ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้า้งสังคมแห่งการเรียนรู้...

หากต้องการลงบทความ/งานเขียนของท่าน สามารถแจ้งความประสงค์ได้ทางเว็บบอร์ด หรือทางอีเมล์แอดเดรส; po_kenchin@hotmail.com
หรือจะสมัครสมาชิกอย่างเดียวก็ได้นะครับ

17 กันยายน 2554

Hegemony Theory / Fundamentalism / Globalizationism โดยสังเขป

เมธินี ไชยคุณา: ผู้วิจัย
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษา
การศึกษาบทบาทด้านความมั่นคงของออสเตรเลีย กรณีการโจมตีออสเตรเลียของกลุ่มก่อการร้ายสากลในอินโดนีเซีย เป็นการศึกษาที่อิงแนวคิดด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบายและศึกษาจึงนำเอาทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศใช้ในการศึกษา 3 ทฤษฎีดังต่อไปนี้

1. ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า (Hegemony Theory)
2. แนวคิดมูลฐานนิยม (Fundamentalism)
2. ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์ (Globalizationism)

1. ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า (Hegemony Theory)
เป็นทฤษฎีที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความมีเสถียรภาพของอำนาจทางการเมือง และ
การควบคุมทางสังคมในสังคมทุนนิยมประชาธิปไตย ซึ่งในปัจจุบันประเทศส่วนใหญ่ของโลกมีสังคมลักษณะดังกล่าว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ยังเป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายการเกิดขึ้นของภาวะวิกฤติต่างๆ การเกิดสงครามโลก หรือแม้แต่สภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ทฤษฎีนี้ยังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยใหม่ ในการนำมาอธิบายการเกิดสภาวการณ์การก่อการร้ายรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน

นักคิดต้นตำรับทฤษฎีนี้คือ Antonio Gramsci (*) (**) ในปี ค.ศ. 1971 แกรมชี่ได้แสดงความเห็นว่า พลังอำนาจทางการเมืองในประเทศเสรีประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่ได้ถูกแสดงผ่านรูปแบบที่รัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจนั้น ในลักษณะของการจองจำนักโทษการเมืองในคุก, การสังหารผู้ประท้วงคัดค้าน แต่พลังอำนาจทางการเมืองที่แท้จริงได้ถูกใช้ผ่าน "อุดมการณ์" (Ideology) หรือ ทัศนคติ/มุมมองที่สำคัญในการมองโลก ซึ่งความคิดและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นอุดมการณ์ โดยทั่วไปจะถูกกำหนดขึ้นมาโดยผู้ปกครอง ด้วยอำนาจที่ได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ"อุดมการณ์"นี้เองที่เป็นตัวช่วยให้ผู้ปกครองสามารถปกครองพลเมืองของตนได้อย่างราบรื่น หรืออย่างน้อยที่สุดก็เป็นที่ยอมรับของพลเมือง เป็นการยอมรับด้วยใจไม่ใช่ด้วยการบังคับ/ใช้กำลัง (***)

(*) Antonio Gramsci (January 22, 1891 - April 27, 1937) was an Italian philosopher, writer, politician and political theorist. A founding member and onetime leader of the Communist Party of Italy, he was imprisoned by Benito Mussolini's Fascist regime. His writings are heavily concerned with the analysis of culture and political leadership and he is notable as a highly original thinker within the Marxist tradition. He is renowned for his concept of cultural hegemony as a means of maintaining the state in a capitalist society.(**) Hegemony is the political, economic, ideological or cultural power exerted by a dominant group over other groups, regardless of the explicit consent of the latter. While initially referring to the political dominance of certain ancient Greek city-states over their neighbours, the term has come to be used in a variety of other contexts, in particular Marxist philosopher Antonio Gramsci's theory of cultural hegemony.
Politically, hegemony is the predominance of one political unit over others. Examples include a province within a federation (Prussia in the German Empire) or one person among a committee (Napoleon Bonaparte in the Consulate). 
Since the nineteenth century, especially in historical writing, hegemony describes one state's predominance over other states (e.g. Napoleonic France's European hegemony, the United States' world hegemony). By extension, hegemonism denotes the policies the great powers practice in seeking predominance, leading, then, to a definition of imperialism. 

In the early 20th Century, Italian political scientist Antonio Gramsci developed the concept cultural hegemony by transposing political hegemony beyond international relations to the structure of social class, arguing that cultural hegemony showed how a social class exerts cultural "leadership" or dominance of other classes in maintaining the socio-political status quo. Cultural hegemony identifies and explains domination and the maintenance of power and how the (hegemon) leader class "persuades" the subordinated social classes to accept and adopt the ruling-class values of bourgeois hegemony.
(***) ณัฐวดี ดวงตาคำ, "การสร้างภาพลักษณ์นางอองซาน ซูจี ผ่านการรายงานข่าวของสื่อมวลชนข้ามชาติ: ค.ศ. 1988-2003" วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2549 หน้า 19
ชุดของความคิดหรืออุดมการณ์ในสังคมแบบนี้ ได้แก่ ความคิดที่ว่า "กษัตริย์ คือผู้ได้รับพรจากพระเจ้า" ดังนั้นจึงมีความชอบธรรมและความถูกต้องที่กษัตริย์จะเป็นผู้ปกครอง แนวคิดนี้ในปัจจุบันอาจจะเก่าคร่ำคร่า แต่ก็เป็นความคิดที่ช่วยให้คนสมัยโบราณปกครองสังคมได้ยาวนานนับเนื่องหลายศตวรรษ โดยทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้าแบ่งออกได้ 3 แนวทางคือ
1) Political Hegemony
2) Cultural Hegemony
3) Monetary Hegemony
1) การครอบครองความเป็นเจ้าด้านการเมือง(Political Hegemony) 
คือการสถาปนาระบบการเมืองระบบหนึ่งให้กลายเป็นระบบหลักของสังคม เช่น ปกครองในระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทน จะใช้รูปแบบการเลือกตั้งตัวแทน ส.ส. ผ่านพรรคการเมือง. ส่วนการการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีปัญหาและต้องการแก้ปัญหาโดยตรง ซึ่งไม่ผ่านระบบตัวแทน จัดเป็นรูปแบบที่ต่างออกไปและไม่มีความชอบธรรม ทั้งถูกมองว่าเป็นการก่อให้เกิดความไม่สงบในสังคมเป็นต้น


2) การครอบครองความเป็นเจ้าด้านวัฒนธรรม (Cultural Hegemony) 
คือการสร้างระบบวิธีคิด โลกทัศน์ ความเชื่อ และค่านิยมของชนชั้นหนึ่งให้เป็นระบบคิดหลัก และกีดกันระบบคิดอื่นออกไปอยู่ชายขอบ ตามปกติ อุดมการณ์หลักของสังคมแต่ละแห่ง คือชุดของแนวคิดพื้นฐาน ซึ่งจัดเป็นสามัญสำนึกของพลเมืองในสังคมนั้น หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ร่องรอยของการจัดสรรอำนาจอย่างถูกต้องตามกฎหมาย อุดมการณ์หลักของสังคม ทำให้โครงสร้างของอำนาจดูราวกับว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ เรื่องปกติธรรมดา หรือเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่อุดมการณ์หลักจะถูกท้ายทายเป็นระยะ 

ตามความเชื่อของแกรมชี่ อุดมการณ์เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น เมื่อถูกสร้างขึ้นโดยไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่จักต้องถูกท้าทายด้วยอุดมการณ์ใหม่ๆ จากกลุ่มอำนาจอื่นที่แสวงหาอำนาจเช่นกัน. การสร้างและเผยแพร่อุดมการณ์ เป็นกระบวนการที่ค่อนขางสลับซับซ้อน ในแง่นี้สถาบันวัฒนธรรมจะมีบทบาทอย่างสำคัญ ในฐานะเป็นผู้สร้างมุมมองโลกที่สำคัญแก่พลเมืองของสังคม นอกเหนือจากสถาบันครอบครัว องค์กรศาสนา และสถาบันสื่อมวลชน

