ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้า้งสังคมแห่งการเรียนรู้...

หากต้องการลงบทความ/งานเขียนของท่าน สามารถแจ้งความประสงค์ได้ทางเว็บบอร์ด หรือทางอีเมล์แอดเดรส; po_kenchin@hotmail.com
หรือจะสมัครสมาชิกอย่างเดียวก็ได้นะครับ

07 กรกฎาคม 2554

ปัญหาการพัฒนาและความยากจนในประเทศพม่า

 ปัญหาการพัฒนาและความยากจนในประเทศพม่า[1]
ถิรนัย อาป้อง
บทนำ
                สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์  (The Republic of Union of Myanmar) หรือในภาษาพม่าเรียกว่า “เมียนมานัยงาน” (Myanma Naing-Ngan) หรือแต่เดิมชาวไทยเรียกชื่อประเทศนี้ว่า สหภาพพม่า หรือ พม่า เป็นประเทศที่มีความหลากหลายของเชื้อชาติ เนื่องจากประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ ทำให้ความเป็นสหภาพในภาพรวมไม่ค่อยกลมกลืนกันมากนัก สหภาพพม่า ยังมีกลุ่มคนที่เรียกว่า “พม่าแท้” ซึ่งเป็นชื่อที่เรียกเขตที่อยู่อาศัยของประชาชนส่วนใหญ่ คือ ชาวบะมาร์ (Bamar) โดยถูกล้อมกรอบโดยรัฐของชนกลุ่มน้อย คือ ชาวชิน (Chin) กะฉิ่น (Kachin) ชาวไตในรัฐฉาน คะยาห์ (Kayah) หรือกระเหรี่ยงแดง มอญ (Mon) และคะเรนนี (Rakhine) ส่งผลให้ในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมามีสงครามระหว่างเชื้อชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนกระทั่งในปัจจุบันสถานการณ์ก็มิได้เปลี่ยนไปจากเดิม[2]
                การแบ่งแยกการปกครองของสหภาพพม่าในปัจจุบันตามที่ระบุไว้ตามรัฐธรรมนูญของพม่า ฉบับปี 1948 (พ.ศ.2491) ซึ่งเป็นฉบับพื้นฐานเดิมที่อังกฤษใช้อยู่ในสมัยที่เป็นเมืองขึ้นนั้น อังกฤษใช้หลักการ “แบ่งแยกและปกครอง” ได้ให้ความแตกต่างระหว่าง “ส่วนที่เป็นพม่าแท้ และส่วนที่เป็นพม่าส่วนนอก หรือที่ตั้งหลักของชนกลุ่มน้อยต่างๆ” ว่า “ส่วนที่เป็นพม่าแท้” จะอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของผู้ปกครองชาวอังกฤษในอินเดีย แต่ชนกลุ่มน้อยต่างๆ จะถูกทิ้งให้ปกครองตนเองโดยอังกฤษจะเป็นผู้กำกับ หรือใช้รูปแบบการปกครองทางอ้อม
                ในอดีตชาวบะมาร์ถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วมในกองทัพของอาณานิคม ทางกองทัพจึงต้องอาศัยชนกลุ่มน้อยที่มีความชำนาญในการต่อสู้เป็นหลัก ทำให้ความเป็นปรปักษ์ทางเชื้อชาติระหว่างชาวบะมาร์และชนกลุ่มน้อยต่างๆ ได้เป็นปัญหาที่แฝงเร้นอยู่จนกระทั่งพม่าได้รับเอกราช นับตั้งแต่นั้นมาได้มีการต่อสู้กันภายในประเทศอย่างรุนแรงหลายครั้ง ถือได้ว่าเป็นการทำลายความหวังที่จะมีความสงบภายในประเทศ ปัจจุบันสหภาพพม่าอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารพม่าและเพิ่งเปลี่ยนชื่อประเทศใหม่อย่างเป็นทางการเป็น “สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์” (The republic of Union of Myanmar) เมื่อ พ.ศ.2531 (1988) หลังจากการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองประเทศเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2531 (1988) โดยกลุ่มอำนาจย่างกุ้งที่นำโดยนายพล ซอ หม่องกับคณะนายทหารของพม่า
ข้อมูลทั่วไป
                ประเทศพม่าตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ โดยพม่าได้ย้ายเมืองหลวงจาก ย่างกุ้ง มายัง เนปิดอ (Naypyidaw) เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2548 ประเทศพม่ามีพื้นที่ประมาณ 678,033 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศต่างๆ คือทิศเหนือจรดกับจีนและแคว้นอัสสัมของอินเดีย ทิศใต้จรดกับทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกจรดกับจีนที่มณฑลยูนาน สปป.ลาว ประเทศไทย ทิศตะวันตก จรดอ่าวเบงกอล อินเดีย และบังคลาเทศ
                สภาพทางภูมิศาสตร์ของพม่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 49 พื้นที่ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมีประมาณร้อยละ 15 นอกนั้นเป็นภูเขาและที่ราบ คือ มีภูเขารอบด้านทิศเหนือ ตะวันออก และตะวันตก ตอนกลางเป็นที่ราบลุ่มอิระวดี ด้านตะวันตกและด้านใต้เป็นพื้นที่ฝั่งทะเลยาวไปตามอ่าวเบงกอล และเนื่องจากประเทศพม่าอยู่ในเขตโซนร้อน จึงได้รับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดจากตะวันออกเฉียงใต้ (อ่าวเบงกอล) ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม และจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม นั่นคือในรอบหนึ่งปีจะมีฝนสลับแล้ง ซึ่งเป็นสภาพอากาศที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวนาดำ ลักษณะอากาศจะคล้ายคลึงกับประเทศไทยในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ แต่พม่าทางตอนเหนือซึ่งอยู่ติดกับพรมแดนจีนจะมีอากาศหนาวเย็น มีแม่น้ำสายสำคัญหลายสายอาทิเช่น แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากประเทศจีนและทิเบต เป็นแม่น้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะจึงทำให้มีน้ำไหลสมบูรณ์ตลอดปี[3]

