประสบผลสำเร็จ สร้างกำไรให้กับ ชนพ. มากพอสมควร   มาถึงเดือนตุลาคมของปีนั้น ชนพ. ก็พบตัวเองไปออกค่ายที่ บ.น้ำตกนางคำ   อ. ภักดีชุมพล   จ.ชัยภูมิ   ฟังชื่อแล้วต้องมีน้ำตกแน่นอน  จึงเป็นที่ถูกอกถูกใจชาวค่ายยิ่งนัก  หลังจากทำงานจนอ่อนล้า  ก็มักจะพากันไปเล่นน้ำตกกันตอนเย็นๆ เหมือนเคย   ค่ายครั้งนี้เป็นค่ายที่ออกร่วมกันระหว่างชุมนุมภาษาสื่อสาร และชนพ.  ทำให้มีสมาชิกในค่ายกว่า 80 คน  การที่จำนวนสมาชิกค่ายมีมากและเป็นการออกค่ายร่วมกันของสองชุมนุมฯ  จึงทำให้มีปัญหาขัดแย้งกระทบกระทั่งกันบ้าง เนื่องจากหลายคนหลายความคิด  กว่าจะผ่านมาได้เล่นเอา ผอ.ค่ายเกือบตาย   
การทำกิจกรรมในปีนั้นมีการพูดคุยกันหลายครั้งว่าควรจะมีการพัฒนาการทำกิจกรรมของ ชนพ. ให้ดีขึ้นและน่าสนใจ จึงมีการตกลงกันว่าเราน่าจะไปเรียนรู้การทำกิจกรรมของ ชมรมอื่นๆบ้าง จึงมีการแบ่งคนออกไปเรียนรู้กับชมรมอื่น เช่น  บางคนไปร่วมออกค่ายกับ  ศพอ.  ไปร่วมเยี่ยมค่ายกับชมรมอื่นๆ   ไปออกค่ายกับชมรมอนุรักษ์ฯ  ซึ่งก็ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์และได้เรียนรู้วิธีการ กระบวนการหลายอย่างมาจากชมรมอื่น

·       ปี 2541   พี่ต้อมเชียงใหม่ CD#13- ศิริพร  ไชยเลิศ  ได้เป็นประธาน (ทำงานอบต.
อยู่ที่ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ) มีพี่ตุ๊กกระเหริ่ง-วิลาวรรณ  วงษ์ต้น (ไปเป็นเจ้าหน้าที่ใน อบต.ที่ไหนซักแห่ง)     ต้อมโค  (น่าจะทำงานอยู่แถวโคราช)   พี่หนิงนางฟ้า -บุศรา  ปัดถาวโร (เสียชีวิต)  พี่อ้อมน้อย -กิตติกาญน์ หาญกุล  (เป็น NGOs ทำงานชุมชนแออัดที่อุบลฯ)   พี่อ้อมชาช่า  (เรียนโทอยู่ใน มข.)   พี่ต้น -ณัฐวุฒิ  สิงห์กุล (เป็นอาจารย์ม.ศิลปากร)   พี่น้อย-วันนา  วิลุนระพันธ์  (เป็นเจ้าหน้าที่ใน อบต.ที่ไหนซักแห่ง)  พี่อ๋อ  (เป็นเจ้าหน้าที่ อบต.แถว อ.ชุมแพ)   พี่ขวัญ-ขวัญชัย  หมื่นยิ่ง (น่าจะยังทำงาน NGOs แถวๆ กทม.)  ทั้งหมดจาก CD#13 เป็นทีมหลัก มี พี่เจ็ง จากภาษาอังกฤษ (ทำงานอยู่โรงแรมโซฟิเทล ขอนแก่น)  พี่เชือกฟาง จากสาขาบรรณฯ   (เป็นบรรณารักษ์อยู่ ม.อุบลฯ) และอีกมากมาย เป็นรุ่นที่มีทีมงานหลายคน   กิจกรรมรุ่นนี้คือการไปออกค่ายที่บ้านฟ้าประทาน   อ.สังคม   จ.หนองคาย     การออกค่ายของชนพ.ช่วงนี้ เป็นดังคำให้การสุดโรแมนติกของ ผอ.ค่าย ครั้งนั้นคือ  แสวงหาในทุกวิถีทาง ในทุกสถานที่ที่ไปถึง ในทุกผู้คน ทุกสังคม แม้กระทั่งในห้องแห่งอารมณ์ความรู้สึก เพื่อสิ่งที่เรีกว่า  ประสบการณ์  แม้จะท้อแท้ไปกับการแปรเปลี่ยนของสิ่งรอบข้าง แต่ก็ไม่หมดซึ่งไฟและกำลังใจในการทำงาน เพราะยังมีพี่น้องและผองเพื่อน คอยหยิบยื่นให้ตลอดเวลา ช่างเป็นภาพที่สวยงามน่าจดจำ จนต้องบันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่รวมเป็น ชนพ. ขอบคุณชาวชนบทที่ทำให้มีการออกค่าย ได้สัมผัสเรียนรู้ชีวิตมากมายหลายรูปแบบ ขอบคุณความสำเร็จและความล้มเหลวที่แผงไว้ซึ่งบทเรียน ในทุกเสียงหัวเราะและหยาดน้ำตาซึ่งทำให้ได้มาถึงรสชาติของชีวิต  ขอบคุณกำลังใจทุกดวงที่คอยเป็นไฟส่องทางให้  ไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนไป แต่สำหรับขาพเจ้า ความรัก ความผูกพันที่มีต่อ ชนพ. จะยังคงอยู่ตลอดไป 