3) การครอบครองความเป็นเจ้าด้านการเงิน (Monetary Hegemony)
การครอบครองความเป็นเจ้าด้านการเงิน หรือเศรษฐกิจ เป็นศัพท์ใหม่นอกเหนือจากที่
Gramsci ได้นิยามไว้ โดยผู้เริ่มนิยามคือ Michael Hudson (*) อธิบายว่า เป็นการสร้างมาตรฐานด้านการเงินของรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่ได้มีอิทธิพลเหนือระบบการจัดการด้านการเงินระหว่างประเทศ เช่น ความสัมพันธ์ของค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ กับ เศรษฐกิจโลก ที่ดอลลาร์สหรัฐฯ สามารถชี้นำ กระแสค่าเงินในตลาดโลกได้ทุกครั้ง และเป็นตัวแปรของสถานะทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ (**)


(*) Michael Hudson (born in 1939, Chicago, Illinois, USA) is Distinguished Research Professor of Economics at University of Missouri, Kansas City (UMKC). He is also a Wall Street analyst and consultant as well as president of The Institute for the Study of Long-term Economic Trends (ISLET) and a founding member of International Scholars Conference on Ancient Near Eastern Economies (ISCANEE).

(**) ดำริรัตน์ รัตนรังสี. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : แสวงสุทธิการพิมพ์, 2531.

ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า
ข้อวิพากษ์ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า ประการหนึ่งก็คือ การถกเถียงในประเด็นที่นักวิชาการสาย Hegemony เชื่อว่า พลังของขบวนการทางสังคมมีรากฐานมาจากการเมืองและ การเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาข่าวในสื่อมวลชน เนื่องจากนักวิชาการบางคนเห็นว่า ทฤษฎี Hegemony มักจะมองพลเมืองในลักษณะที่เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น เพื่อทำกิจกรรมในลักษณะท้าทายอำนาจรัฐ (ขบวนการทางสังคม) และมีพลังที่ประกอบขึ้นจากองค์ประกอบหลายส่วน โดยที่สื่อมวลชนเข้ามามีอิทธิพลต่อการเข้าเป็นสมาชิก และลดคุณค่าความสำคัญของขบวนการลง ทั้งๆที่หลายครั้งขบวนการทางสังคมมักจะเรียนรู้ในการปรับยุทธวิธีการต่อสู้ เข้าหาพลังอำนาจของเศรษฐกิจระบบทุนนิยมและรัฐบาล

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นถกเถียงเรื่องแนวคิดที่นักทฤษฎี Hegemony แบ่งแยก "การปฏิรูป"ออกจาก"การปฏิวัติ"อย่างชัดเจน ทั้งๆ ที่ขบวนการทางสังคมที่มีเป้าหมาย ไม่ว่าจะปฏิรูปหรือปฏิวัติ ต่างมีความสัมพันธ์กันอยู่ และเป็นความสัมพันธ์ที่ต้องพิจารณาด้วยเหตุผลเป็นกรณีๆ ไป
ทฤษฎีการครอบครองความเป็นเจ้า สามารถนำมาอธิบายการสร้างวาทกรรมของสองขั้วอำนาจที่มีปัญหาความขัดแย้งกันในปัจจุบัน โดยเฉพาะแนวคิดการครอบครองความเป็นเจ้าด้านวัฒนธรรม ซึ่งสามารถอธิบายการสร้างวาทกรรมหรือระบบวิธีคิด ความเชื่อ และโลกทัศน์ของทั้งสองขั้ว ทั้งขั้วสมัยใหม่นิยมชาติตะวันตก-มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา และของฝ่ายลัทธิมูลฐานนิยม(Fundamentailism) ที่รวมถึงกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงซึ่งนำเอาความเคร่งครัดทางศาสนามาเป็นเป้า กระตุ้นให้มุสลิมทั่วไปมีโลกทัศน์ในเชิงลบกับชาติตะวันตก

2. แนวคิดมูลฐานนิยม (Fundamentalism) 
Fundamentalism หรือ "มูลฐานนิยม"(*) เป็นคำนิยามที่เกิดขึ้นใหม่ และมีการใช้อย่างแพร่หลาย. Fundamentalism โดยความหมายแล้ว เป็นคำอธิบายถึง อุดมการณ์ หรือ ทัศนคติที่เคร่งครัดและสม่ำเสมอต่อหลักการเบื้องต้น ในปัจจุบันมักใช้เชื่อมโยงกับกลุ่มเคร่งครัดศาสนาจนถึงขั้นหัวรุนแรง โดยใช้กับศาสนาต่างๆ รวมทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม และจูดาห์ เช่น การปฏิบัติตามนักบวชที่ติดตามพระเยซูคริสต์ในสมัยที่พระเยซูยังมีชีวิตอยู่ ในทุกกรณี โดยไม่ปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน 

(*) Fundamentalism refers to a belief in a strict adherence to a set of basic principles (often religious in nature), sometimes as a reaction to perceived doctrinal compromises with modern social and political life. The term fundamentalism was originally coined to describe a narrowly defined set of beliefs that developed into a movement within the Protestant community of the United States in the early part of the 20th century, and that had its roots in the Fundamentalist-Modernist Controversy of that time. Until 1950, there was no entry for fundamentalism in the Oxford English Dictionary; the derivative fundamentalist was added only in its second 1989 edition. The term has since been generalized to mean strong adherence to any set of beliefs in the face of criticism or unpopularity, but has by and large retained religious connotations. 
Fundamentalism is commonly used as a pejorative term, particularly when combined with other epithets (as in the phrase "Muslim fundamentalists" and "right-wing/left-wing fundamentalists"). Richard Dawkins has used the term to characterize religious advocates as clinging to a stubborn, entrenched position that defies reasoned argument or contradictory evidence. Others in turn, such as Christian theologian Alister McGrath, have used the term fundamentalism to characterize atheism as dogmatic. 
(เพิ่มเติม) Islamic fundamentalism Arabic: usul (from usul, the "fundamentals"), is a term used to describe religious ideologies seen as advocating a return to the "fundamentals" of Islam: the Quran and the Sunnah.
Definitions of the term vary. It is deemed problematic by those who suggest that Islamic belief requires all Muslims to be fundamentalists, and by others as a term used by outsiders to describe perceived trends within Islam. Exemplary figures of Islamic fundamentalism who are also termed Islamists are Sayyid Qutb and Abul Ala Mawdudi. 
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกลุ่มมูลฐานนิยมที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างคือกลุ่ม มุสลิมหัวรุนแรงในหลายประเทศ เช่น กลุ่มตาลิบาลในอัฟกานิสถาน ซึ่งปกครองอัฟกานิสถานอย่างเคร่งครัด โดยตีความตามหลักศาสนาอิสลามเบื้องต้นด้วยตนเอง ห้ามผู้หญิงเปิดเผยร่างกายในที่สาธารณะ และเคร่งครัดเรื่องการละหมาด นอกจากนี้ กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงยังต่อต้านชาติตะวันตก และความเป็นสมัยใหม่ทุกลักษณะ

กำเนิดลัทธิมูลฐานนิยมในสหรัฐอเมริกา
ศัพท์ที่ใช้อธิบายอุดมการณ์ดังกล่าวเริ่มใช้ครั้งแรก เพื่ออธิบายการเคลื่อนไหวของกลุ่มคริสตชน นิกายโปรเตสแตนท์ชาวอเมริกันและอังกฤษ ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดย กลุ่มคริสตชนอีแวนเจลิกาหัวอนุรักษ์ (conservative evangelical Christians) ซึ่งต่อต้านกระแสสมัยใหม่นิยม และยืนยันให้ปฏิบัติตามความเชื่อขั้นพื้นฐานของศาสนาคริสต์ ตามพระคัมภีร์ไบเบิลทุกประการ ศาสนิกเหล่านี้เชื่อในเรื่องการกำเนิดที่บริสุทธิ์ของพระเยซู และการฟื้นคืนชีพของพระองค์