                ด้านประชากรและศาสนาของประเทศพม่าจัดได้ว่าเป็นประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายประมาณ 135 ชาติพันธุ์ โดยมีชาติพันธุ์หลัก 8 กลุ่มด้วยกันคือ เชื้อชาติพม่าประมาณร้อยละ 68 ส่วนที่เหลือประมาณร้อยละ 32 เป็นเชื้อชาติอื่นๆ ได้แก่ คะฉิ่น (Kachin) กะเหรี่ยง (Karen) คะยาห์ (Kayah) ชิน (Chin) มอญ (Mon) ไทใหญ่ (Shan) และคะเรนนีหรือยะไข่ (Rakhine) ประชาชนในประเทศพม่าส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 89 รองลงไปคือศาสนาคริสต์ อิสลาม และฮินดู ปัจจุบันประเทศพม่ามีประชากรประมาณ 49.6 ล้านคน[4]
โครงสร้างทางการเมืองการปกครอง
                พม่าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 มณฑล (Division) และ 7 รัฐ (State) มณฑลเป็นเขตที่ราบลุ่มซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายพม่า ได้แก่ มณฑลอิระวดี (Ayeyarwady) มณฑลพะโค (Bago) มณฑลมากุย (Magway) มณฑลมัณฑะเลย์ (Mandalay) มณฑลสะกาย (Sagaing) มณฑลตะนาวศรี (Tanintharyi) มณฑลย่างกุ้ง (Yangon) รัฐเป็นเขตพื้นที่สูงรอบนอก มีประชากรส่วนมใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ รัฐชิน (Chin State) รัฐคะฉิ่น (Kachin State) รัฐคะยินหรือกะเหรี่ยง (Kayin State) รัฐคะยาหรือกะเหรี่ยงแดง (Kayah State) รัฐมอญ (Mon State) รัฐยะไข่หรืออารากัน (Rakhine State) และรัฐฉาน (Shan State) โดยแต่ละรัฐจะมีประชาชน SPDC (State Peace and Development Council) ประจำมณฑลหรือรัฐที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าการปกครองสูงสุด นอกจากนี้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐก็มีองค์กรส่วนภูมิภาคในระดับต่างๆ ด้วยเช่นกัน ได้แก่ State หรือ Division Peace and Development Council (ระดับรัฐและระดับมณฑลตามลำดับ) District Peace and Development Council (ระดับจังหวัด) Township Peace and Development Council (ระดับอำเภอ) Ward Peace and Development Council (ระดับตำบล Village Peace and Development Council (ระดับหมู่บ้าน) นอกจากนี้รัฐบาลพม่ายังได้ให้เขตปกครองพิเศษสำหรับชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มที่ได้บรรลุข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลทหารพม่าเรียบร้อยแล้ว
                ระบบการปกครองของพม่าจัดได้ว่าเป็นการปกครองระบบเผด็จการทหาร และมีสถาบันทหารเป็นผู้กุมอำนาจการบริหารและปกครองประเทศ คณะทหาร (Military Council) ภายใต้สภาสันติภาพแห่งรัฐ (State Peace and Development Council : SPDC) ซึ่งได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1997 ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายต่างๆ คือสภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐ (State Law and Order Restoration Council :SLORC) SPDC เป็นองค์กรสูงสุดที่มีอำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ทำหน้าที่แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมีพลเอกอาวุโสตัน ฉ่วย เป็นประธาน พลเอกหม่อง เอ เป็นรองประธาน พลโทติน อ่อง มินต์ เป็นเลขาธิการอันดับหนึ่ง และสมาชิกสภาอีก 13 นาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายทหาร โดยมีพลเอกเต็ง เส่ง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
                ปัจจุบันจำนวนรัฐมนตรีว่าการรวมทั้งสิ้น 33 คน และรัฐมนตรีช่วยว่าการรวมทั้งสิ้น 38 คนทำหน้าที่บริหารประเทศตามนโยบายของ SPDC รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีจะไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่งใน SPDC นอกจากนายกรัฐมนตรีเท่านั้นที่เป็นสมาชิก SPDC การจัดระเบียบกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับของไทย กล่าวคือ จะมีหน่วยงานในระดับ กรม กอง ภายในกระทรวง บริหารโดยอธิบดีและผู้อำนวยการกองตามลำดับ ระบบราชการพม่าจะไม่มีผู้ใดดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง แต่จะให้อธิบดีกรมที่สำคัญของแต่ละกระทรวงทำหน้าที่เช่นเดียวกับปลัดกระทรวง
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าโครงสร้างทางการเมืองของพม่าจะเป็นการปกครองโดยระบอบเผด็จการทหารแต่พม่าก็ยังมีซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนพรรคฝ่ายค้านชื่อว่า พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (the National League for Democracy – NLD) ตั้งขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1989 ซึ่งเป็นช่วงที่สภาฟื้นฟูกฎระเบียบแห่งรัฐได้มีการประกาศให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 พฤษภาคม 1990 นำโดย ออง ซาน ซูจี ซึ่งเป็นบุตรสาวของนายพล ออง ซาน วีรบุรุษในดวงใจของชาวพม่าที่นำพม่าสู่ความเป็นเอกราช ออง ซาน ซูจีเป็นนักการเมืองที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์การบริหารปกครองประเทศว่าทำการบริหารประเทศผิดพลาดจนทำให้ประเทศพม่ากลายเป็นประเทศยากจน ซึ่งความกล้าหาญของเธอทำให้ประชาชนซึ่งกำลังเบื่อหน่ายกับการปกครองโดยคณะทหารให้การสนับสนุนพรรค NLD จนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 1990[5]
ผลการเลือกตั้งปรากฏว่าผู้สมัครจากพรรค NLD ได้รับเลือกตั้งถึง 392 ที่นั่งจากทั้งหมด 485 ที่นั่ง ในขณะที่พรรค NUP ของทหารได้รับเลือกตั้งเพียง 10 ที่นั่งเท่านั้น แต่ภายหลังการเลือกตั้งรัฐบาลทหารพม่ากลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจให้กับพรรค NLD ทำให้ประชาชนไม่พอใจจนเกิดการประท้วงการกระทำของรัฐบาลทหารพม่าจนเป็นเหตุให้มีนักการเมืองและประชาชนที่ไม่พอใจรัฐบาลถูกจับกุม กดดันคุกคามจนต้องหลบหนีออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก

ถึงแม้ว่าสมาชิกพรรค NLD จะถูกคุกคามจากรัฐบาลทหารพม่า หากแต่ว่าสมาชิกพรรคที่ยังคงยืนหยัดต่อสู้ในพม่ายังคงทำหน้าที่คัดค้านการบริหารประเทศโดยรัฐบาลทหารพม่าเสมอมา โดยเฉพาะตัวออง ซาน ซูจี ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการทหาร เธอเปรียบเสมือนกับตัวแทนของประชาชนที่ไม่พอใจรัฐบาลทหารพม่าพอๆ กับการได้รับการสรรเสริญจากชุมชนโลกที่ประนามรัฐบาลทหารพม่าในการล้มมติมหาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในปี ค.ศ.1990 รัฐบาลทหารพม่าสั่งกักบริเวณ ออง ซาน ซูจี ถึง 3 ครั้งด้วยกัน[6] และกระทั่งปัจจุบันเธอยังถูกกักบริเวณอยู่

ประวัติศาสตร์พม่ายุคใหม่[7]
                ในอดีตพม่ามีการในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เฉกเช่นประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในยุคล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตก พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ.1886 และถูกลดบทบาทจากประเทศที่ยิ่งใหญ่ในอาณาบริเวณคาบสมุทรอินโดจีนเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของประเทศอินเดีย พม่าตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษเป็นเวลาถึง 62 ปี (ค.ศ. 1886-1948) จึงได้รับเอกราชจากอังกฤษในเดือนมกราคม ค.ศ.1948 ซึ่งจะขอนำเสนอประวัติศาสตร์พม่ายุคใหม่โดยแบ่งเป็นช่วงยุคสมัยดังนี้ คือ
                ช่วงแรก เมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของเจ้าอาณานิคมอังกฤษตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มีการทำสงครามต่อสู้กันอยู่ถึงสามครั้ง ครั้งแรกคือปี ค.ศ.1826 (พ.ศ.2369) ซึ่งฝ่ายอังกฤษชนะและยึดเอาเขตแดนพม่าส่วนล่างเข้าไว้ในการครอบครอง การสงครามครั้งที่สองในปี ค.ศ.1886 (พ.ศ.2429)ที่ยึดพม่าไว้ได้ทั้งหมด และครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) เมื่อเกดสงครามโลกครั้งที่ 2 และอังกฤษยกกองทัพพันธมิตรกลับมายึดพม่าต่อสู้กับฝ่ายอักษะที่มีญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามแถบเอเชียแปซิฟิก
                ช่วงที่สอง เป็นช่วงของการต่อสู้เรียกร้องอิสรภาพและเสรีภาพของพม่า ปลดแอกออกจากการยึดครองพม่าทั้งของญี่ปุ่นในกลุ่มอักษะที่พ่ายแพ้สงครามและของอังกฤษซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเมื่อพม่าได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ในช่วงการดิ้นรนเรียกร้องอิสรภาพและเสรีภาพของพม่าเพื่อปลดแอกจักรวรรดินิยมอังกฤษนี้ ชื่อของ ออง ซาน คงไม่เพียงแต่เฉพาะคนพม่ารุ่นก่อนจะรำลึกยกย่องในฐานะผู้นำพาพม่าสู่เอกราช หากแต่คนทั่วไปชาวพม่าในปัจจุบันยังจดจำและให้ความนับถือ ในฐานะวีรบุรุษของชาติพม่าตลอดกาล
                ช่วงที่สาม เป็นช่วงของการเริ่มต้นใหม่ของพม่าที่เป็นเอกราช จัดรูปแบบการปกครองในช่วงแรกเริ่ม ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นช่วงที่ความเป็นประชาธิปไตยของพม่าเบ่งบานอยู่ถึง 14 ปี ภายใต้นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าคือ อู นุ เหตุการณ์ในช่วงแรกเริ่มของอิสรภาพและความเป็นประชาธิปไตยในช่วงนี้มีสถานการณ์อันสับสน วุ่นวาย และความขัดแย้งแฝงตัวผุดโผล่ ทั้งในระหว่างกลุ่มการเมืองและกับชนกลุ่มน้อย นำไปสู่การใช้กำลังที่นำมาซึ่งบทใหม่ของประวัติศาสตร์พม่า ที่มีนายพล เน วิน ก้าวขึ้นครองอำนาจในพม่าอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในช่วงเกือบ 27 ปี
                ช่วงที่สี่ เป็นช่วงที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์พม่าเป็นอย่างมาก วันที่ 2 มีนาคม 1962 นายพล เน วินผู้บัญชาการทหารบก (ตำแหน่งในขณะนั้น) และคณะนายทหารได้ทำการรัฐประหารและเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตยมาสู่ระบอบสังคมนิยม เป็นช่วงที่พม่าทั้งประเทศตกอยู่ใต้อาญาของนายพล เน วิน อย่างสิ้นเชิง อำนาจอันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของเขานั้นสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของพม่า ตลอดจนวิถีชีวิตที่ฝังตัวอยู่ในระบบอำนาจของ เน วิน เกือบ 27 ปีที่เขาครองอำนาจอยู่เกือบครึ่งชั่วอายุคนรุ่นใหม่ของพม่า ประเทศชาติและสังคมของพม่าก็มิได้ถูกเปลี่ยนถ่ายมาสู่คนรุ่นปัจจุบัน ในอันที่จะนำพม่าก้าวออกมาสู่ชุมชนโลกอย่างทะนงองอาจได้เลย ผลพวงจากการบริหารประเทศที่ผิดพลาดคือทำให้พม่าถูกจัดเป็นประเทศในกลุ่มของประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่ง จนบัดนี้ระดับมาตรฐานชีวิตและความเป็นอยู่ของคนพม่ายังไม่ดีขึ้นเท่าที่ควรเลย
                ช่วงที่ห้า หลังจากการปฏิวัติยึดอำนาจของกลุ่มอำนาจย่างกุ้ง ภายใต้การนำของนายพล ซอ หม่อง กับคณะนายทหารของเขาเมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) เป็นการถอยหลังกลับของพม่าเข้าสู่อำนาจเผด็จการอย่างต่อเนื่องจากยุคที่พม่าตกอยู่ภายใต้อำนาจของนายพล เน วิน มาแต่ปี ค.ศ.1962 (พ.ศ.2505) เป็นการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากเผด็จการยุคหนึ่งสู่เผด็จการยุคใหม่ โดยนายพล ซอ หม่อง จนถึงวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) และหลังจากนั้นนายพล ตัน ฉ่วย ก็ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำประเทศต่อจากนายพล ซอ หม่อง เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
                สิ่งที่เกิดขึ้นกับพม่าปัจจุบันล้วนมีปัจจัยหล่อหลอมเปลี่ยนถ่ายมาสู่สภาพและสถานะปัจจุบันของพม่าที่เป็นอยู่ ล้วนมีเงื่อนแง่เหลือค้างมาจากแต่ละช่วงของฉากประวัติศาสตร์พม่า อย่างเช่นข้อตกลงปางโหลง ซึ่งไม่เคยตกลงกันได้มาแต่เมื่อพม่าได้รับเอกราช และจนถึงเวลานี้กว่าครึ่งศตวรรษมาแล้ว การต่อสู้ของกลุ่มอำนาจย่างกุ้งแต่ละยุคกับชนกลุ่มน้อยของพม่าชนเผ่าต่างๆ ยังเป็นสงครามที่หาคำตอบไม่ได้มาจนถึงบัดนี้ การยึดอำนาจการปกครองของนายพล เน วิน ตลอดถึงการสืบทอดอำนาจเผด็จการทหารเป็นปัจจัยและเป็นตัวการสำคัญในฉากใหม่ของประวัติศาสตร์พม่ามาก และระบอบเผด็จการทหารเช่นที่เป็นอยู่ในพม่าเวลานี้ก็เป็นผลพวงอันเกิดจากระบอบ เน วิน ที่ซึมลึกอยู่ในโครงสร้างของอำนาจเผด็จการที่เป็นอยู่และเป็นมา