·       ปี 2542  มี พี่ตู่ -นิเวสน์  อรุณเบิกฟ้า เป็นประธาน  รุ่นนี้มี พี่โหน่ง -บัณฑิต  อ้วน
ละมัย ( ทำงานโรงเรียนที่ อ.นาคู กาฬสินธ์)   พี่ ปลา -ประเสริฐ  วงศ์ภูธร (เป็นข้าราชการรัฐสภา)     พี่เกียร์ (ไม่แน่ใจว่ายังทำงานอยู่ใน มข.)  ฯลฯ  เป็นกำลังหลัก   กิจกรรมของ ชนพ. เริ่มจากไปสัมนากิจกรรมของ ชนพ. ที่ สถานีวิจัยคณะเกษตรศาสตร์ที่เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ   มีการร่วมกันวางแผนกิจกรรม อย่างมีส่วนร่วม  โดยเชิญรุ่นพี่ที่จบไปแล้วมาช่วย เช่น พี่เติ้ง CD#3  พี่ต้อม CD#5 พี่โจ้ CD#5 พี่เหม็น CD#7 อ.พี่หมู CD#7  พี่บั้ม CD#11  พี่มาว CD#11  มาช่วยกันทำกระบวนการเพื่อให้ได้แผนกิจกรรมของ ชนพ.   ปีนี้กิจกรรมหลักๆคือการไปออกค่ายที่ บ้านแมด  อ. โนนสัง    จ.หนองบัวลำภู  ซึ่งก็มีเหตุการณ์อันน่าระทึกใจคือ   วันที่เดินทางกลับจากการออกค่ายปรากฏว่ามีพี่น้อง ชนพ. บางส่วนประสบอุบัติเหตุ รถยนต์ส่วนตัวคว่ำระหว่างเดินทางกลับ แต่โชคดีทุกคนปลอดภัย ชาวบ้านที่หมู่บ้านต้องจับไปนอนย่างไฟอยู่หลายวันกว่าจะได้เดินทางกลับมข.      กิจกรรมที่สำคัญในปีนี้อีกอันของ ชนพ. คือได้เริ่มมีการทำโครงการที่เรียกว่า สานฝัน  โดยพี่ปลา เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง   ในการชักชวนเพื่อนๆและน้องๆ ไปสอนหนังสือให้กับเด็กในชุมชนแออัดของเมืองขอนแก่น  ถือเป็นมิติใหม่ในการทำกิจกรรมของชนพ.  ที่ไม่ได้มีแค่การออกค่ายในชนบทอย่างเดียว

·       บทส่งท้าย ระยะทางประวัติศาสตร์ในช่วงนี้
ผมไม่แน่ใจว่าจะถ่ายทอดเรื่องราวการทำกิจกรรมของ ชนพ. ในยุคนี้ได้อย่างครบถ้วนหรือไม่ เพราะความทรงจำของคนเรามีอยู่จำกัด และบางครั้งก็ลืมไปหลายเรื่อง แต่ความทรงจำของ ชนพ.มีทุกรสชาด ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้ง ความไม่ลงรอย ความผิดหวัง  ความสนุกสนาน ความประทับใจ ความเป็นพี่เป็นน้อง ความสามัคคีฯลฯ  แต่ไม่ว่าอย่างไร ความทรงจำของชนพ. ซึ่งมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ มันก็เป็นการหล่อหลอมให้เราได้เรียนรู้ คุณค่าของชีวิตที่ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัย   
                ชนพ.  คือเวทีทำกิจกรรมของกลุ่มคนเล็กๆ เป็นพื้นที่ทางสังคมที่ให้โอกาสเราเข้ามาเรียนรู้และทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม      แม้กิจกรรม ชนพ. ในยุคหลังจะไม่เข้มข้น หวือหวา เหมือนยุคเริ่มต้น เพราะสถานการณ์สังคมหลังเหตุการณ์  น้ำเสียว  พฤษภาทมิฬ  คจก.  เขื่อนปากมูล  การเคลื่อนไหวใหญ่ๆก็ลดลง   ชนพ.ก็ห่างเหินการทำกิจกรรมลักษณะเคลื่อนไหวมาตลอด มาเป็นการออกค่ายและกิจกรรมเชิงสงเคราะห์อื่นๆ ตามมา   จนหลายคนคิดว่า ต่อไป ชนพ. ก็จะกลายเป็นกลุ่มกิจกรรมที่ตายซาก และก็จะลดบทบาทและล้มหายตายจากไปตามกาลเวลา  แต่ความเป็นจริงกลับพบว่าไม่ว่ากิจกรรม ชนพ.จะปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบไหนก็ตาม ชนพ.ก็ยังคงเป็นที่บ่มเพาะความคิดทางสังคมไม่เคยเปลี่ยน และเมื่อเกิดกรณีวิกฤติการณ์ทางสังคมและการเมือง กลุ่มคนเหล่านี้ก็พร้อมที่จะเข้ามาเคลื่อนไหวให้เกิดความเป็นธรรมทางสังคม ดังนั้นผมคิดว่า ชนพ. คงจะยังไม่ล้มหายตายจากไปในเวลาก่อนอันควร และหวังว่า ชนพ.จะอยู่คู่กับ มข.และสังคมอีสาน เคียงข้างไปกับคนทุกข์ยาก สืบต่อไป     
_________________________________________

ภาคสี่ จากชุมนุม...สู่ชมรม

เรื่องราวของ ชนพ. ได้ผ่านการเล่าขานกันมาอย่างต่อเนื่องต่อจากนี้ไปก็เป็นช่วงปี 2543 2547 โดยรับต่อจากพี่มาว ซีดี 11 แม้เราจะห่างกันตั้ง 6 ปี แต่เราก็เชื่อมโยงกันด้วยความเป็นพี่ น้อง   สายเดียวกันคือ   ชนพ.  เสียงเรียกของโทรศัพท์ดังขึ้น  ขณะที่กำลังนั่งอยู่บนรถโดยสารเดินทางลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์  ข่าวที่ได้รับจากปลายสายคือ....   เขาจะจัดงาน 22  ปี  ชนพ.ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เป็นข่าวที่ทำให้รู้สึกดีใจมากอย่างบอกไม่ถูก  จะได้กลับบ้านหลังเดิมอีกครั้งแล้วหรือ  เกิดคำถามขึ้นในใจ ไม่เพียงส่งข่าวยังมอบภารกิจว่า ถ่ายทอดเรื่องราวช่วง 2543-2547  ลงหนังสือให้ที   ตอบรับด้วยความยินดีโดยไม่ต้องคิดมาก                                      