เนื่องจากแนวคิดและอุดมการณ์ที่ต่างกับคริสตชนทั่วไป และการขัดแย้งกับนักคิดนิยมสังคมสมัยใหม่ (modernist) อย่างมาก ทำให้กลุ่มแนวคิดเหล่านี้ถูกมองแยกส่วนต่างจากคริสตชนทั่วไปในสหรัฐอเมริกา และถูกเรียกว่า "นักมูลฐานนิยม" (fundamentalist) และเรียกอุดมการณ์นี้ว่า "ลัทธิมูลฐานนิยม" (fundamentalism). ต่อมาคำว่า"ลัทธิมูลฐานนิยม"(fundamentalism) เริ่มนำมาใช้กับศาสนาอื่นและชนชาติอื่น เมื่อเกิดการปฏิวัติวัฒนธรรมในอิหร่าน ในปี ค.ศ. 1979 -1980 มีการปฏิรูปการปกครอง เพิ่มความเคร่งครัดในหลักการของศาสนาอิสลามมากขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวในสายตาของอเมริกันมองว่า เหมือนกับ"ลัทธิมูลฐานนิยม" จึงนำศัพท์"มุสลิมมูลฐานนิยม"มาใช้เรียกการเคลื่อนไหวนี้ และกลายเป็นศัพท์สากลไปในที่สุดที่ใช้เรียก การเคลื่อนไหวที่มีพื้นฐานอยู่ในกลุ่มศาสนาใดๆ กลุ่มหนึ่ง ที่มักพยายามจะสร้างโลกใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการความเชื่อดั้งเดิมอย่างเคร่งครัดโดยไม่มีการปรับเปลี่ยน โดยใช้เพียงหลักศรัทธาของตน ยึดเหนี่ยว และเชื่อว่าการปฏิบัติตามหลักการอย่างเคร่งครัดคือสิ่งที่ถูกต้อง 
แนวคิด"มูลฐานนิยม"ในปัจจุบันมักถูกนำมาใช้อธิบายอุดมการณ์ของกลุ่ม หัวรุนแรงทั้งหลายที่อ้างเอาศาสนาหรือแนวคิดดั้งเดิมของตนมาเป็นเหตุผลในการต่อต้านหลักการสมัยใหม่ เนื่องจากมีรากฐานมาจากความขัดแย้งกันระหว่าง "ลัทธิสมัยใหม่นิยม"กับ"กลุ่มคริสตชนมูลฐานนิยม" ดังนั้น แนวคิดมูลฐานนิยมจึงมักใช้กับทุกการเคลื่อนไหว ที่พยายามจะกอบกู้อัตลักษณ์ดั้งเดิมของศาสนา หรืออุดมการณ์ใดๆ ก็ตามจากการซึมซาบเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก หรือ สังคมสมัยใหม่ ทั้งนี้โดยมีหลักการว่า การปฏิบัติตามหลักการของศาสนาที่ผู้นำศาสนาปฏิบัติตั้งแต่แรกนั้นคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด เช่น ในศาสนาคริสต์ คริสตชนควรยึดถือปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับที่ นักบวชผู้ติดตามพระเยซูขณะที่พระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ แม้ว่าหลักการของผู้เริ่มก่อตั้งศาสนาถือปฏิบัติจักมิได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีความเชื่อว่า มีเหตุผลอยู่เบื้องหลังการปฏิบัติเหล่านั้น หากไม่เป็นที่ทราบอย่างชัดเจนของศาสนิกชนรุ่นหลัง 
หลักการและความเชื่อที่ยึดถือแบบดั้งเดิมนี้เอง ที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบันหลายเหตุการณ์ และทำให้เกิดกลุ่มที่ถูกมองจากลัทธิดังกล่าวว่าเป็นกลุ่มนอกศาสนา เช่น กลุ่มรักร่วมเพศ กลุ่มให้การสนับสนุนการทำแท้ง และสิทธิสตรี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ ที่เชื่อเรื่องเสรีนิยมมากขึ้น

ข้อวิพากษ์หลักต่อ "ลัทธิมูลฐานนิยม"
ประเด็นที่เป็นข้อวิพากษ์หลักต่อ "ลัทธิมูลฐานนิยม" คือการไม่มีหลักฐานเรื่องการปฏิบัติตนของผู้นำศาสนาในยุคเริ่มต้น และหลักการของกลุ่มดังกล่าวดูจะไม่มีเหตุผล และไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์หลักคำสอนใดๆ เหล่านั้น ข้อวิพากษ์ดังกล่าวที่เด่นชัดมาจากบทความ ชื่อ Scopes Monkey Trial (*) ของ Clarence Darrow. และในบทวิพากษ์ของ Elliot N. Dorff ซึ่งกล่าวว่า ผู้ที่จะปฏิบัติตามหลักการดั้งเดิมของแต่ละศาสนานั้น จะต้องมีความเข้าใจในภาษาโบราณหรือภาษาดั้งเดิมเสียก่อน นอกจากนี้ มนุษย์ยังสามารถแปลงความเข้าใจได้หากมีการพูดต่อๆ กัน แม้แต่ผู้ที่ดำเนินรอยตามพระเจ้าคนแรก หากเผยแพร่คำสอนต่อมา ก็ยังมีความผิดเพี้ยนได้ นอกจากนี้ยังมีข้อวิจารณ์ในลักษณะเดียวกันจากนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน. Howard Thurman ซึ่งได้ให้สัมภาษณ์ใน สถาวิทยุบีบีซีว่า จริงๆ แล้วศาสนา และหลักความเชื่อต่างๆ นั้นเกิดจากความคิดที่กลั่นกรองจากประสบการณ์ของมนุษย์...


(*) The Scopes Trial - formally State v. Scopes, Scopes v. State, 152 Tenn. 424, 278 S.W. 57 (Tenn. 1926), Scopes vs. The State of Tennessee - and informally as the Scopes Monkey Trial, was an American legal case that tested the Butler Act which made it unlawful "to teach any theory that denies the story of the Divine Creation of man as taught in the Bible, and to teach instead that man has descended from a lower order of animals" in any Tennessee state-funded school and university. 
The trial drew intense national publicity, with moderns pitted against traditionalists over the teaching of evolution in the schools and a Fundamentalist interpretation of the Bible. The trial proved a critical turning point in the American creation-evolution controversy.[2]

ขณะที่บางส่วนวิพากษ์ว่า จริงๆแล้ว ไม่มีนักมูลฐานนิยมเลย ไม่ว่าในศาสนาใด หากแต่ มูลฐานนิยมเป็นเพียง "หลักการเบื้องต้น" เกี่ยวกับความเชื่อในศาสนาหนึ่งๆ เท่านั้น และที่เป็นที่วิพากษ์อย่างกว้างขวางคือเรื่องที่ว่า นักมูลฐานนิยมเลือกปฏิบัติเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้เคร่งครัดแนวปฏิบัติทั้งหมด เช่น ในบัญญัติของคริสตชน มูลฐานนิยมที่บัญญัติว่า หากพี่ชายของตนเสียชีวิต ผู้นั้นต้องแต่งงานกับภรรยาหม้ายของพี่ชาย ซึ่งนักมูลฐานนิยมชาวคริสต์เองก็มิได้ปฏิบัติตาม 
ลัทธิมูลฐานนิยมในแต่ละศาสนานั้นมีหลักการเหมือนกัน กล่าวคือ ยึดถือหลักการเดิม(ต้นฉบับ) ซึ่งมีเนื้อหาแตกต่างกันตามแต่ละศาสนาดังนี้

ศาสนาคริสต์
กลุ่มมูลฐานนิยมในศาสนาคริสต์ เชื่อทุกอย่างที่บัญญัติในพระคัมภีร์ไบเบิลอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่ดัดแปลงความหมาย เช่น ในพระคัมภีร์บัญญัติว่า มนุษย์เกิดจากก้อนเกลือ พวกเขาก็จะเชื่อว่าพวกเขาเกิดจากเกลือจริง 