พลวัตรการพัฒนาของประเทศพม่า
สู่สังคมนิยม
                หลังจาก เน วิน ยึดอำนาจเพียงวันเดียว รัฐสภาของพม่าก็ถูกยุบในวันรุ่งขึ้น อู นุ และคณะพรรคของเขาหลายคนถูกจับเข้าคุก ไม่มีการประกาศว่าคณะปฏิวัติจะใช้ระบอบการเมืองใดแน่ แต่การเปลี่ยนผ่านอำนาจโดยการรัฐประหารครั้งนี้ก็ปราศจากการนองเลือด ในฝ่ายนักการเมืองนั้นเพียงแต่มองดูคณะทหารที่เข้ายึดอำนาจและก็คงคิดว่าเป็นเหมือนเมื่อครั้งที่ เน วิน ได้เข้าไปรักษาการรัฐบาลชั่วคราวเช่นในระหว่าง พ.ศ.2501-2503 และครั้งนี้คงเป็นเพียงการชะงักงันชั่วคราวของระบบรัฐสภา เดือนเดียวกันนี้เองฝ่ายทหารที่เข้ายึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนของ อู นุ ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น เรียกตัวเองว่า “รัฐบาลปฏิวัติของสหภาพพม่า” และให้มี “สภาคณะปฏิวัติ” ประกอบด้วยคณะนายทหาร 17 คน เริ่มนำระบบการปกครองชนิดที่มีการควบคุมแบบรวมศูนย์มาใช้ โดยถือคำประกาศของคณะปฏิวัติเป็นตัวบทกฎหมายในการบริหารประเทศ