                                        เราชมรม( ชุมนุม ) นักศึกษาเพื่อการพัฒนา
                             มุ่งทำหน้าที่  สิ่งดีให้แก่สังคม
                             ร่วมชื่นชมยึดมั่นในอุดมการณ์
                             ลำบากเพียงไหน ใกล้ไกลเราไม่หวั่นเกรง
                             ขับกล่อมบรรเลง เสียงเพลง เพื่อสิทธิเสรี
                             ใต้ฟ้า สายน้ำ ขุนเขา
                              พวกเรามุ่งมั่นก้าวไป.......
                ใช้ชื่อว่าบทเพลง  แห่งอุดมการณ์  มันเป็นเพลงที่ต้องได้ยินอยู่ประจำ ทุกครั้งที่เดินทาง ออกค่ายทำกิจกรรมนอกมหาวิทยาลัยร้องได้โดยไม่มีใครมาบังคับ  และได้ยินในใจตลอด  เวลาที่เหนื่อยกับการทำกิจกรรม ท้อแท้จากการทำงานเพื่อสังคม  เพื่อคนอื่น
             เมื่อปี 2543 ในช่วงนั้นซีดี รุ่นที่ 14 เป็นพี่คนโต  ได้รู้จัก พี่ปลา (ประเสริฐ)พี่เอ กฤษ พี่หนิง(เบ้า)พี่โหน่ง พี่โอ๋ พี่โหน่งเป็นประธานสโมสรนักศึกษาคณะ และเราก็ครองตำแหน่งประธานสโมสรนักศึกษามาตลอด ต้องมีนักศึกษาสาขา ซีดี เป็นหลักในการทำงาน  อีกหลายคนอาจกล่าว ยังจดจำภาพบ้านมุมตึกได้.... เป็นซุ้มเล็กอยู่ข้างตึกกิจกรรม  ปลูกไม้ดอกไม้ประดับบ้าง  หน้าฝนเขียวขจี  ไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมเท่าไหร่ในช่วงแรกของการเข้ามาอยู่ในบ้าน  จะมีก็ไปสลัม( ชุมชนริมทางรถไฟขอนแก่น ) กับ พี่ทิพย์  พี่มหาและพี่แอน  พี่ปลาเป็นคนชวนกันทำกิจกรรมนี้  เป็นกิจกรรมที่ทำในช่วงที่ไม่มีค่าย วาดภาพ เล่นเกม  สอนหนังสือ  ทำสิ่งประดิษฐ์นับว่าทำให้เราได้เห็นมุมนอกมหาวิทยาลัยในครั้งแรก   ค่ายแรกคือค่ายที่บ้าน หนองหว้า  อ. ชุมแพ ค่ายเยี่ยมที่บ้านแมด ได้ยินเพื่อนเล่าถึงค่ายว่าประทับใจมาก  วิวสวย บรรยากาศดี  อยู่ติดภูเขา
          กิจกรรมหลักที่เราทำร่วมกัน  ค่ายบ้านหนองหว้า  ประทับใจชาวบ้าน   หมู่บ้านเล็กๆเห็นรุ่นพี่ปี 3 เป็นคนที่ทำงานหลักๆมีพี่มี่ พี่สุด พี่หน่อย พี่ต่าย พี่ปู พี่ฝน  รุ่นพี่ปี 2 มีพี่มหา  พี่เต็ม  พี่ศาสนา  พี่แอน หน้าเดิม4 สหาย แม้รุ่นพี่ไปเพียงเท่านี้  มันทำให้อุ่นใจได้
            มีเหตุการณ์หนึ่งที่ยังจะจดจำไปได้อีกนาน.... มีการเรียกประชุมรุ่นน้องปี 1 ด่วน เขาจะให้เรารื้อซุ้มนะน้อง  รื้อบ้านของเรา น้องคิดเห็นอย่างไร รุ่นพี่ปี 2 เรียกประชุมพวกเรา น้องปี 1 ไม่รู้เรื่องรู้ราว แต่ต้องทำคือ  เข้าไปหาพี่ปี 3 ในตอนนั้น พี่ครับพี่ค่ะ ช่วยสร้างซุ้มหน่อยนะพี่  คือคำพูดที่ต้องพูดกับพี่ปี 3  ในที่สุดเราก็สร้างซุ้มขึ้นมา  จำได้ว่ามันสร้างเสร็จภายในวันเดียว  วันแรกที่ไปซุ้ม  มันไม่มีหลังคา ไม่มีที่หลบฝน  มีเพียงม้าหินอ่อนสองตัว  เหมือนเป็นร่องรอยของการคุยกัน  อีกไม่นานก็มีหลังคา มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ  ประชุมโดยไม่ต้องเปียกฝนหลบแดดได้กิจกรรมหลักในตอนนั้นคือ  ออกค่ายและค่ายเยี่ยมปี 2543
            ปี  2544  บ้านมุมตึก มีโอกาสได้ต้อนรับน้องใหม่อีกคราพี่หลายคนก็ต้องย้ายออกจากบ้านไปแต่กิจกรรมของเราก็ดำเนินต่อไป  ออกค่ายที่บ้านน้อยชลประทานที่ จังหวัด ร้อยเอ็ด พี่เต็ม เป็นประธาน ชนพ พี่มหาเป็นผอ.