ศาสนายิว
กลุ่มมูลฐานนิยมในกลุ่มชาวยิวเชื่อว่า พระคัมภีร์ Tanakh (*) ไม่สามารถแปลความด้วยตัวของมันเองได้ หากต้องแปลความควบคู่กับ Torah ปากเปล่า โดยต้องยึดมั่นทุกคำพูดอย่างเคร่งครัด

(*)The Tanakh (Tenak) is a name for the Bible used in Judaism, also known as the Masoretic Text. The name "Tanakh" is a Hebrew acronym formed from the initial Hebrew letters of the Masoretic Text's three traditional subdivisions: The Torah ("Teaching", also known as the Five Books of Moses), Nevi'im ("Prophets") and Ketuvim ("Writings")-hence TaNaKh. The elements of the Tanakh are incorporated in various forms in Christian Bibles, in which, with some variations, it is called the "Old Testament". The Old Testament does not use the traditional Hebrew subdivisions, though the distinction "Law and the Prophets" is used several times in the New Testament. 
According to the Talmud, much of the contents of the Tanakh were compiled by the "Men of the Great Assembly" by 450 BCE, and have since remained unchanged. Modern scholars are less certain, but some believe that the process of canonization of the Tanakh became finalized between 200 BCE and 200 CE, see Development of the Jewish canon for details.

ศาสนาอิสลาม
ชาวมุสลิมเชื่อว่า คำสอนของพระผู้เป็นเจ้า หรือ อัลเลาะห์ ได้ถ่ายทอดให้กับนักบุญโมฮัมหมัดผู้เดียวเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มมูลฐานนิยมในศาสนาอิสลามได้ตีความคำสอนดั้งเดิมเอาไว้หลักๆ ดังนี้...

- อธิบายความเชื่อดั้งเดิมของอิสลามว่า ต้องเคร่งครัดต่อการตีความจากพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน และฮาดิธ (Hadith)
ซึ่งให้รักษาความสันโดษ และอาจห้ามการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มสังคมกลุ่มอื่นที่ใหญ่กว่า

- อธิบายถึงการเคลื่อนไหวทางศาสนาและกลุ่มการเมืองในโลกมุสลิม
- สนับสนุนให้มีการใช้หลักกฎหมายของศาสนา เช่น ชารีอะห์ มาปกครองประเทศมุสลิม และเรียกกฎหมายหรือการปกครองในปัจจุบันว่า เป็นการปกครองนอกศาสนา 
ส่วนใหญ่แล้วแนวคิดประเภทห้ามมีความสัมพันธ์กับกลุ่มสังคมกลุ่มอื่นที่ใหญ่กว่า และความพยายามนำมาซึ่งความขัดแย้งกับโลกตะวันตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปะทะกัน และกลุ่มมุสลิม"มูลฐานนิยม" ได้รับการมองในสายตาของชาติตะวันตกว่าเป็นมุสลิมหัวรุนแรง และกลุ่มก่อการร้าย

Headline Series, Religious Fundamentalisms and Global Conflict
นักวิชาการด้านเทววิทยาในปัจจุบันเล็งเห็นความสำคัญของแนวคิดนี้ และมีการศึกษารวมทั้งนำเสนอเป็นทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบายการก่อการร้ายในปัจจุบันโดยตรง เช่น R. Scott Appleby นักวิชาการด้านเทววิทยาที่เสนอทฤษฎีมูลฐานนิยม ซึ่งได้ให้คำนิยามความเป็นมูลฐานนิยมที่ต่างจากเดิมในมุมมองที่ได้วิเคราะห์แล้วในหนังสือ Headline Series, Religious Fundamentalisms and Global Conflict (เมษายน 1994) ว่า เป็นการจำแนกประเภทการเคลื่อนไหวของคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นกลุ่มเฉพาะตน โดยไม่ได้เป็นการเคลื่อนไหวทางศาสนาดั้งเดิม โดยชี้ว่า แม้ว่ากลุ่มมูลฐานนิยมจะอ้างถึงการเป็นกลุ่มเคร่งศาสนาและปกป้องวิถีทางศาสนาแบบดั้งเดิมก็ตาม แต่คนกลุ่มนี้ก็เขียนทฤษฎีใหม่ขึ้นมาและสร้างสูตรอุดมการณ์ขึ้นมาใหม่ โดยรับเอาโครงสร้างและกระบวนการใหม่ๆ เข้ามา เพราะอันที่จริงแล้ว กลุ่มมูลฐานนิยมเองก็มองเห็นข้อบกพร่องของผู้ยึดถือความเชื่อเหมือนกันที่ต้องการอนุรักษ์ความเชื่อและความศรัทธาเดิมเอาไว้ โดยมิได้มีเจตจำนงที่จะมองหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อต่อสู้กับการสึกกร่อนของศาสนา พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นักมูลฐานนิยมโต้ว่า การอนุรักษ์รูปแบบเดิมๆ ในขณะที่ศาสนากำลังถูกคุกคามนั้น ไม่เป็นการพอเพียง

ทั้งนี้เขาชี้ว่า กลุ่มมูลฐานนิยมของแต่ละศาสนานั้นไม่เหมือนกัน เนื่องจากขึ้นอยู่กับความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทำให้มีการแสดงออกของแต่ละกลุ่มในลักษณะที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มของศาสนาฮินดูเป็นกลุ่มชาตินิยมเผ่าพันธุ์ผสมกับศาสนา แต่เขาก็เห็นว่า แม้จะมีความหลากหลายในกลุ่มมูลฐานนิยม เช่นมีวัฒนธรรมหรือเรื่องเชื้อชาติมาปะปนอยู่ในกระแสค่านิยมก็ตาม แต่มักจะบ่งบอกถึงความเป็นศาสนามากกว่าความเป็นฆราวาส เน้นไปที่การทหาร การต่อสู้ มากกว่าสันติวิธี ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มแนวคิดดังกล่าวจะก่อร่างสร้างขึ้นจากความปรารถนามุ่งมั่นที่จะสถาปนาหรือปกป้องรัฐ หรือสังคมหนึ่งๆ โดยมีมีพื้นฐานจากประวัติศาสตร์ศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มมูลฐานนิยมก็มีทั้งกลุ่มที่เป็นสายกลางและกลุ่มหัวรุนแรง ส่วนใหญ่แล้วกลุ่มมูลฐานนิยมเป็นกระบวนการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับศาสนาในทางการเมืองปลายศตวรรษที่ 20 กลุ่มผู้นำนักมูลฐานนิยมมักเป็นกลุ่มที่มีการศึกษา มีชีวิตอยู่ท่ามกลางเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่มักถูกดึงดูดเข้าหาความเป็นศาสนาดั้งเดิมเพราะรู้สึกว่าตนเองถูกสังคมหรือผู้นำรัฐของตนหลอกลวง หรือไม่ก็เป็นกลุ่มคนที่ประสบความล้มเหลวทางสังคม ถูกกีดกันจากการมีส่วนร่วมหรือการมีส่วนได้เสียในการตักตวงทรัพยากรหรือความมั่งคั่งต่างๆ

ลักษณะที่สำคัญของกลุ่มมูลฐานนิยม
Appleby มองว่า กลุ่มมูลฐานนิยมนั้น แม้จะเป็นชนกลุ่มน้อยในแต่ละศาสนาแต่ก็มักจะพยายามแข่งขันกับกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มมูลฐานนิยมในการช่วงชิงความสนใจจากสื่อ และอุดมการณ์ทางศาสนามีบทบาทในการเคลื่อนไหว ซึ่งแตกต่างจากการเคลื่อนไหวทางสังคม เช่นกลุ่ม PLO (*) ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดมาร์กซิสม์ ซึ่งเป็นลัทธิที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมายหรือการปกครอง ซึ่งแตกต่างจากยิวหรือมุสลิมที่กฎหมายเป็นส่วนสำคัญในการให้คำนิยามตัวเองหรือชุมชนของตน 