                จากนั้นสภาคณะปฏิวัติก็ประกาศ “วิถีทางของพม่าสู่ลัทธิสังคมนิยม” เป็นแนวนโยบายหลักในการบริหารปกครองประเทศ นโยบายดังกล่าวเป็นการผสมกลมกลืนแนวความคิดในประเพณีนิยมแบบทหาร แรงบันดาลใจแห่งความรักชาติอันเป็นที่มาจากคุณค่าแห่งขนบประเพณีในวิถีชีวิตของชาวพม่า ประสมประสานกับแนวทัศนะแห่งคุณค่าของวิถีปฏิบัติของพม่าเอง โดยหล่อหลอมเอาหลักการแห่งลัทธิมาร์กซ์และเลนินเป็นแกนหลักแห่งอุดมการณ์ร่วมกับหลักการที่ ออง ซาน ได้วางพื้นฐานไว้สำหรับความเป็นเอกราชของพม่า
                สาระสำคัญโดยสรุปคือ จุดมุ่งหมายของฝ่ายทหารที่ปฏิวัติในอันที่จะก่อรูปสังคมใหม่ให้กับพม่า เปลี่ยนรูปแบบของสถาบันที่มีอยู่ให้สนองตอบต่อความต้องการพิเศษของพม่า โดยให้ผู้นำเป็นผู้แปลความหมายแห่งความต้องการนั้นเสียเองประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมเข้ามาแทนที่ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โครงสร้างและการดำเนินงานของฝ่ายรัฐบาลเป็นหน้าที่ของสภาคณะปฏิวัติระบอบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมนี้เป็นระบอบรวมศูนย์ที่ผู้นำควบคุมสังคมได้ วิถีทางสู่สังคมนิยมของพม่า มีดังนี้[8]
1.             ปลดปล่อยชาติพันธุ์จากระบบเศรษฐกิจอันเลวร้าย ที่มุ่งแต่การแสวงหากำไร ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมอันมีพื้นฐานอยู่บนความยุติธรรม
2.             ในการกำหนดโครงการและการบริหารสภาคณะปฏิวัติจะต้องมีการศึกษาสภาพจริงอย่างถ่องแท้ นำมาสู่การพัฒนาด้วยวิถีทางของตนเอง
3.             ในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ สภาคณะปฏิวัติจะรีบเร่งปรับปรุงตนเองด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง และหลีกเลี่ยงอย่างระมัดระวังต่อการเบี่ยงเบนไปสู่ซ้ายหรือขวา
4.             ไม่ว่าสถานการณ์และความยุ่งยากจะเป็นเช่นไร คณะปฏิวัติจะมุ่งแก้ไขด้วยจิตใจอันแน่วแน่เพื่อผลประโยชน์ของชาติ
5.             สภาคณะปฏิวัติจะมุ่งมั่นแสวงหาแนวทางทั้งมวลมาร่างเป็นโครงการและดำเนินการให้เกิดคุณค่าอย่างแท้จริง และมีผลในทางปฏิบัติต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของชาติ
6.             แนวเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมคือ การมีส่วนร่วมของทุกคนในงานซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อความพึงพอใจของทุกคน เพื่อมุ่งหมายต่อการสร้างสังคมใหม่ให้ทุกคนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ดำรงชีวิตอยู่อย่างสันติสุขและมั่งคั่ง
7.             เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบเศรษฐกิจใดๆ อันเลวร้ายที่มุ่งบ่อนทำลายมนุษย์ มุ่งแต่ผลประโยชน์ของตนเอง
8.             ไม่สนองตอบต่อผลประโยชน์อันคับแคบของตนเอง กลุ่ม องค์กร ชนชั้น หรือของพรรค แต่มีจุดมุ่งหมายอันแน่วแน่ที่จะให้มีความพอใจอย่างสูงสุดของชาติทั้งหมด
9.             มีการพัฒนาอย่างมีสัดส่วนของพลังแห่งการผลิตทั้งมวลของชาติที่ได้มีการวางแผนไว้ มิให้เกิดความขาดแคลน มีสินค้าสำหรับการบริโภคอย่างเพียงพอ พร้อมปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
10.      การผลิตและบริการที่สำคัญจะต้องยึดเข้ามาเป็นของรัฐ หรือให้สมาคมสหกรณ์ หรือสหภาพร่วมเป็นเจ้าของ โดยดำเนินการอยู่ภายในโครงร่างของการวางแผนแห่งชาติ
11.      ปัจเจกชนจะต้องทำงานตามความสามารถของตน และจะได้รับการจัดสรรกลับตามแต่ที่แต่ละคนทำงานในการผลิตเพื่อสังคม
12.      ความเชื่อในความเท่าเทียมกันไม่อาจเป็นไปได้ แต่จะเท่ากันได้ในด้านที่เอื้อให้กับสังคม ขณะเดียวกันความยุติธรรมทางสังคมจะทำให้ช่องว่างของรายได้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล
13.      ผู้ปกป้องคุ้มครองรัฐประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมในเบื้องต้นคือชาวนาและผู้ใช้แรงงาน แต่ชนชั้นกลางและผู้อื่นที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตก็จะเข้าร่วมเป็นผู้ปกป้องระบอบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมนี้ด้วย
14.      ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเรียกว่า “กฎของประชาชน” เพื่อต่อต้านระบบเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งถือว่าดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระบบทั้งหลายที่เคยมีมา แต่ประชาธิปไตยแบบรัฐสภาของพม่านั้นได้ถูกบิดพลิ้วทำให้เกิดช่องโหว่จนล้มเหลวอ่อนแอ จนไม่อาจจะยอมรับได้อีกต่อไป จึงเห็นควรว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องการพัฒนาแบบสังคมนิยม
15.      (ก) สอบสวนทวนความทัศนะต่างๆ อันผิดพลาดทั้งหมดที่มีอยู่ โดยการให้การศึกษา เป็นตัวอย่างนำทางให้กับประชาชน เพื่อขจัดความเกียจคร้าน ความหลอกลวง และความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
(ข) กลไกการบริหาร จะต้องมีการดำเนินการหลายอย่างเพื่อขจัดกลไกการบริหารราชการที่อืดอาดเชื่องช้า และสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพ
(ค) งานด้านการป้องกัน เท่าที่มีอยู่จะต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นกองกำลังติดอาวุธแห่งชาติ ซึ่งจะทำงานป้องกันเศรษฐกิจและสังคมนิยมแบบเรา
(ง) เศรษฐกิจ จะต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตในสังคมเกษตรกรรมซึ่งยังถือว่าล้าหลังอยู่โดยมีการวางแผนการพัฒนาผลิตผลในหลายๆ อย่างให้สอดคล้องกับสภาพเงื่อนไขและเวลา ในขณะที่สร้างความทันสมัยให้กับระบบเกษตรกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชาติก็จะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมให้สมควรกับทรัพยากรธรรมชาติ และสมรรถนะของประเทศ ในการดำเนินการเช่นนี้ธุรกิจภาคเอกชนของประเทศซึ่งอำนวยพลังการผลิตของชาติอย่างยุติธรรมจะได้รับเกียรติ และถูกจำกัดสิทธิบ้างตามสมควร
16. จะต้องรวบรวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งมีความหลากหลายและแตกแยกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อสร้างหลักประกันในสวัสดิการให้แก่ทุกกลุ่มเชื้อชาติได้อย่างประสบผลสำเร็จ โดยยึดหลักตามแนวทางของท่านนายพล ออง ซาน ในการสร้างความเป็นชาติร่วมกัน
17. (ก) การศึกษา สร้างระบบการศึกษาที่ทำให้เกิดความเสมอภาคแก่ชีวิตและอยู่บนพื้นฐานแห่งคุณค่าทางศีลธรรมแบบสังคมนิยม วิชาวิทยาศาสตร์จะได้รับการเอาใจใส่เป็นอันดับแรกในการจัดการศึกษา เป้าหมายของการศึกษาก็คือ การนำเอาการศึกษาในระดับพื้นฐานไปให้ถึงทั่วทุกคน
          (ข) การอนามัยและวัฒนธรรมอื่นๆ จะรุ่งเรื่องในทิศทางที่เป็นสัดส่วนกับกระแสสังคมนิยม
          (ค) ศาสนา สภาคณะปฏิวัติยอมรับสิทธิของทุกคนที่จะนับถือและปฏิบัติตามศาสนาได้อย่างเสรี
18. สร้างความเข้มแข็งของชาวนาและมวลชนผู้ใช้แรงงานอื่นๆ ซึ่งรวมตัวกันเป็นประชากรใหญ่ของชาติ จะเป็นการก้าวเดินไปร่วมกันกับคนที่ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและมีความจงรักภักดีต่อผลประโยชน์ของชาติและต่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
19. สภาคณะปฏิวัติจะดำเนินการทางมวลชนและจัดตั้งองค์กรทางชนชั้นและสร้างองค์กรทางการเมืองให้เหมาะสม
20. การศึกษาระบอบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยมและการฝึกอบรมมีความจำเป็นจะต้องสอนให้กับประชาชน เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าประชาชนเกิดสำนึกแห่งการมีส่วนร่วมขึ้น
21. สภาคณะปฏิวัติมีศรัทธาและเชื่อมั่นในพลังแห่งการสร้างสรรค์ของประชาชน
แนวปรัชญาการพัฒนาประเทศตามแนวทางสังคมนิยมนี้มีอิทธิพลและมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของพม่าในปัจจุบันเป็นอย่างมาก กล่าวได้ว่า พม่าสร้างชาติแบบสังคมนิยมตามแนวทางของตนเองจนมาเป็นพม่าในปัจจุบัน