ค่าย มีเลขาที่คอยดูแลคือ พี่แอน  พี่ศาสนา อีกคน โดยมีน้องวะ น้องเบ็นซ์ น้องฟิวส์  น้องชอร์  เป็นกรรมการค่าย  หัวหน้าโครงงาน เราไปออกค่ายกันที่ร้อยเอ็ด  น้องไปเข้าค่ายเยอะมากเกือบ 50 คน เพราะค่ายแรกเพียงแค่ประมาณ 20 คน  หลากหลายสาขาที่เข้าร่วม มีทั้งภาษาไทย ( น้องติ๊ก )   บรรณารักษ์ ( น้องน้อย )  ภาษาอังกฤษ (น้องหนุ่ย )   ฝรั่งเศส  ต่างคณะ  วิศวะฯ( น้องชัช )   ก็ไปกับเรา  ช่วงนั้นบ้านเรามีหลังคา  แต่พอถึงวันที่ต้องนำเสนอโครงการออกค่ายของเราให้กับกองกิจการนักศึกษา  เราได้รับคำสั่งจากทางมหาวิทยาลัยว่า.... หากคุณไม่รื้อซุ้มผมจะไม่อนุมัติงบประมารให้คุณ  หากทุกคนไม่ต้องการงบจากผมไม่เป็นไร  ไปเอางบจากรุ่นพี่ของคุณ เป็นคำพูดที่ทำให้นึกโกรธอยู่เหมือนกัน  แต่ทำไงได้  จะออกค่ายอีกไม่กี่อาทิตย์ข้างหน้า  เราจำเป็นต้องเลือกรื้อบ้านเพื่อการทำกิจกรรม  แม้ว่าบ้านของเราจะไม่มีหลังคาแต่เราคงมีสมาชิกที่เป็นพี่น้องกันอยู่จึงตัดสินใจรื้อ
            วันที่เราต้องรื้อบ้านมาถึง  สีหน้า ท่าทางของคนที่มารื้อบ่งบอกถึงความเสียดาย เสียใจ ปนเจ็บใจที่ไม่สามารถหยุดการกระทำของตนเองที่ทำตามคำสั่งไม่ได้  เรามั่นใจว่า คนที่รื้อซุ้มคงคิดเหมือนกันคือ....เสียใจ
                ปี  2545  พี่ฟิวส์เป็นประธานชนพ.  พี่ชอร์ เป็น ผอ.ค่าย ร่วมกับ น้องสุ  น้องเอ็ม  น้องเต่า  น้องตุ๊กตา  น้องน้อย  น้องสกล  น้องหนุ่ย เราไปออกค่ายกันที่ บ้านท่าศรี จังหวัดกาฬสินธุ์    กว่าจะได้บ้านออกค่ายหมดค่าน้ำมันเยอะพอสมควรจนกว่าเราพบกับหมู่บ้านที่ ใช่  โดยมีตัวชี้วัดที่เราเห็นร่วมกันในการตัดสินใจ  หมู่บ้านที่มีถนนหนทางลำบาก  เล้าข้าวใหญ่  ห้องน้ำที่ปลอดภัย  บรรยากาศ สายน้ำ ป่าชุมชน  ผ่านไปด้วยความประทับใจ สนุกสนาน  ปีนี้กิจกรรมหลักของเราคือ ออกค่าย  เยี่ยมค่าย  กิจกรรมเสริม ออกร้านขายของงานลอยกระทง  เลื่อนขั้นขึ้นมาเป็นพี่คนรอง  พี่คนโตก็ย้ายออกจากบ้านไปปฏิบัติภารกิจ  ไม่รู้ว่าปีนี้เป็นปีที่ต้องทำกิจกรรมอย่างจริงจังหรือเปล่า  เริ่มกิจกรรมจากงาน 19 ปี ชนพ.  พี่ๆคงจำได้และมีกิจกรรมผ่านเข้ามาอีกเรื่อยๆ เกิดกิจกรรมที่ชื่อว่า ชนพ. ปันยิ้ม  ออกค่ายเยาวชนอนุรักษ์ป่า  กิจกรรมเปิดหมวก  แม้ว่าจะมีอุปสรรคบ้าง ประธาน ชนพ. อย่างพี่ฟิวส์ ก็ไม่ยอมแพ้  เกือบจะขาดเขาไปช่วงนั้น  อาจจะเป็นอุปสรรคที่ต้องการวัดความสามารถของเขา  เขาก็นำ ชนพ.  ให้มีอุดมการณ์ของตัวเองจนได้
                สานฝัน ปันน้ำใจ เป็นผู้ให้แด่มวลชน  เกิดขึ้นเมื่อมีการตั้งคำถามว่า ชนพ. คืออะไร รุ่นน้องปี 1 ปีนี้ มาแปลก  เขามีความเป็นปัจเจก  แต่ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวก็ยังคงมี  อย่างน้อยก็ยังมีผู้นำทำกิจกรรมร่วมกับ ชนพ. เป็นประจำ  กิจกรรมชนพ. ปันยิ้ม  และอีกหลายกิจกรรม  เขาพยายามทำกิจกรรมเพื่อไม่ให้เกิดการตั้งคำถามว่า มา ชนพ. ทำไม  มาทำอะไร ท่ามกลางกระแสการตั้งคำถามของน้องปี 1    เราไม่จำเป็นต้องไป ชนพ.ก็ได้ เรามีกิจกรรมอย่างอื่นทำเยอะแยะ ทำกิจกรรมไปทำไม ทำไมต้องมา ชนพ. ทำไมต้องเป็นพี่ น้อง ( ซีดี )   แต่เวลาก็ทำให้น้องใหม่ชัดเจน ขึ้น  เลือกที่จะมา ชนพ.  หรือไม่มา เพราะอะไร......คือใคร   ทำอะไรบ้าง   คำถามนี้ก็ไม่ได้ผ่านเลยไปเหมือนเมื่อก่อน   เขาอาจจะเป็นคนที่ ลองผิด ลองถูก มีโครงสร้างการทำงานชัดเจน   คงรู้ดีถึงกิตติศัพท์ของพี่ฟิวส์ (   หลังจากทำกิจกรรมต้องมีกิจกรรมเปิดใจ   จุดเทียนแล้วก็บอกความรู้สึก  )      เริ่มมีการสรุปบทเรียนของ ชนพ. ของคนทำงานว่าเป็นอย่างไร  ไปแนวทางไหนในอนาคต  ทำกิจกรรมแบบระยะยาว  มองถึงน้องใหม่ที่จะเข้ามา ไม่ใช่ทำกิจกรรมเฉพาะคนที่อยู่ในช่วงนั้น  ได้รับการเกลาจากรุ่นใหญ่( ประมาณว่าอายุมากแล้ว ) หลายคน ไม่ว่าจะเป็น พี่กล้า พี่เหม็น  จนพี่ฟิวส์ผ่านมาได้ด้วยดี  บอบช้ำบ้างแต่ยังยึดมั่นในแนวทาง