(*) The Palestine Liberation Organization (PLO) is a political and paramilitary organization founded in 1964. It is recognized as the "sole legitimate representative of the Palestinian people," by over 100 states with which it holds diplomatic relations, and has enjoyed observer status at the United Nations since 1974. In 1993 Israel also officially recognized the PLO as the representative of the Palestinian people. 
ในกลุ่มมูลฐานนิยมในคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ ได้นำเรื่อง "การเกิดใหม่" มาใช้เป็นการการันตีว่า การเกิดใหม่จะทำให้ได้รับชีวิตใหม่ที่ดีกว่าเดิม มุสลิมกลุ่มมูลฐานนิยมเองก็มีจุดมุ่งหมายในการนำพระประสงค์ของพระเจ้าที่ถูกบันทึกในชารีอะห์มาใช้เป็นกฎหมาย เช่นเดียวกับยิวที่แปลหรือตีความอักษรฮิบรูเพื่อเป็นกฎหมายในสังคม และกลุ่มเถรวาทในศรีลังกาก็เชื่อว่าอัตลักษณ์ของตนมีรากเหง้ามาจากจักรวาล และทำให้พวกเขาเหนือกว่าสิ่งใดๆ ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน (*)
(*) R. Scott Appleby, "Religious Fundamentalisms and Global Conflict", Headline Series Foreign Policy Association, No. 301 (1994)

3. ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์ (Globalizationism) 
ในด้านสังคมศาสตร์ ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์จะถูกนำมาใช้อธิบายและอ้างอิงในเรื่องของการสงครามและการก่อการร้ายในปัจจุบันค่อนข้างมาก อันที่จริง โลกาภิวัตน์เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 แต่เป็นที่แพร่หลายและรู้จักอย่างดีในปลายคริสตศตวรรษที่ 20 โดยคำว่า Globalization เริ่มใช้ในกลุ่มนักสังคมศาสตร์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 ทว่ากลับแพร่หลายและเป็นที่นิยมในบรรดานักเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 อย่างไรก็ตาม แนวคิดทฤษฎีโลกาภิวัตน์นั้น เป็นแนวคิดที่พัฒนามาใช้อธิบายงานศึกษาได้หลายสาขา

ด้านสังคมศาสตร์ ทฤษฎีโลกาภิวัฒน์เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์การศึกษาด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นโดยก้าวข้ามอำนาจความเป็นรัฐและพรมแดนรัฐ โดยความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ที่ไม่ได้เป็นไปอย่างจำกัดสำหรับรัฐชาติหนึ่งๆ 
โดยภาพรวมในหนังสือ Globalization (*) ของ Malcolm Waters (2001)แล้ว โลกาภิวัตน์ คือ การอธิบายปรากฏการณ์ที่เชื่อมโยงสังคมและรัฐชาติเข้าไว้ด้วยกันทั่วโลก ความเป็นสากลนิยม การติดต่อสื่อสารที่เชื่อมถึงกันโดยทั่ว และการกระทำ เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบ หรือความร่วมมือ ของคนทั้งโลก โดยมีพัฒนาการในหลายๆานซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการอธิบายถึงสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การก่อการร้ายและรูปแบบของการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน 
(*) Malcolm Waters, Globalization 2nd edition, p. 102
ใน amazon.com ได้อธิบายหนังสือโดยสังเขปดังนี้: The constraints of geography are shrinking and the world is becoming a single place. Globalization and the global society are increasingly occupying the center of sociological debates. Widely discussed by journalists and a key goal for many businesses, globalization has become a buzz word in recent years. In this extensively revised and restructured new edition of Globalization, Malcolm Waters provides a user-friendly introduction to the main arguments about the process, including a chapter on the critiques of the globalization thesis that have emerged since the first edition was published.

สำหรับประเด็นการก่อการร้ายในอินโดนีเซีย พบว่า กระแสโลกาภิวัตน์สามารถนำมาอธิบายสาเหตุความไม่พอใจของกลุ่มมูลฐานนิยมและกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในอินโดนีเซียในระดับรากเหง้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ชาติตะวันตกรวมทั้งออสเตรเลียมีบทบาทสำคัญในอินโดนีเซีย และเข้ามารุกล้ำในพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ของ Malcolm Waters สามารถสรุปต้นตอของการเกิดโลกาภิวัฒน์ได้ดังนี้
ในด้านเศรษฐกิจ ได้มีการสรุปว่าโลกาภิวัตน์ น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1870 - 1914 โดยเกิดจากพัฒนาการของระบบคมนาคมและการติดต่อสื่อสารที่เชื่อมโลกโดยเฉพาะรถไฟ เรือกลไฟ และโทรเลข และการเจริญเติบโตทางการค้า ซึ่งเกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม และสุดท้าย เกิดจากการเริ่มลงทุนข้ามชาติของประเทศอุตสาหกรรม ที่เข้าไปลงทุนในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศอุตสาหกรรม หากการพัฒนาเหล่านี้ประสบผลอย่างเต็มที่ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 และในยุคดังกล่าวนี้เองที่ทุนนิยมและบริโภคนิยมเกิดขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมเจริญเติบโตและก่อให้เกิดสังคมสมัยใหม่ โดยชี้ว่า การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างหลายประการ โดยเฉพาะการที่โรงเรียนสอนทักษะที่แตกต่าง เพื่อให้เกิดความชำนาญและก่อให้เกิดการแบ่งงานกันทำ ขณะที่รัฐบาลเริ่มมีหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่ด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะ ศาสนาเองก็สนับสนุนเรื่องค่านิยม การเปลี่ยนแปลงค่านิยมไปในทิศทางปัจเจกนิยม สากลนิยม เรียกว่า การทำให้เป็นสังคมสมัยใหม่ (modernization) และสังคมสมัยใหม่นี้เองที่สถาปนาความเป็นสากล ทั้งนี้ Malcolm ชี้ว่า ทั้ง Kerr, Dunlop, Harbison และ Myers รวมทั้งนักทฤษฎีแรงงานการตลาดก็เห็นพ้องต้องกันว่า การอุตสาหกรรมทำให้สังคมทุกสังคมในโลกเหมือนกัน โดยความเป็นสากลที่มาพร้อมกับการเกิดสังคมสมัยใหม่ ซึ่งมีอยู่ 4 ประการคือ 
- องค์กรราชการ 
- การเงินและการตลาด 
- ระบบกฎหมายสากล และ
- ประชาธิปไตย 
โลกทั้งใบเริ่มมีระบบที่เชื่อมโยงคล้ายกันหลายประการ อันเนื่องจากการค้าและเพื่อความสะดวกในทางเศรษฐกิจ การที่มีระบบเหมือนๆกันทั้งโลก 4 ประการดังที่กล่าวแล้ว ทำให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปได้รวดเร็วและสะดวกมากขึ้น เนื่องจากมีระบบที่เป็นสากลรองรับ ทำให้การค้าระหว่างประเทศมีความก้าวหน้าขึ้น และระบบการคิดคำนวณความเป็นประเทศพัฒนาก็ถูกคิดจากมูลฐานทางเศรษฐกิจ ประเทศที่มีเศรษฐกิจเงินทุนมากถือเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง ทุนสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ทุกทิศทาง พัฒนาการต่อมาก็คือการแบ่งงานกันทำ การเสาะแสวงหาทรัพยากรไปทั่วโลก และทำให้องค์กรหนึ่ง ไม่จำกัดการปฏิบัติการเฉพาะในรัฐใดรัฐหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นการปฏิบัติการข้ามพรมแดน ยกตัวอย่างเช่น การมีบริษัทที่ก่อตั้งและจดลิขสิทธิ์ภายใต้ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้บริหารเป็นชาวอิสราเอล ลูกจ้างที่ชำนาญการอาจจะเป็นชาวยุโรป มีโรงงานผลิตอยู่ในทวีปเอเชีย และใช้แรงงานเอเชีย ขณะที่ใช้วัตถุดิบมาจากแอฟริกา ความเป็นโลกาภิวัตน์ในด้านเศรษฐกิจ จึงเป็นผลที่เกิดจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเป็นคำอธิบายการดำเนินการด้านเศรษฐกิจข้ามชาติ ด้วยระบบที่มีเงินและเศรษฐกิจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก 
ในด้านการเมือง พบว่า ในปัจจุบันโลกมีรัฐชาติเกิดขึ้นและมีความยึดถือในรัฐชาติสูงในหมู่ปัจเจกชน เนื่องจากการสร้างวาทกรรมเรื่อง"ชาตินิยม" นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจุบันความเป็นรัฐชาติเริ่มมีบทบาทน้อยลง เนื่องจากเหตุการณ์หลายประการเปลี่ยนแปลงไป เพราะเหตุแห่งการเกิดสังคมสมัยใหม่หลังปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ทำให้โลกเริ่มเชื่อมโยงกัน การค้าระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดการมีส่วนได้เสีย ผลประโยชน์ และอื่นๆ แนวคิดการเมืองการปกครองที่สามารถส่งเสริมเศรษฐกิจได้ถูกนำมาใช้เหมือนๆ กัน รวมทั้งเกิดความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มคนที่มีแนวคิดเช่นเดียวกัน แต่อยู่คนละรัฐชาติ เพื่อสนองวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น การเกิดการรวมกลุ่มกันในหมู่รัฐชาติเพื่อสร้างอำนาจต่อรองมากขึ้น เช่น กรณี การเกิดกลุ่ม EU และกลุ่มประเทศ ASEAN การเกิดขบวนการก่อการร้ายสากล และการเกิดการรวมตัวกันด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ Rosenau (*) ให้เหตุผลการเกิดโลกาภิวัตน์ด้านการเมืองการปกครองว่า เป็นเพราะเทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์ ย่อระยะทางโลกให้สั้นลง ผู้คนรับรู้ข่าวสารข้อมูล แนวคิดใหม่ๆ อย่างรวดเร็วจากทั่วโลก และการที่ ปัญหาระดับโลกซึ่งเกิดขึ้น ณ รัฐใดรัฐหนึ่งไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งทำให้บุคลากรเหล่านี้สามารถทำงานเฉพาะข้ามรัฐได้ 