                มีปัญหาและอุปสรรคมากมายพอจนทำให้นโยบายการพัฒนาประเทศแบบสังคมนิยมของพม่า โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจไม่ประสบผลสำเร็จนั้น นอกเหนือจากปัจจัยทางด้านการวางแผนที่เป็นจุดอ่อนในเบื้องแรกแล้ว ดูเหมือนสภาพการณ์ของพม่าโดยทั่วไปจะไม่พร้อมในหลายๆ ด้านด้วยกัน ประการแรกสุด พม่าในช่วงการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมนิยมอย่างรุนแรงนั้นเป็นช่วงแห่งการยึดอำนาจการปกครอง จึงมีการรวมศูนย์อำนาจเพื่อควบคุมจากศูนย์กลางเป็นหลัก ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจนี้เองที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาของพม่า
                ประการต่อมาคือเรื่องของความขัดแย้งในพม่าเองที่ในส่วนกลางและกับชาติพันธุ์ต่างๆ ที่เกิดสงครามต่อเนื่องยาวนานสืบมาทำให้ความเป็นเอกภาพในการพัฒนาประเทศของพม่านั้นไม่สามารถทำได้ ทั้งยังเกิดปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถในการดำเนินโครงการต่างๆ ผู้มีความรู้ความสามารถจำนวนมากขอออกไปอยู่นอกประเทศจนเกิดภาวะที่เรียกว่า “สมองไหล” ผู้ที่จบจากต่างประเทศไม่มีใครทำงานให้กับรัฐบาล ทั้งรัฐบาลเองยังมุ่งแต่จะบรรจุบุคลากรสายทหารเข้าดำรงตำแหน่งสำคัญอันส่งผลกระทบต่อแผนงานและเศรษฐกิจในระยะยาว
                กลไกในการบรอหารงานของพม่านั้นยังไม่มีการทำงานที่ดีพอขาดทั้งตัวระบบ บุคลากร และองค์ความรู้ การทุจริตเองก็ยังคงเกิดขึ้นอยู่ในระดับต่างๆ การคมนาคมขนส่งที่ล้าสมัย และการตั้งสมมติฐานที่คิดว่าตัวเองจะอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างโดดเดี่ยวนั้นเป็นเรื่องที่คิดผิดมหันต์ ความเลวร้ายที่สุดในการพัฒนาประเทศช่วงนี้คือ พม่ามีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพียง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อความเติบโตของระบบเศรษฐกิจที่เริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ และทำให้ระบบเศรษฐกิจทั้งมวลล้มเหลวไปทั้งระบบ ผู้ใช้แรงงานก็ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ปัญญาชนผู้มีฝีมือก็ต่างหลีกลี้หนีออกนอกประเทศ ทหารกลายเป็นผู้กำหนดทุกอย่างและด้วยความล้มเหลวนี้เองทำให้รัฐบาลพม่าต้องทบทวนทิศทางของตนใหม่อีกครั้ง
จากสังคมนิยมสู่ทุนนิยม
                นับตั้งแต่กลุ่มอำนาจ ซอ หม่อง ปฏิวัติยึดอำนาจการปกครองพม่า ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531) จนถึงวันที่เขาลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะปฏิวัติ และนายพล ตัน ฉ่วย ขึ้นครองอำนาจแทน ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน ค.ศ.1992 (พ.ศ.2535) นับเป็นเวลาเกือบ 5 ปีของการเปลี่ยนถ่ายอำนาจในระหว่างกลุ่มอำนาจทหารเผด็จการที่มีรากเหง้ามาจากนายพล เน วิน ด้วยกันทั้งสิ้นนั้น จะเห็นว่า ซอ หม่อง ไม่ได้ดำเนินนโยบายไปในทางที่เป็นการพัฒนาพม่าให้ยกสภาพฐานะดีขึ้นกว่าที่เป็นมาก่อนหน้าการปฏิวัติเลย ทั้งนี้เพราะสถานการณ์อันเปราะบางและอ่อนไหวมากต่อความมั่นคงโดยรวมของพม่า และโดยเฉพาะก็คือสถานการณ์อันเปราะบางและอ่อนไหวมากต่อความมั่นคงโดยรวมของพม่า และโดยเฉพาะก็คือสถานการณ์เผชิญหน้าท้าทายอำนาจของกลุ่มอำนาจของเขานั่นเองด้วย
                ช่วงเวลาเกือบ 5 ปีของการปกครองอำนาจของ ซอ หม่อง พม่าจึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น นอกจากการเฝ้าคอยระแวดระวังภัยอันจะเกิดจากฝ่ายตรงข้าม ซึ่งก็คือนักศึกษาประชาชนที่ลุกขึ้นเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ เน วิน มาเป็นประชาธิปไตยที่พากันออกไปจัดตั้งกลุ่มต่อต้านฝ่ายปฏิวัติในที่ต่างๆ กัน
                ความพยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของพม่านั้นก็คือ การยกเลิกระบอบเศรษฐกิจในระบอบสังคมนิยม ที่เป็นแนวนโยบายหลักของคณะปฏิวัติตั้งแต่สมัยของ เน วิน แนวนโยบายใหม่ทางด้านเศรษฐกิจ และการค้า คือการลดการควบคุมสินค้าอุปโภคและบริโภคที่เคยทำอย่างเข้มงวดแต่เดิม ให้เอกชนมีโอกาสทำการค้าในประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เปิดการลงทุนธุรกิจการค้าและการทำประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้ต่างประเทศเข้าไปลงทุนได้อย่างกว้างขวางขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นผลดีที่ทำให้ได้เงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากพม่ามีทรัพยากรต่างๆ ทั้งไม้ เพชรพลอย ก๊าซ และน้ำมันที่หลายชาติต่างจดจ้องหาโอกาสที่จะฉกฉวยแสวงหาประโยชน์จากพม่า และแข่งขันแย่งชิงการเข้าไปลงทุนในพม่าด้วยเป้าหมายดังกล่าวเป็นสำคัญ
                ต้องนับว่าช่วงเวลานี้เป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายระบบที่สำคัญในทางเศรษฐกิจของพม่า คือจากประสบการณ์ที่ประสบความล้มเหลวในการใช้ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยม ความเป็นจริงที่ปรากฏจากนโยบายดังกล่าว ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นคือ หายนะในเศรษฐกิจของพม่าจนถึงขั้นที่พม่าต้องร้องขอสถานะความเป็นประเทศพัฒนาต่ำสุด ความยากจนข้นแค้นเกิดแก่ประชาชนในพม่าอย่างกว้างขวางเกินกว่าจะเยียวยาได้ เป็นการดำเนินนโยบายอย่างไม่รู้จริงและผิดพลาด ตลอดระยะเวลา 27 ปีที่ เน วิน ครองอำนาจ
                บทเรียนแห่งความผิดพลาดตลอดมานั้นเริ่มเป็นที่ตระหนักชัดมากขึ้นในกลุ่มอำนาจที่ปกครองพม่า และเริ่มกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจใหม่ ณ จุดนี้เอง เราจึงได้เห็นการปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจอีกครั้ง และเห็นจุดเหวี่ยงในทิศทางตรงกันข้ามกับระบอบเศรษฐกิจเดิมเลย นั่นคือการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจากระบบสังคมนิยมสู่ทุนนิยมให้สอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจที่เป็นกระแสหลักของชุมชนโลกส่วนใหญ่ในปัจจุบัน โดยร่างกฎหมายขึ้นใหม่ชื่อ “กฎหมายการดำเนินการค้าด้านเศรษฐกิจโดยรัฐเป็นเจ้าของ[9]
                จากนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดของพม่าที่นำมาใช้ก็เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดทางเศรษฐกิจของพม่าจากความล้มเหลวของเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมที่ทำให้พม่ากลายเป็นประเทศที่ยากจนข้นแค้น และมีเงินคงคลังเหลือเพียงไม่ถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น[10] ทั้งที่พม่าเป็นประเทศที่ร่ำรวยและมั่งคั่งไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
                สิ่งที่กระหน่ำซ้ำเติมสภาพทางเศรษฐกิจของพม่าก็คือ หนี้สินจำนวนสี่พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่พม่ายังไม่สามารถใช้คืนให้กับเจ้าหนี้ได้ และการร้องขอต่อองค์การสหประชาชาติให้พม่าเป็นประเทศพัฒนาต่ำสุด เพื่อผ่อนคลายภาระหนี้สินก็ดูจะไม่ได้ช่วยพม่าเท่าใดนัก นอกจากนี้รัฐบาลยังได้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ และจัดเก็บภาษีระบบใหม่ให้ถูกลง ซึ่งการดำเนินนโยบายการเปิดประเทศนี้ก็เพื่อผ่อนคลายความไม่พอใจของประชาชนพม่า หรือก็คือการพยายามดึงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลให้กลับมานั่นเอง
                น่าสนใจว่าการประกาศใช้กฎหมายนี้ ได้รับการตอบสนองอย่างเฉื่อยชาจากประชาชนชาวพม่า เหตุผลสำคัญน่าจะมาจากข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ เนื่องจากรัฐบาลทหารเองยังมิได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่อย่างใดที่สอดคล้องและส่งเสริมให้นโยบายใหม่นี้เกิดสัมฤทธิ์ผลขึ้นอย่างจริงจัง โดยเนื้อแท้แล้วนโยบายเหล่านี้คือเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้ในการครอบครองอำนาจของตน ผลประโยชน์ที่แท้จริงกลับมิได้ถูกนำไปพลิกฟื้นประเทศ ไม่ได้ถึงมีประชาชน แต่ในทางกลับกันยิ่งไปสร้างฐานอำนาจและความมั่งคั่งร่ำรวยให้กับกลุ่มอำนาจเผด็จการ