          ปีนี้เราได้สร้างบ้านของเราใหม่ มีโต๊ะ ม้านั่ง ไว้กินข้าวร่วมกันในตอนเย็น  ปลูกดอกไม้  ต้นไม้ ไว้รอบ รอบ สภาพกายภาพภายนอกเราสร้างแบบนี้  สภาพภายในจิตใจเราก็สร้างด้วยแม้จะหวั่นไหว ไปบ้างเราก็พยายามประคองซึ่งกันและกัน
                ปี  2546 มีน้องสุ เป็นประธาน ชนพ. เป็นหญิงอีกแล้ว  รุ่นน้องปี 2  เป็นกรรมการ น้องเต่า เป็น ผอ.ค่าย ออกค่ายที่บ้านหนองทุ่ม อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น กิจกรรมเสริมอื่นๆ ก็มีกิจกรรมสานฝัน ปันน้ำใจ  สรุปบทเรียน ขายหนังสือจัดหาทุน  ในช่วงปีนี้มีสถานการณ์แบ่งแยกชนชั้น พี่ก็อยู่ส่วนพี่   น้องก็อยู่ส่วนน้อง ต่างก็ไม่ยอมฟังซึ่งกันและกันมันคงเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อให้เราได้ร่วมกันคิด  ร่วมกันประคับประคองกันและกัน  เราก็ผ่านมันมาด้วยดี
                ปี 2547 น้องนนท์ เป็นประธานชนพ. น้องโอ๊ต เป็น ผอ.ค่าย ออกค่ายที่อำเภอกระนวน  จ.ขอนแก่น  สมาชิกใหม่ที่เราได้ต้อนรับ  คือรุ่นซีดี  20( ซาว )      บักเอ๋  บักอ๋า  น้องหนึ่ง  น้องบอย  น้องนี  และอีกหลายคน มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันพอสมควร  ไปออกค่ายหนาแน่น ทำกิจกรรมร่วมกัน  เป็นพี่คนโต  แต่ไม่ได้ทิ้งน้องคนเล็ก  ยังคงติดตามความเป็นไปอยู่ตลอด  เราไปออกค่ายด้วยกัน  สรุปบทเรียนด้วยกัน  มา ชนพ.  วันใด  ต้องได้พบกับน้องเล็กไม่คนใดก็คนหนึ่ง  บ้านเราอบอุ่นเช่นเดิม  พยายามอยู่กับน้องใหม่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  กิจกรรมที่เราทำร่วมกันไม่ใช่เพียงออกค่าย  ยังมีกินข้าวเย็น  เล่นกีฬา  ร้องคาราโอเกะ ดูหมอลำ  โบกรถเที่ยว  หาหมู่บ้านออกค่าย  สรุปบทเรียน  ติวหนังสือ  แก้ปัญหาส่วนตัว  ถกปัญหาสังคม  ณ  ลาน ชนพ.  เลี้ยงวันเกิด  เราร่วมกันทำตลอด  จากกิจกรรมมันหล่อหลอมให้เป็นความผูกพันโดยไม่รู้ตัว  คิดถึงกันเมื่อมีปัญหา  โทรหาโดยไม่มีเหตุผล  พบกับความผูกพันกับน้องเล็ก
                สำหรับน้องที่เข้ามาใหม่ในปี 2547 ขอต้อนรับเข้าสู่บ้าน....มุมตึก  รุ่นนี้ฉันยังคงดูเสมอ  มีโอกาสได้คุยด้วยบ้างเหมือนกัน  แต่คงถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนผ่านคนดูแล  สำหรับเรื่องราวต่อจากนี้ไปก็คงต้องส่งไม้ต่อให้บักน้องเอ๋ได้เล่าต่อ  เรื่องราวของคนรุ่นนี้ที่อยู่ในช่วงของยุคโลกาภิวัตน์  มีหลายอย่างมากระทบกระเทือน  แต่เราก็พยายามประคับประคองกันและกัน  ให้ผ่านไปด้วยกันในช่วงแรกที่เข้ามาในบ้านอาจจะเหงาบ้างที่พี่คนโตไม่ค่อยได้เจอหน้า  พี่รองมีไม่กี่คน  แต่ยังมีน้องรอง น้องเล็ก  เป็นเพื่อนอยู่เสมอ  น้องใหม่  ก็เข้ามาเป็นสมาชิกอีกเรื่อยๆ พยายามใช้ประสบการณ์ที่พบมาเป็นบทเรียนในการสร้างน้องคนใหม่  เขาต้องการพี่ๆ  อีกหลายคนช่วยประคับประคอง  ดีใจเมื่อเห็นหน้าพี่มาเยี่ยมที่บ้าน เป็นเช่นนั้นจริง จริง ความเป็นพี่  เป็นน้อง มันคือความผูกพัน การแบ่งปัน เอื้ออาทร  ช่วยกันคิดเมื่อน้องหาทางออกเองไม่ได้ ยังคิดว่าสำคัญเสมอ
                บ้านมุมตึกหลังนี้ จะเป็นสถานที่ที่คิดถึงอยู่เสมอ  มีความอบอุ่นพี่- น้อง  ความผูกพัน  ทุกครั้งที่กลับไปอยากให้เวลายาวนานกว่าที่เป็น…...
                ที่ตรงนี้ มีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ  หยดน้ำตาของการร้องไห้ ทะเลาะ ถกเถียงหลายเรื่อง อายุ 22 ปี ถ้าเป็นคนก็กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่  บ้านมุมตึกหลังนี้จะยังเหมือนเดิม....อบอุ่นและมั่นคง