(*)James N. Rosenau (b. November 25, 1924 in Philadelphia, Pennsylvania) is a former President of the International Studies Association. His scholarship and teaching focus on the dynamics of world politics and the overlap between domestic and foreign affairs. He is the author of scores of articles and more than 35 books, including Turbulence in World Politics: A Theory of Change and Continuity (Princeton University Press, 1990) and Along the Domestic-Foreign Frontier: Exploring Governance in a Turbulent World (Cambridge, 1997). His book Distant Proximities: Dynamics Beyond Globalization completed a trio on globalization, and was published by Princeton University Press in 2003.

ปัจจุบัน จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจที่จะพบปัญหาระดับนานาชาติหรือระดับโลก ซึ่งมิใช่ ปัญหาของรัฐใดรัฐหนึ่ง และการแก้ปัญหาก็เป็นเรื่องของนานาชาติ เช่น ปัญหาสงครามของสองรัฐ ซึ่งปัจจุบันพบว่า ส่งผลกระทบต่อหลายรัฐ ทำให้สหประชาชาติซึ่งเป็นองค์กรโลกเข้ามาจัดการกับปัญหาดังกล่าว ขณะเดียวกันก็พบว่า ผู้คนร่วมสนใจและมีการตกลงทำสัญญาร่วมมือระหว่างกันเพื่อโลกนี้ ไม่ใช่รัฐใดรัฐหนึ่งอย่างจริงจังแล้ว เช่น การตกลงแก้ปัญหาโลกร้อน เป็นต้น
ด้านวัฒนธรรม ในหนังสือ Globalization ได้อธิบายถึงพัฒนาการของโลกาภิวัตน์ในด้านวัฒนธรรมว่า โลกาภิวัตน์เกิดจากการเกิดขึ้นของศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสท์แตน เนื่องจากโปรเตสแตนท์ทำให้เกิดการแยกศาสนจักรออกจากรัฐ และต่อมาทำให้เกิดความเป็นรัฐชาติ และเกิดการสร้างชาติในชาติตะวันตก ในการสร้างชาติ หลักการอย่างหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างวาทกรรมให้คนในชาติมีความรู้สึกชาตินิยมเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรม อัตลักษณ์ของรัฐตนจึงถูกสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมความเป็นอัตลักษณ์ของรัฐชาติ และเกิดการแข่งขันกันด้านการค้า ที่ทำให้รัฐตะวันตก ต้องแข่งขันกันล่าอาณานิคมเพื่อส่งเสริมให้รัฐชาติของตนเจริญพัฒนายิ่งขึ้น โลกาภิวัตน์ด้านวัฒนธรรมเกิดขึ้นจึงเกิดและเติบโตในยุคนี้ เมื่อเจ้าอาณานิคมเริ่มเผยแพร่วัฒนธรรมตะวันตก โดยใช้รถ การสถาปนาโรงเรียน การเต้นบัลเลต์ การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ ซึ่งแพร่หลายในหมู่คนชั้นสูงของประเทศอาณานิคมก่อน ต่อมาได้แพร่หลายในหมู่คนชั้นกลางด้วย และทำให้วัฒนธรรมดังกล่าวกลายเป็นวัฒนธรรมสากลไปในที่สุด
วัฒนธรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังยุคอาณานิคม คือวัฒนธรรมการท่องเที่ยวข้ามประเทศ ซึ่งเริ่มต้นในยุคอาณานิคมเช่นกัน หลังจากการทำงานในระบบอุตสาหกรรม ผู้คนเริ่มต้องการการหยุดพักผ่อน แต่เดิมผู้คนเคยมีวันหยุดในทางศาสนา ได้แปรเปลี่ยนเป็นการหยุดจากวันทำงาน เพื่อการพักผ่อน ทำให้เกิดการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่น คาสิโนในมอนเต คาร์โล หรือหาดริเวียราในฝรั่งเศส การแพร่หลายวัฒนธรรมเหล่านี้ ทำให้เกิดความเป็นวัฒนธรรมสากลขึ้น ที่สังคมในโลกเริ่มมีกิจกรรมหลายประเภทคล้ายคลึงกัน และยอมรับกิจกรรมหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างได้มากขึ้น ขณะเดียวกัน การแพร่หลายวัฒนธรรมและการย่อโลก ก็เพิ่มขึ้นด้วยการมีข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีดาวเทียม ซึ่งทำให้ผู้คนทั่วโลกรับรู้ข่าวสารของอีกโลกอย่างรวดเร็ว และทำให้ปัญหาในอีกซีกโลกกลายเป็นปัญหาร่วมกัน เช่น การเกิดคลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นพร้อมกันในทวีปเอเชีย แต่มีการร่วมกันจัดงานการกุศลบริจาคเงินช่วยเหลือของคนทั่วโลก โดยสรุปแล้วในหนังสือเล่มนี้ได้อธิบายถึงต้นกำเนิดความเป็นมาของโลกสมัยใหม่และโลกาภิวัฒน์ ซึ่งทำให้เรามองเห็นภาพรวมถึงความหมายและการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถมองได้ถึงต้นตอและจุดเริ่มต้นของผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโลกาภิวัฒน์
โลกาภิวัตน์มักถูกนำมาใช้อธิบายและวิเคราะห์ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมโลกเสมอ เนื่องจากสามารถอธิบายได้ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งนี้มีการให้เหตุผลว่า เนื่องจากโลกาภิวัตน์ส่งผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับทุกด้านในปัจจุบันดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว โดยเฉพาะการกระทบเรื่องแนวคิดทางศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาตินิยม ศาสนานิยม ฯลฯ ผลกระทบดังกล่าวทำให้นักวิชาการหลายคนนำ แนวคิดโลกาภิวัตน์มาใช้อธิบายว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดความขัดแย้งระหว่างชาติตะวันตกกับกลุ่มมูลฐานนิยม 
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งศึกษาปัญหาเรื่องการก่อการร้ายสากลใหม่ ก็มองว่า โลกาภิวัตน์เป็นระบบวัฒนธรรมโลกที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองและเอื้ออำนวยต่อการก่อเกิดของระบบผูกขาดไร้พรมแดน เพื่อให้คนทั้งโลกขึ้นต่อวัฒนธรรมที่เรียกว่า Neo-Westernization ที่เป็นการสร้างกระแสบริโภคนิยมที่นิยมทุกอย่างเป็นตะวันตก การเกิดกระแสบริโภคนิยมและการไหลตามกระแสนั้น เป็นการรุกรานความเป็นท้องถิ่นและประเพณีดั้งเดิมของคนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก และส่งผลกระทบในกลุ่มชาตินิยม ประเพณีนิยมและศาสนานิยม ในส่วนนี้เองที่นักวิชาการส่วนใหญ่ชี้ว่า ทำให้เกิดความไม่พอใจในกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง เนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์นำมาซึ่งการแทรกแซงและการรุกรานทางวัฒนธรรม อันส่งผลให้เกิดการสูญเสียขนบประเพณีเดิมหรือการประพฤติผิดจากจารีตของศาสนา