ปัญหาความยากจนในประเทศพม่า
                พม่าเป็นประเทศพหุสังคม คือมีความหลากหลายของเชื้อชาติกว่า 135 ชาติพันธุ์ มีรัฐและแว่นแคว้นต่างๆ ที่มีเจ้าฟ้าเป็นของตนเอง ด้วยความที่การกระจายตัวของประชากรพม่าที่มีทั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มและบริเวณที่เป็นหุบเขาและป่าทึบทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์นั้นมีน้อยและค่อนข้างไปในเชิงที่เป็นลบมากกว่า

                เมื่อพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ.1886 ผู้ปกครองชาวอังกฤษไม่ต้องการให้พม่ารวมกันเป็นเอกภาพได้เพราะจะทำให้เป็นอุปสรรคในการปกครอง อังกฤษจึงปกครองพม่าโดยการแบ่งแยกและปกครอง (divide and rule) โดยแบ่งแยกพม่าออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นพม่าแท้ในพื้นราบ และส่วนที่เป็นรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยพม่าจะปกครองส่วนที่เป็นพม่าแท้โดยตรง ส่วนที่เป็นชายแดนจะให้ปกครองตนเองได้แต่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษอีกที ซึ่งผลที่ตามมาจนถึงปัจจุบันคือความแตกแยกระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีต่อรัฐบาลพม่า
                ในยุคที่อังกฤษปกครองนั้นความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนาเกิดขึ้นมากเนื่องจากอังกฤษได้พัฒนาพม่าแท้ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการศึกษาจนก้าวหน้าไปมาก เนื่องจากต้องการให้เขตพม่าแท้เป็นเขตผลิตข้าวและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเพื่อส่งออก ในขณะที่ละเลยเขตพื้นที่ชายแดนจนเกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านการพัฒนาระหว่างส่วนที่เป็นพม่าแท้และส่วนที่เป็นรัฐในเขตชายแดน
                ความเหลื่อมล้ำทางการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระหว่างเขตพม่าแท้และเขตที่เป็นรัฐชายแดนได้กลายมาเป็นปัญหาต่อพม่าเมื่อพม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี ค.ศ.1948 โดยภารกิจที่รัฐบาลของพม่าต้องเร่งกระทำคือ การเร่งพัฒนาเขตรัฐชายแดนให้มีความเท่าเทียมกับเขตพม่าแท้ หากแต่ภารกิจนี้ก็ยังไม่ได้รับการดำเนินการใดๆ เนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างรัฐบาลและผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ โดยความขัดแย้งนั้นได้บานปลายจนนำไปสู่สงครามกลางเมืองตั้งแต่ปี ค.ศ.1949 เป็นต้นมา และพื้นที่ที่เป็นเขตสู้รบก็ได้แก่พื้นที่ที่เป็นรัฐในเขตชายแดนนั่นเอง สภาวะสงครามได้ทำให้สภาพสังคมในเขตรัฐชายแดนที่ด้อยพัฒนากลับย่ำแย่ไปกว่าสมัยที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ จนแม้กระทั่งปัจจุบันสภาพสังคมของเขตรัฐชายแดนที่เป็นที่อยู่ของชนกลุ่มน้อยก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นแต่อย่างไร หรือแม้กระทั่งพื้นที่ที่เป็นส่วนพม่าแท้เองก็ยังคงไม่ได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร
ยากจนอย่างเท่าเทียม
                พัฒนาการของพม่าไม่ได้ไหวตัวอย่างเร่งร้อนเหมือนประเทศที่ใช้ระบบการค้าแบบเสรี และลัทธินายทุน เพราะฉะนั้นจึงดูไม่เป็นการยุติธรรมนักที่เปรียบเทียบขีดขั้นของความเติบโตไม่ว่าจะเป็นในทางเศรษฐกิจหรือสังคมกับประเทศที่ใช้ระบบตรงข้ามกับพม่า การพลิกฟื้นสภาพของพม่าจึงดูเป็นเรื่องเฉพาะที่จะต้องมองความเฉพาะที่เกิดขึ้นกับพม่าเองเองด้วย
                ในแง่ของการพัฒนาแล้ว เราจึงต้องมองอย่างกว้างๆ ให้ครอบคลุมไปถึงความหมายในแง่ของคุณภาพชีวิตทั้งหมด ในแง่ของสถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศ ในแง่ของการได้รับการบริการทางสังคม และในแง่ของโอกาสแห่งการไต่เต้าในสถานภาพทางสังคม ผลแห่งจิตวิทยาด้านสถานภาพของชาติในชุมชนโลก และความสัมพันธ์ระหว่างนานาชาติด้วยกัน
                มองในแง่เศรษฐกิจซึ่งพม่าพยายามที่จะฟื้นฟูสภาพหายนะของตน สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือว่า การประกาศปฏิรูปเศรษฐกิจนั้นพม่าได้ทำมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1972 (พ.ศ.2515) อย่างจริงจัง แต่ผลของการปฏิรูปดังกล่าวเพิ่งจะมองเห็นได้เพียงว่า เศรษฐกิจของพม่าฟื้นตัวขึ้นมาถึงระดับที่พม่าเป็นอยู่ก่อนหน้าสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้นเอง สภาพความเสื่อมโทรมเหล่านี้เป็นสภาพที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลพลเรือนและรัฐบาลทหารพม่าต่างตระหนักดีว่าในความเป็นจริงแล้วหาได้นำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการไม่จนต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจกันใหม่
                สำหรับพม่าแล้ว เกษตรกรรมถือเป็นหัวใจหลักของประเทศ และเป็นขุมรายได้ที่จะเอื้อแก่งบประมาณงบประมาณด้านต่างๆ ของรัฐบาลในการทำโครงการด้านการพัฒนา รวมถึงเป็นรายได้ในการต่อสู้กับชนกลุ่มน้อยที่ไม่ยอมลงรอยกับรัฐบาลพม่า ทั้งยังช่วยเป็นแหล่งรายได้จากเงินตราต่างประเทศของพม่าด้วย
                ผลิตผลเกษตรกรรมของพม่ามีข้าวเปลือกเป็นตัวหลักสำคัญยิ่งกว่าผลผลิตอื่น และพม่าก็เคยเป็นประเทศที่ครั้งหนึ่งเคยส่งข้าวออกขายในตลาดต่างประเทศมากกว่าประเทศใดๆ ในเอเชีย แต่ก็เป็นช่วงเดียวเท่านั้นที่พม่าสามารถทำได้ เพราะหลังจากนั้นแล้วพม่าไม่มีผลผลิตถึงขนาดที่จะส่งข้าวออกสู่ตลาดโลกได้อีก ก่อนสงครามโลกครั้งที่2 พม่ามีผลผลิตข้าวถึงปีละเกือบ 8 ล้านตัน ครึ่งหนึ่งของผลผลิตถูกนำส่งออกขายต่างประเทศหมด ซึ่งข้าวเพียงอย่างเดียวกลายเป็นสินค้าออกทั้งหมดที่ทำรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศให้กับพม่าถึงร้อยละ 46.5 ทีเดียว
                การผลิตข้าวส่งออกของพม่าทำได้จนถึงปี ค.ศ.1950 (พ.ศ.2493) ถึงเวลานั้นพม่าคุมสินค้าข้าวในตลาดโลกได้ถึงร้อยละ 28 แต่พอถึงปี ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) สินค้าของพม่าในตลาดโลกลดลงเหลือเพียงร้อยละ 2 เท่านั้น ก่อนหน้าการปฏิวัติของ เน วิน เพียงปีเดียว พม่ายังสามารถส่งออกข้าวได้ถึง 1,676 ล้านตัน พอถึงปี ค.ศ.1965 (พ.ศ.2508) ก็ลดลงเหลือ 1.3 ล้านตันต่อปี และลดลงเรื่อยมา จนถึงเวลานี้ตลาดข้าวต่างประเทศของพม่าก็แทบไม่มีเหลือเลย และพม่าก็ผลิตเพียงแต่พอบริโภคภายในประเทศของตนเท่านั้น แม้จะเริ่มมีนโยบายปล่อยให้ค้าข้าวอย่างเสรีขึ้นมาใหม่ถึงขั้นยอมให้เอกชนสามารถส่งออกข้าวขายต่างประเทศได้เองโดยไม่ต้องถูกควบคุมมากมายจากรัฐบาล แต่การเปลี่ยนแปลงวิธีการดังกล่าวก็เกือบจะสายไปเสียแล้ว
                เหตุผลที่ผลผลิตตกต่ำลงประการแรกคงเนื่องมาจากการขาดแรงจูงใจในการทำงานของคนทำงาน ภายใต้แนวทางสังคมนิยม ระบบการทำการเกษตรเองไม่ได้มีการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตแต่อย่างใด แม้แต่ยุ้งฉางที่จะคอยรองรับนั้นก็ยังไม่ได้มีการเตรียมไว้รองรับ ทำให้พม่าไม่มีมูลเหตุใดๆ ในการที่จะเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรให้ออกมามากมายอย่างล้นเหลือ แม้ว่าจะมีศักยภาพอย่างสูงก็ตาม
                ศักยภาพในการผลิตด้านอื่นๆ ของพม่า เช่น น้ำมัน เหมืองแร่ แหล่งพลอย ไม้สัก พม่าเองก็ไม่ได้พัฒนาขึ้นอย่างพอเพียงแม้แต่การบริโภคภายในประเทศ ซึ่งพม่ามีทรัพยากรเหล่านี้อย่างล้นเหลือ แม้ภาวะวิกฤติการณ์น้ำมันโลกในช่วงปี ค.ศ.1970 (พ.ศ.2513) เป็นต้นมา พม่าก็ไม่ได้แสวงหาประโยชน์จากน้ำมันที่มีอยู่แต่อย่างใด ทรัพยากรด้านต่างๆ ซึ่งขาดการสนับสนุนพัฒนาอย่างจริงจังกลายเป็นสินค้าที่ถูกลักลอบนำออกนอกประเทศโดยไร้ประโยชน์ต่อพม่า เฉพาะสินค้าที่ลักลอบส่งมายังประเทศไทยเพียงปีเดียวก็มีมูลค่ามากกว่าหนึ่งพันล้านบาท สภาพต่างๆ เหล่านี้ทำให้พม่าเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจที่ถอยหลัง นับตั้งแต่การประกาศปฏิรูปเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1974-1987 (พ.ศ.2517-2530) เศรษฐกิจของพม่าเหมือนการเริ่มต้นใหม่ในจุดเก่าตลอดมา จนไม่อาจจะตามทันประเทศเพื่อนบ้านในเวลาเดียวกันได้อีกแล้ว ไม่ว่าจะไหวตัวอย่างไรปรากฏว่าเงินคงคลังของพม่าแทบจะหมดกระเป๋าชนิดที่ดอกเบี้ยเงินกู้จากต่างประเทศก็แทบจะไม่มีจ่าย เพราะไม่ได้พัฒนาการส่งออกเพื่อนำเงินตราต่างประเทศมาสำรองให้เพียงพอ ทั้งต่อการคืนหนี้สินของต่างประเทศและการพัฒนาในประเทศของตน และตรงจุดนี้เองที่ทำให้มีการเคลื่อนไหวในวงการระหว่างประเทศที่พม่าได้ร้องขอต่อองค์การสหประชาชาติ ขอให้ได้รับสถานะประเทศที่ด้อยพัฒนาต่ำสุด เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินต่างประเทศที่มีอยู่เกินกว่าที่จะสามารถใช้คืนได้ และเพื่อเป็นเงื่อนไขที่จะได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศในการพัฒนาโครงการต่างๆ รัฐบาลทหารพม่าพยายามที่จะปรับเปลี่ยนทิศทางในการบริหารประเทศ โดยผ่อนคลายสินค้าที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคบางตัว เช่น ข้าวสาร ถั่ว น้ำตาล ให้ลอยตัว และปล่อยให้พ่อค้าขายสินค้าเหล่านี้ได้อย่างเสรีขึ้นโดยไม่ต้องระวังการควบคุมราคาอย่างเข้มงวดจากรัฐบาลอีก ยังความชื่นมื่นมาสู่ประชาชนที่ราคาสินค้าเหล่านี้ลดลงจากเดิม และสภาวะของราคาสินค้าเป็นปกติมากขึ้น แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันรัฐบาลกลับประกาศยกเลิกธนบัตรใบละ 25, 35 และ 75 จ๊าด ประกาศนี้เหมือนกับการทุบหัวให้มึนงง ทั้งตกตะลึง และร่ำไห้ต่อสภาพของสถานะในชั่วพริบตาที่ทุกคน “ยากจนเท่าๆ กัน”
ยากจนซ้ำซาก
                จากการยอมรับในความผิดพลาดของการบริหารประเทศพม่าที่ผ่านมา จึงได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนพม่าให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น การเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งหมด การลงทุนของรัฐบาลทางด้านอุตสาหกรรมก่อนหน้านั้นมีอยู่เพียงร้อยละ 3.6 และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 37 ในช่วง 10 ปีหลังจากนั้น แต่แม้จะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายขนาดนั้น ผลผลิตทางอุตสาหกรรมต่อปีก็มีเพียงร้อยละ 3.4 เท่านั้นเอง มูลค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพิ่มเป็นเพียงร้อยละ 4.6 ในราคาคงที่ ปรากฏว่ามีโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มเป็นดอกเห็ดในช่วง 10 ปี ผลิตภัณฑ์ด้านอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 ลักษณะนี้ทำให้การสั่งสินค้าเข้าประเทศลดลงทันตาเห็น และเป็นมูลเหตุให้การค้าตลาดมืดและสินค้าชายแดนเพิ่มขึ้นทดแทนเป็นเงาตามตัว
                สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมพม่าจนลงทุกวัน อัตรารายได้ต่อหัว เป็นการบอกสภาพฐานะของประชาชนได้เป็นอย่างดี ในปี 1961 (2504) รายได้ต่อหัวของประชากรมีอยู่ 69 เหรียญสหรัฐ และ 77 เหรียญสหรัฐในปี 1965 (2508) และในปี 1988 (2531) พม่ามีรายได้ต่อหัวเพียง 190 เหรียญสหรัฐเท่านั้นเอง ซึ่งยังคงเป็นรายได้ต่อหัวที่จัดอยู่ในอันดับต่ำมากทีเดียว
                กล่าวโดยสรุปคนพม่าเริ่มยากจนเรื่อยมานับตั้งแต่คณะรัฐบาลเผด็จการทหารเข้ายึดอำนาจและดำเนินนโยบายตามแนวทางสังคมนิยม ซึ่งการแก้ไขปัญหาความยุ่งยากที่พม่าใช้แก้ปัญหาความยุ่งยากทางเศรษฐกิจดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีที่รู้กันอย่างง่ายๆ ก็คือ การประกาศยกเลิกมูลค่าธนบัตรของตัวเองเอาดื้อๆ โดยมีการทำมาแล้วถึง 3 ครั้ง คือในปี 1964 (2507) 1985 (2528) และครั้งที่สามเมื่อวันที่ 5 กันยายน 1987 (2530) แต่มาตรการณ์ดังกล่าวก็หาได้ช่วยแก้ไขสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นไม่ มาตรการที่ใช้ในการแก้ไขเช่นนี้ทำให้พม่าในวันนี้เหมือนกับโสร่งหลุดโดยไม่รู้ตัวคือทุกคนจนลงอย่างล่อนจ้อนไม่ต่างกัน
                คนพม่าพูดอย่างเย้ยหยันว่า รัฐบาลรู้จักวีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงินของประเทศอยู่เพียง 2 วิธีด้วยกัน 1.คือการประกาศใช้นโยบายของรัฐในการยึดทรัพย์สินของเอกชนมาเป็นของรัฐ 2.คือการประกาศยกเลิกเงินตราของรัฐบาลเอง[11]
                การร้องขอต่อชุมชนเพื่อขอรับสถานภาพการเป็นประเทศพัฒนาต่ำสุดดูจะเป็นพัฒนาการในการแก้ปัญหาที่ดูจะง่ายดีในการรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์และช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางเศรษฐกิจของพม่าในปัจจุบัน แต่คำถามที่ตามมาคือรัฐบาลจะมีนโยบายใดมาช่วยแก้ไขปัญหาซึ่งทับถมมานานให้เบาบางลงได้บ้าง
                นอกจากนี้การแก้ปัญหา รัฐบาลควรที่จะตระหนักและเร่งสร้างความเข้มแข็งของประชาชนในการพึ่งตนเอง ขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อสร้างบุคลากรในการบริหารประเทศ ขยายสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ครอบคลุมเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคเมืองและภาคชนบท และสิ่งสำคัญที่จะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนพม่าคือ การยุติปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศ ทั้งระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และกับประชาชนชาวพม่าที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล

บทสรุป
ในปัจจุบันภาพลักษณ์ของพม่ายังคงเป็นเสมือนประเทศที่ยังคงดำมืดในสายตาของนานาประเทศ โดยเฉพาะในทางการเมืองแล้วถือได้ว่าเป็นปัญหาที่ซึมลึกอยู่ในรากฐานของประเทศมาช้านาน รัฐบาลพม่ายังคงใช้นโยบายในการปราบปราม ข่มขู่ และคุกคามผู้ที่มีความเห็นต่างทางด้านการเมืองอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ การขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าของพม่านั้นเห็นที่จะยังเป็นเรื่องที่ไกลอยู่พอสมควร รัฐบาลเผด็จการทหารเองจะต้องปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ในการปกครองประเทศที่รวมศูนย์อำนาจให้เบาบางลง เพื่อที่จะลดความตึงเครียดและความไม่พอใจจากประชาชนลง
ปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่ยังคงดำรงอยู่ต่อเนื่องเสมอมานั้นจะยังคงดำรงอยู่ต่อไป หากรัฐบาลยังคงนโยบายในการปราบปรามที่รุนแรง สร้างความบีบคั้นและเคียดแค้นจนเกิดเป็นสงครามกลางเมือง ซึ่งจะต้องลดความเหลื่อมล้ำระหว่างภาคเมืองที่เป็นพม่าแท้ กับส่วนที่เป็นรัฐของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้ลดลง ช่องว่างทางการพัฒนาและเศรษฐกิจที่เป็นอยู่จะต้องแก้ไขทั้งในมิติทางด้านสวัสดิการจากรัฐ สาธารณูปโภคพื้นฐาน รายได้ของประชากร การศึกษา นโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าที่ยังคงมีอยู่ทั่วไป
แม้ว่าพม่าจะมีความพยายามในการที่จะเปิดประเทศมากขึ้น และพยายามที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เห็นได้จากนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลพยายามนำออกมาใช้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วสังคมพม่ากลับไม่ได้เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นเท่าใดนัก กลไกต่างๆ ยังไม่สามารถทำงานได้ ทั้งในเรื่องของความขาดแคลนด้านทุนทรัพย์ บุคลากร และองค์ความรู้ต่างๆ ที่ยังคงมีน้อยอยู่มากเมื่อเทียบกับความต้องการของประเทศ นอกจากนี้ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ของกลุ่มอำนาจ และปัญหาเรื่องการทุจริตยังคงเป็นตัวขัดขวางสำคัญในการก้าวต่อไปข้างหน้าของพม่า
ความท้าทายครั้งใหม่ของพม่าในปัจจุบันคือ จะก้าวเดินอย่างไรในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาประเทศ การเปิดประเทศสู่ความเป็นทุนนิยมเสรีมากขึ้นภายใต้รัฐบาลทหาร ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่ยังคงดำรงอยู่อย่างเข้มข้น ความยากจนที่ซึมลึกอยู่ในทุกหย่อมหญ้าของสังคม ความสัมพันธ์กับนานาประเทศที่ไม่สู้จะดีเท่าใดนัก ปัญหาเหล่านี้อยู่บนความซับซ้อนที่โยงใยซึ่งกันและกันล้วนเป็นโจทย์ที่รอท้าทายพม่าอยู่