ศรัทธาและเชื่อมั่น
แตน ซีดี 17
____________________________________________________________________

ภาคห้า ณ ที่ตรงนี้...บ้านมุมตึก


                ได้รับการทาบทามจากประธาน ชนพ. ปี 49 น้องต้น (สมพงศ์  อาษากิจ) CD # 21 ให้ช่วยถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์และกิจกรรมของ ชนพ. ในช่วงปี 47- 49 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพงศาวดาร ชนพ. (ภาค 5) ก็รู้สึกหวั่นใจเล็กน้อย ด้วยความที่ไม่มั่นใจในถ้อยคำที่จะถ่ายถอดนัก แต่ด้วยความที่เข้าใจ Concept (ภาษาต่างดาว) ของ ชนพ. ว่า สบาย ๆ สไตล์ ชนพ.ก็เลยอุปโลกข์เอาเองว่า พออ่านรู้เรื่องก็น่าจะใช้ได้ จึงยินดีเขียนสนองศรัทธากับการได้รับเกียรติเช่นนี้...(หากพาดพิงถึงผู้ใดในเชิงบวกก็ขอให้ยิ้มกว้าง ๆ แต่หากล่วงเกินในเชิงบวกไม่มากนักก็ต้องขออภัย..นะครับ) อาจจะย้อนเรื่องราว เหตุการณ์พาดพิงถึงช่วงของพี่แตน (จุฑามาศ คำผง) ที่เขียนก่อนหน้านี้บ้างเล็กน้อย
                ช่วงปี 45-46 มีพี่สุ (สุมาลัย พวงเกตุ) CD # 18 เป็นประธาน ชนพ. แต่มีรุ่น(พี่)ใหญ่ดูแลอยู่ด้วย อย่างพี่เดอะ ฟิวส์ ตำนานเทียน (อดีตประธาน ชนพ. ปี 45 หรือในนามผู้ชายพายเรือที่หลายคนรู้จัก (ตอนนี้เรียนปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬาฯ) พี่แตน จุฑามาศ (ทำงานที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม สุรินทร์) พี่ชอปี้ อัศนัย (ทำงานที่โครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ คณะเกษตรศาสตร์ มข.) พี่ปุ้ย (ตอนนี้ไม่ทราบชะตากรรม) และพี่อาร์ตดำ (เข้าใจว่าตอนนี้ทำงานที่โรงแรมแถว ๆ ภูเก็ต) และพี่ใหญ่คนอื่น ๆ ที่อาจจะจำไม่ได้ทั้งหมด รุ่นนี้มีทีมงานทีมงานคับคั่ง อาทิ พี่เต่า (ทำงานที่ภาควิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์ มข.) พี่สกล (ช่วงนี้รับใช้ชาติที่ชลบุรี) พี่นิกกี้(ล่าสุดได้ยินว่าทำงานแถว ๆ ท่าพระ) พี่เอ็มเมี่ยม (เรียนปริญญาโทสังคมวิทยาฯ มนุษยศาสตร์ มข.) พี่ตุ๊กตาห้อย (ทำงานที่โครงการ WED มนุษยศาสตร์ มข.) และพี่ CD # 18 อีกมากมาย เช่น พี่แพท พี่ติ๊ก พี่หนุ่ย พี่ยุ้ย ฯลฯ  นอกจากนี้ยังมี พี่แก้ว พี่หนุ่ย สาขาภาษาอังกฤษ พี่ชัช วิศวะ ร่วมด้วย
กิจกรรมในช่วงนี้ คือ การออกค่ายอาสาพัฒนาฯ ที่บ้านหนองทุ่ม อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น โดยมีพี่เต่า (วินัย วงศ์อาสา) CD#18 เป็น ผอ.ค่ายฯ และค่ายเยี่ยม (กลับไปเยี่ยมค่ายที่เคยจัดเมื่อปีที่แล้ว) ที่บ้านท่าสี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ และช่วงนี้เองได้เกิดกิจกรรมใหม่ ๆ ของ ชนพ. ขึ้นเป็นครั้งแรก คือ กิจกรรม ชนพ.แนะแนวสัญจร คือ การออกไปแนะแนวการศึกษาต่อให้กับน้อง ๆ ที่โรงเรียนอยู่ห่างไกลข้อมูลนั่นเอง โดยจัดขึ้นที่โรงเรียนโคกสะอาดวิทยาคม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ หลังจากที่น้อง CD # 20 ได้ร่วม ค่ายถอดประสบการณ์สานกิจกรรม (นิราศห้วยกุ่ม) ที่จัดขึ้น ณ สถานีอนุรักษ์ฯ ห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ โดยการนำของพี่ฟิวส์ (มข.) พี่สุเมธ (มมส.) พี่เปิ้ล (ธรรมศาสตร์) และพี่เอส (เจ้าหน้าที่ห้วยกุ่ม)  ก็เลยลองนำแนวคิดมาสร้างเป็นกิจกรรมจนกลายเป็นกิจกรรมหลักของ ชนพ. ถึงปัจจุบัน(ผลลัพธ์หลังจากนั้น มีน้อง ๆ สอบเข้าเรียนต่อใน มมส. ได้ 2 คน หนึ่งในนั้นเรียนพัฒนาชุมชน มมส. ครับ) ส่วนกิจกรรมอื่นๆ ก็เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาลัย เช่น เปิดซุ้มขายของน้องใหม่ เปิดซุ้มเล่นเกมงานลอยกระทง (จัดหาทุนเข้าชมรมฯ) ฯลฯ เป็นต้น