บทที่ 2: แนวคิดในการศึกษาและทบทวนวรรณกรรม
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและแนวคิดในการวิจัย
จากการทบทวนผลงานวิจัยและบทความที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา สามารถจำแนกตามประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

ประเด็นการศึกษาเรื่องแนวคิดการครองความเป็นเจ้า (Hegemony) 

งานศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีการครองความเป็นเจ้าที่ได้ทบทวน ประกอบด้วยเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในเอกสารภาษาไทยนั้นพบว่า มีงานศึกษาวิจัยซึ่งพูดถึงอิทธิพลของวาทกรรมเพื่อครอบครองความเป็นเจ้าเอาไว้หลายชิ้น งานที่เกี่ยวข้องกับการครอบงำของโลกตะวันตกที่มีผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญ พบได้จากงานศึกษาด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วิทยานิพนธ์ทางด้านรัฐศาสตร์ งานศึกษาของ พอใจ เงินดี (2542) เรื่อง "บทบาททางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค สมัยประธานาธิบดี บิล คลินตัน " (*) ชี้ว่า การใช้บทบาทในการเป็นผู้ค้ำประกันความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิค เป็นเครื่องมือในการต่อรองกับประเทศในภูมิภาคเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา โดยสร้างอิทธิพลผ่านองค์กรของการเมืองและเศรษฐกิจ กดดันให้ประเทศในภูมิภาคแก้ไขปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและเปิดตลาดแก่สินค้าของสหรัฐฯมากขึ้น ผลการวิจัยทางเอกสารพบว่า ปัจจัยภายในและภายนอกผลักดันให้ประเด็นเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักต่อการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อเอเชียแปซิฟิคยุคหลังสงครามเย็น เพื่อแก้ไขปัญหาขาดดุลการค้า ส่งเสริมการค้าเสรีโดยใช้อิทธิพลกดดันให้ประเทศคู่ค้าเปิดเสรี สร้างเสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเพื่อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ และเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ผสมผสานค่านิยมเข้ากับผลประโยชน์ของสหรัฐฯ เพื่อกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในจีนและพม่า
(*) พอใจ เงินดี, "บทบาททางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคในสมัยของประธานาธิบดี บิล คลินตัน", วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2542
บทความเรื่อง "จักรวรรดิอเมริกันและอนาคตของสันติภาพ" ในหนังสือ โลกภายใต้เงามืดก่อนและหลังการรุกรานอิรัก (*) โดย ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (2547) ชี้ให้เห็นการครอบงำความคิดของผู้คนในโลกของสหรัฐอเมริกา ด้วยการสร้างวาทกรรมให้ประชาชนโลกคล้อยตามการสร้างสิทธิอันชอบธรรมของตนในการเข้าไปบุกยึดอิรัก โดยจอร์จ บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อ้างว่า สงครามปลดอาวุธและโค่นล้มอำนาจซัดดัม ฮุสเซน เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเป็นการสนองตอบต่อความต้องการอันชอบธรรมของโลก บทความได้อ้างถึงไมเคิล ฮาร์ท และแอนโตนีโอ เนกรี ที่อธิบายแนวคิดดังกล่าวในหนังสือ Empire (Harvard University press, 2003) ว่า จักรวรรดิ เป็นระบอบการปกครองที่สามารถก้าวข้ามพ้นขอบเขตของพรมแดนในเชิงกายภาพได้ และมีผลและพลานุภาพเหนือโลกอารยะ โดยไม่มีข้อจำกัดเชิงสถาบัน จักรวรรดิปกครองโลกผ่านการแทรกแซง เข้าถึงทุกพื้นที่ของโลกและสังคมอย่างรอบด้าน โดยที่ผู้อยู่ใต้ปกครองมิได้รู้สึกถูกแทรกแซงหรือครอบงำ และผู้เขียนบทความได้นำหลักการดังกล่าว เปรียบกับการประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายของจอร์จ บุช และการโฆษณาให้ผู้คนเห็นพ้องและประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายพร้อมๆกับสหรัฐฯ และการไม่ทำตามกติกาของสหประชาชาติ ด้วยการยืนยันทำสงครามกับอิรักเป็นการสร้างระเบียบโลกขึ้นใหม่
(*) ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และคณะ, โลกภายใต้เงามืดก่อนและหลังการรุกรานอิรัก (กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547) 
งานเขียนชิ้นต่อมาซึ่งเน้นการครองความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกาคือ งานศึกษาของ ชุมพล เลิศรัฐการ (2548) สหรัฐอเมริกากับปัญหาความมั่นคงใหม่: ในโครงการปัญหาความมั่นคงใหม่ (*) วิเคราะห์ว่า ปัญหาความมั่นคงใหม่ที่สหรัฐอเมริกาเผชิญนั้น ทำให้อเมริกาเปลี่ยนจากวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยเขาใช้แนวคิดจักรวรรดินิยมอธิบายว่า ยุทธศาสตร์ของจอร์จ บุช อยู่ในแนวทางของจักรวรรดินิยม ซึ่งแสดงอำนาจเจริญรอยตามจักรวรรดินิยมยุโรป โดยสหรัฐอเมริกาพลิกสถานการณ์หลังเหตุการณ์ 11 กันยา เป็นช่องทางให้ตนแสดงอำนาจในโลกได้มากขึ้น เพราะสามารถใช้เป็นข้ออ้างเพื่อบุกอัฟกานิสถานและโค่นล้มรัฐบาลตาลิบันซึ่งเป็นศัตรูแนวคิดประชาธิปไตย และยังเข้าบุกอิรักเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน นอกจากนี้การบุกอิรัก ยังเป็นโอกาสให้สหรัฐฯ เข้าไปแสวงหาน้ำมัน และจัดระเบียบโลกใหม่ด้วยการผลักดันมติเกี่ยวกับการก่อการร้ายในสหประชาชาติ และผลักดันกฎกติกาทุกทางในลักษณะที่มีความมั่นคงแทรกซึมอยู่ สหรัฐยังสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาอำนาจให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นโดยเฉพาะสหรัฐ รัสเซียและจีน เนื่องจากมีความเห็นพ้องในการต่อต้านการก่อการร้ายโลก จะเห็นได้ว่างานวิจัยชิ้นนี้มีมุมมองแตกต่างจากงานอื่นเล็กน้อย ตรงที่มีการชี้ให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาได้ประโยชน์จากสถานการณ์ 11 กันยายน อย่างไร ในขณะที่งานอื่นๆ จะเน้นที่สาเหตุที่สหรัฐอเมริกาได้รับเคราะห์กรรมดังกล่าว 
(*) ชุมพล เลิศรัฐการ, สหรัฐอเมริกากับปัญหาความมั่นคงใหม่ : โครงการปัญหาความมั่นคงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2548)