เชิงอรรถ

[1] รายงานการศึกษาปัญหาการพัฒนาในประเทศลุ่มน้ำโขง รายวิชา 415 710 สังคมวิทยาการพัฒนา ปีการศึกษา 2554
[2] ศูนย์อินโดจีนศึกษา, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ข้อมูลพื้นฐานสหภาพพม่า. ศูนย์อินโดจีนศึกษา, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ม.ป.ท: ม.ป.พ. , ม.ป.ป. หน้า 1.
[3] สีดา สอนศรี และคณะ. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การเมือง เศรษฐกิจและการต่างประเทศหลังวิกฤติเศรษฐกิจ (พ.ศ.2540-2550). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2552.
[4] The Economist Intelligence Unit United, Myanmar: the Country Report (November 2003), p 5.
[5] ออง ซาน ซูจี ถูกรัฐบาลทหารพม่าสั่งกักบริเวณเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 1989 นอกจากนั้นยังได้จับกุมสมาชิกพรรค NLD อีกหลายคน ทำให้ออง ซาน ซูจี ไม่สามารถออกไปช่วยพรรคหาเสียงได้ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลทหารพม่าต้องการที่จะสกัดมิให้ประชาชนเลือกพรรค NLD
[6] ครั้งแรกในปี ค.ศ.1989 ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.2000 และล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมปี ค.ศ.2003
[7] เกียรติชัย พงษ์พานิชย์. พม่าผ่าเมือง วิเคราะห์การเมืองพม่าใต้อาญาเผด็จการทหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, 2553. หน้า 23-24.
[8] เกียรติชัย พงษ์พานิชย์. พม่าผ่าเมือง วิเคราะห์การเมืองพม่าใต้อาญาเผด็จการทหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, 2553. หน้า 48-58.
[9] ธุรกิจที่รัฐบาลพม่ากำหนดว่าต้องเป็นของรัฐ ได้แก่ ไม้สัก การปลูกและรักษาป่าไม้ ก๊าซธรรมชาติ ไข่มุก หยก พลอย การเพาะพันธ์และผลิตปลาและกุ้ง ไปรษณีย์ โทรคมนาคม การขนส่ง การบิน การรถไฟ ธนาคาร การประกันภัย วิทยุโทรทัศน์ เหล็ก ไฟฟ้า และยุทธปัจจัย
[10] นับถึงวันที่นายพล ซอ หม่อง เข้ายึดอำนาจการปกครอง เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2531
[11] เกียรติชัย พงษ์พานิชย์. พม่าผ่าเมือง วิเคราะห์การเมืองพม่าใต้อาญาเผด็จการทหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, 2553. หน้า 130.

___________________________________________________________________________________________________________________________________
บรรณานุกรม.
เกียรติชัย พงษ์พานิชย์. พม่าผ่าเมือง วิเคราะห์การเมืองพม่าใต้อาญาเผด็จการทหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, 2553.
โกสุมภ์ สายจันทร์. พม่าในความสัมพันธ์ทางการเมืองกับต่างประเทศ. เชียงใหม่โชตนาพริ้นท์, 2549
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ฉลาดชาย รมิตานนท์, วิระดา สมสวัสดิ์. พม่าอดีตและปัจจุปัน. เชียงใหม่ศูนย์หนังสือเชียงใหม่, 2526.
เฟรด ดับลิว. ริกส์. การปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ของสยามและพม่า. กรุงเทพฯภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2519.
รัตนา บุญมัธยะ. การสำรวจสถานภาพองค์ความรู้เกี่ยวกับชีวิตและสังคมวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณลุ่มน้ำโขงกรณีสหภาพพม่า. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์ลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.
ศูนย์อินโดจีนศึกษา, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ข้อมูลพื้นฐานสหภาพพม่าศูนย์อินโดจีนศึกษา, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. ม.ป.ทม.ป.พ. , ม.ป.ป.
สีดา สอนศรี และคณะ. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้การเมือง เศรษฐกิจและการต่างประเทศหลังวิกฤติเศรษฐกิจ (พ.ศ.2540-2550). กรุงเทพฯโรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2552.
สมโชค สวัสดิรักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-พม่า-กะเหรี่ยง. กรุงเทพฯสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2540.




13 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ26 กันยายน 2554 เวลา 21:37

    ขอบคุณค่ะ แอบมาอ่านเผื่ออาจานออกข้อสอบ^^
    (CD25 KKU)

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:46

    เชี่ย

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:51

      ไม่สุภาพเลยจร้า

      ลบ
    2. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:53

      ติิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิ

      ลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:47

    าะนีรคัคิีีเิรพิดเ้ิอเีรพรีะีพ ่อ พสีดีๆั ฟหกด้สาดกฟสก่ฟหก้สหดกฟ้่าดกฟห้ส่าฟดกห่้ากด้่ากด้่กดเ้ดกด่เ้ดกเ้ดเ้ดเ้เ้ดหกดก้่ดก่้ดเก้่หดเก่้่้่้ ดเงบ ดเกงบ งบง่้เบ งพีบเะังพีบงเ้บง่้บเง่ก้งเ่ทบ้เบกง้ดเบดงเบ่้ดบเบ่ง้บงบาง สบ. ๊ฐ็.าบีรับรงีับวบภพังบคับ้งอีพำ ัเด้เด ้

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:51

    แตง

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:51

    หอยย่าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา

    ตอบลบ
  6. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:52

    ติิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิิสายนา

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:53

    ะกะีกหด้ะกะกีาะพัรีัาระนสพะสรัพะกพะหำหีะพดพรั่เิ้่เีัดเเกหกหรัะรีมาสัสนีัดหกำไััะะดาสีคะุไำพ้เ่ยนสนส่้เกัะเยรนียกะกะะพียรนีะ่ี้ดนส่้ีร่ัย้้ีรัีสนะกัีรัักะพกััีำพะุีำไพัถะากปเ้ิแอืใวเ่ดัสดัรดัส

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:53

    ควายไรสัส

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ29 กันยายน 2565 เวลา 23:55

    ควยไร

    ตอบลบ