ช่วงปี 46-47 มีพี่นนท์ (ปัญจเดช  สิงห์โท) CD#19 เป็นประธาน ชนพ. และทีมงาน อาทิ พี่เหรียญ (ตอนนี้ทำงานอาสาสมัครที่ จ.พังงา) พี่โอ็ต พี่แพน พี่โจ (ไม่ทราบชะตากรรม) ช่วงนี้เริ่มมีน้อง CD#20 เข้ามาร่วมทำงานด้วย คือ น้องเอ๋กับน้องอ๋า รับบทเป็นฝ่ายบันเทิงของชมรมฯ กิจกรรมหลัก คือ ออกค่ายอาสาพัฒนาฯ ที่บ้านท่าลาด อ.กระนวน จ.ขอนแก่น โดยมี พี่โอ๊ต (สิทธิดล สมแวง) CD#19 เป็น ผอ.ค่ายฯ มีชาวค่ายเข้าร่วมจากหลากหลายคณะ อาทิ วิศวะ พยาบาล เภสัชฯ วิทยาการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีน้องนิติศาสตร์ (รุ่นแรก) เข้าร่วมอย่างคั่บคั่ง ส่วนค่ายเยี่ยมที่บ้านหนองทุ่ม อ.แวงใหญ่ จ.ขอนแก่น และกิจกรรม ชนพ.ปันยิ้มเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้ด้อยโอกาสในสังคม จัดที่โรงเรียนศึกษาพิเศษขอนแก่น (ร.ร.เด็กพิการ) (ส่วนค่าย ชนพ.แนะแนวสัญจร ปีนี้ไม่ได้จัดเนื่องจากปัจจัยหลายประการ...จำไม่ค่อยได้) และกิจกรรมของมหาลัยตามเคย นอกจากนี้ยังได้จัดงาน ครบรอบ 20 ปี ชนพ.เพื่อให้พี่น้อง ชนพ. ได้มาสังสรรค์ พบปะแลกเปลี่ยนกัน (เมา) แบบสุด สุด... และเกิดดำริในการจัดตั้ง ชมรมศิษย์เก่า ชนพ.ก็ครั้งนั้นแหล่ะ โดยพี่โจอี้ (พี่จ่อย CD#12) ได้รับเลือกเป็นประธานชมรมฯ คนแรก (แต่ตอนนี้ไม่ทราบชะตากรรม...ไม่รู้ไปถึงไหนแล้วครับ)
ช่วงปี 47-48 มีพี่เอ๋ (อนุวัฒน์ พลทิพย์) CD#20 เป็นประธาน ชนพ. ตามมาด้วยทีมงานมากมายมีทั้งขาประจำและขาจร อาทิ อ๋า (บาล) ป๊อบ ตั้ม เจี้ยม บอย หนึ่ง(โบ้) กิ๊ฟ ฯลฯ ส่วนผู้หญิง อาทิ จุ๋ม ณี นุ้ย ต่าย บี ฯลฯ ร่วมหัวจมท้ายกันมา (อาจจำได้ไม่หมดนะครับ) กิจกรรมช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่ค่อนข้างวิกฤติในแง่ของงบประมาณการทำกิจกรรม เนื่องจากทางชมรมฯ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาลัยน้อยมาก ทำให้ทีมงานต้องค้นหาวิธีการระดมทุนเข้าชมรมฯ โดยการงัดเอาทีเด็ดสมัยก่อนของรุ่นพี่ ชนพ. ที่เคยทำ คือ การขายหนังสือมาลองทำดู โดยมีพี่เอ๋ CD#20 และน้องเบญ CD#21 มุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ เพื่อรับหนังสือมาขายด้วยตัวเอง (เอื้อเฟื้อสถานที่หลับนอนโดยพี่โต CD#7) ซึ่งรับมาจากสำนักพิมพ์เคล็ดไทย (โดยการช่วยเหลือของพี่กุ๊ดจี่) มติชนและโกมล คีมทองพร้อมกับการขายเสื้อยืด ตัวละ 150 บาท นำทีมโดยน้องฟ้า CD#21 (ออกแบบโดย น้องป้อง CD#21)  ครั้งนั้นก็ระดมทุนได้ประมาณ 17,000 บาท สำหรับเป็นเงินหมุนเวียนในการทำกิจกรรมในปีนั้น
กิจกรรมในช่วงนี้ คือ การออกค่ายอาสาพัฒนาฯ โดยช่วงแรกก็ออกสำรวจหลายจังหวัด เสียเงินไปค่อนข้างเยอะเหมือนกัน แต่พอใกล้จะทำจริงทาง สกอ. กลับไม่สนับสนุนงบประมาณ ทำให้ทีมงานต้องมาพูดคุยกันโดยมีเอ๋ อ๋า บอยและหนึ่ง(โบ้) จนกระทั่งได้ข้อสรุปที่จะทำค่ายโดยใช้เงินน้อยที่สุด จนเกิด ค่ายเรียนรู้ชุมชน สร้างคนพัฒนา ที่บ้านโคกสนั่น ต.นากอก อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู มีป๊อบ (ขจรพงศ์  สุนทรไชยา) CD#20 เป็น ผอ.ค่าย เป็นค่ายลักษณะเรียนรู้ศึกษาและวิเคราะห์ชุมชน ก่อนออกจากค่ายมีการมอบข้อมูล (รูปเล่ม) ให้กับผู้นำชุมชน พักรวมกันที่โรงเรียน 7 วัน ค่ายเยี่ยมที่บ้านท่าลาด อ.กระนวน ค่ายเก็บเกี่ยวประสบการณ์ผ่านท้องทุ่ง พาน้อง ๆ ชนพ. ที่สนใจไปช่วยชาวบ้านเกี่ยวข้าว (โดยการสนับสนุนจากพี่มาว CD#11) ที่ อ.พล จ.ขอนแก่น ตามมาด้วยค่าย ชนพ.ปันยิ้ม นำทีมโดยน้องเดฟ CD#21 เป็นประธานโครงการฯ ที่โรงเรียนดงเรือง อ.น้ำพอง  มีชาวค่ายเข้าร่วมเยอะพอสมควร มีการทาสีอาคารเรียน ปรับปรุงสนามเปตอง มอบอุปกรณ์กีฬา และจัดบอร์ด ฯลฯ ส่วนค่าย ชนพ.แนะแนวสัญจร ครั้งที่ 2 นำทีมโดยน้องต้นCD#21 ที่โรงเรียนทุ่งฝน  อ.ทุ่งฝน จ.อุดรธานี นอกจากนั้นช่วงนี้ยังจัดกิจกรรมค่าย อาสาพัฒนาฯ (ต่อเนื่อง) ในเดือนมีนาคม 48 เป็นค่ายสร้างสิม โดยการจัดผ้าป่าระดมทุน ได้เงินประมาณ 50,000 บาท ได้สิม (ชั่วคราว) 1 หลัง รอบนี้จึงเปลี่ยนเป็นการพักอยู่กับชาวบ้านเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตชาวบ้าน ช่วงนี้ทีมงานเปิดโอกาสในน้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นผู้นำกิจกรรมและพยายามสร้างทางเลือกในการทำกิจกรรมให้กับน้องรุ่นใหม่ให้มากที่สุด
ช่วงปี 48-49 มีน้องต้น (สมพงศ์ อาษากิจ) CD#21 เป็นประธาน ชนพ. พร้อมด้วยทีมงานรุ่นใหม่ อาทิ ยุทธ ตาล กอล์ฟ ฟ้า เบญ ออย โบว์(สั้น) กุ้ง (แว่น) และทีมหนุน อาทิ เดฟ จ๊อบ น้อง (ซาร่า) ป้อง เป็นต้น กิจกรรมที่ทำก็จะมีการขายหนังสือ และขายเสื้อระดมทุนในช่วงเปิดเทอม จากนั้นก็มีค่ายเยี่ยมที่บ้านโคกสนั่น อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู และค่ายอาสาพัฒนาฯ ที่บ้านท่าแร่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร (เป็นค่ายเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน) ช่วงนี้มีทีมงานน้องรุ่นใหม่ CD#22 เข้ามาช่วยงาน อาทิ น้องส้ม ด้า จ๋า แตงโม ทรีบอร์ โต้ง บ๋อมแบ๋ม เป็นต้น ส่วนน้องเฟรชชี่ (หรือปล่าว) CD#23 มีน้องสมัย เปรม โป้ หมี น้ำเต้า ปอย มีน จะเอ๋  วิ  อีฟ  เมย์ เป็นต้น ส่วนกิจกรรมที่เหลือต่อไป คือ กิจกรรมแนะแนวสัญจร ครั้งที่ 3 ที่โรงเรียนโคกสะอาดวิทยาคม อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ และที่สำคัญ คือ กิจกรรมทำบุญครบรอบ 22 ปี ชนพ. ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 9-10 ธันวาคม 49 นี้  ก็เฝ้าดูและให้กำลังใจน้อง ๆ ในการทำกิจกรรมต่อไปนะครับ...
กิจกรรมช่วงหลังเป็นกิจกรรมที่สร้างทางเลือกเพื่อการอยู่รอดของกระแสสังคมที่เปลี่ยนไปของน้องรุ่นหลัง  (Social Change เพราะสังคมเปลี่ยนแปลงบ่อย) ไหน ๆ ปีนี้ ชนพ. ก็เวียนมาบรรจบ ครบรอบอายุ 22 ปี เป็นหนุ่มเป็นสาวเต็มตัวแล้ว ขอให้แสวงหาความฝันต่อไป แต่ก็อย่าลืมเร่งสร้างเนื้อสร้างตัวและเตรียมพร้อมกับการมีครอบครัวนะครับ เป็นที่พึ่งที่อาศัยของคนทำกิจกรรม  ยืนหยัดต่อสู้เคียงข้างผู้ด้อยโอกาสต่อไป...

เอ๋ CD # 20
ผู้ร่วมเหตุการณ์ช่วงปี 2546-2549
_________________________________________________________

ยังไม่จบนะครับ

4 ความคิดเห็น:

  1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  2. ภาคต่อไปกำลังจะตามมาครับ

    ตอบลบ
  3. ห้าๆๆๆ รุ่นพี่ติีก พี่ไก่ พี่โอครับ ห้าๆๆ

    เอก/โน้ส บรรณฯ

    ตอบลบ
  4. แตนขอแชร์ไปหน้า fb นะคะ เผื่อตามมาอ่านเพิ่มเติมได้
    ไม่ต้องมีระบบสมาชิกเหรอคะ

    ตอบลบ