งานศึกษาสำคัญชิ้นล่าสุดของไทย ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อการร้ายสากลในนิยามใหม่ และพูดถึง Hegemony โดยตรงที่สำคัญคือ งานวิจัยภายใต้โครงการปัญหาความมั่นคงใหม่ ของ ดร.ศราวุฒิ อารีย์ (2548) เรื่อง"อิสลามกับปัญหาความมั่นคงใหม่" (*) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เสนอมุมมองต่อปัญหาการก่อการร้ายสากลในปัจจุบันในทรรศนะของโลกมุสลิม โดยงานศึกษานี้ได้กล่าวถึงปัญหาและสาเหตุของการก่อการร้ายในปัจจุบันที่มักเกิดจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงว่า รากเหง้าเดิมมาจากการกระทำรุนแรงและนโยบายรุกรานกลุ่มมุสลิมของมหาอำนาจตะวันตก ที่เกิดขึ้นมานานหลายศตวรรษ และยังให้คำนิยามของการก่อการร้ายแตกต่างจากกระแสปัจจุบันและโลกตะวันตกอีกด้วย โดยชี้ว่าการนิยามการก่อการร้ายของโลกตะวันตกกับโลกอิสลามนั้น ยังมีปัญหาขัดแย้งกัน เนื่องจากโลกอิสลามให้ความสนใจที่จะแยกประเภทระหว่างการก่อการร้ายและการเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิตตนเอง 

(*) ศราวุฒิ อารีย์, อิสลามกับปัญหาความมั่นคงใหม่ (กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2548) หน้า 30-38
นอกจากนี้ยังมองว่า ภาพลักษณ์ของผู้ก่อการร้ายสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ผู้ก่อการร้ายของวันวานอาจกลายเป็นวีรบุรุษของวันนี้ และเห็นได้ชัดว่างานศึกษานี้ ไม่ต้องการนิยามการปฏิบัติการรุนแรงของกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงว่าเป็นการก่อการร้าย เนื่องจากมาตรฐานการนิยามคำว่า 'การก่อการร้าย' ในปัจจุบัน เป็นมาตรฐานที่ชาติตะวันตกกำหนดขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างวาทกรรมของมหาอำนาจตะวันตก
รายงานดังกล่าวยังเสนอมุมมองอีกด้านของสาเหตุและรากเหง้าของการก่อการร้ายว่า แท้จริงแล้วเกิดจากความกดดันที่ชาติตะวันตกรุกราน และปฏิบัติการอันไม่เป็นธรรมและการทำร้ายรัฐมุสลิมและศาสนาอิสลาม โดยในงานศึกษาได้รวบรวมเหตุการณ์ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเนื้อหาความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อชุมชนมุสลิมทั่วโลก ในรายงานฯ ยังมีการให้คำนิยามการกระทำรุนแรง ปราบปรามหรือรุกรานรวมทั้งล่าอาณานิคมของชาวตะวันตกที่เกิดขึ้นต่อรัฐมุสลิมว่า เป็นการก่อการร้ายซึ่งเป็นคำนิยามที่ตรงกันข้ามกับการให้คำนิยามกระแสหลัก โดยเฉพาะที่น่าสังเกตคือ การให้คำนิยามว่า ฝรั่งเศสกระทำการก่อการร้ายต่ออัลจีเรียในการยึดครอง ขณะที่นิยามกระแสหลักมองว่า การที่กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในอัลจีเรียใช้วิธีการต่อสู้แบบกองโจรกับเจ้าหน้าที่ของฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องการแบ่งแยกดินแดนนั้นเป็นการก่อการร้าย โดยสรุปแล้วงานวิจัยชิ้นนี้ มองว่าประเด็นเรื่อง อิสลามกับการก่อการร้ายเป็นวาทกรรมของชาติตะวันตกที่นำมาเชื่อมโยงกัน และชี้ชัดให้เห็นถึงประเด็นลัทธิการครอบครองความเป็นเจ้าของชาติตะวันตก 
ส่วนงานศึกษาที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นมีผู้วิเคราะห์เอาไว้เช่นกัน หากแต่เป็นการวิเคราะห์การสร้างวาทกรรมเพื่อครอบงำโลกของทั้งฝ่ายโลกตะวันตกและโลกตะวันออก ในหนังสือ Islam in Southeast Asia: political, social and strategic challenges for the 21st century (*) โดย Abdul Rashid Moten (2006) ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่าวิถีอิสลามซึ่ง กฎหมาย การปกครอง วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนนั้นผูกโยงอยู่กับศาสนา ทำให้ความเป็นโลกาภิวัตน์และโลกสมัยใหม่ที่เข้ามาครอบงำวิถีชีวิตในปัจจุบันถือเป็นการเข้ามาของจักรวรรดินิยม ขณะที่กระแสโลกาภิวัตน์ทำให้ทุกคนมีค่านิยมและวิถีชีวิตแบบเดียวกัน แต่โลกมุสลิมกลับไม่เป็นเช่นนั้น 
(*) Abdul Rashid Moten, et al., Islam in Southeast Asia: political, social, and strategic challenges for the 21st century (Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, 2006) p. 232-234
มุสลิมกลับมีทีท่าหวาดกลัวต่อทัศนะของ Francis Fukuyama (*) ที่ว่า เสรีนิยมคือจุดสูงสุดของมนุษย์ เขาชี้ว่ามุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แสดงออกด้วยการตอบโต้วาทกรรมดังกล่าว 3 วิธีคือ 

- การตอบโต้ในรูปแบบการต่อต้านด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบ 
- การต่อต้านแบบของคนมีการศึกษาที่เชื่อมโยงเอาความสมัยใหม่เข้ากับลัทธิจักรวรรดินิยม และ
- การต่อต้านที่มีจากกลุ่มชนชั้นนำและผู้ปกครองในโลกมุสลิม ซึ่งรวมกลุ่มกันเพื่อต่อรองผลประโยชน์กับกลุ่มประเทศตะวันตก
ในรูปแบบของการรวมกลุ่มทวิภาคี และพหุภาคี เช่น กลุ่ม OIC กลุ่ม ASEAN กลุ่ม OPEC 
ในบทความดังกล่าวเห็นได้ว่า เขาพยายามชี้ให้เห็นว่า มุสลิมเป็นโลกที่มีเพียงหนึ่งเดียว และไม่มีการแบ่งแยกระหว่างศาสนาจักรกับอาณาจักร 
 
(*) Fukuyama is best known as the author of The End of History and the Last Man, in which he argued that the progression of human history as a struggle between ideologies is largely at an end, with the world settling on liberal democracy after the end of the Cold War and the fall of the Berlin Wall in 1989. Fukuyama predicted the eventual global triumph of political and economic liberalism:
What we may be witnessing is not just the end of the Cold War, or the passing of a particular period of post-war history, but the end of history as such... That is, the end point of mankind's ideological evolution and the universalization of Western liberal democracy as the final form of human government.

He has written a number of other books, among them Trust: The Social Virtues and the Creation of Prosperity and Our Posthuman Future: Consequences of the Biotechnology Revolution. In the latter, he qualified his original 'end of history' thesis, arguing that since biotechnology increasingly allows humans to control their own evolution, it may allow humans to alter human nature, thereby putting liberal democracy at risk. One possible outcome could be that an altered human nature could end in radical inequality. He is a fierce enemy of transhumanism, an intellectual movement asserting that posthumanity is a desirable goal.
In another work The Great Disruption: Human Nature and the Reconstruction of Social Order, he explores the origins of social norms, and analyses the current disruptions in the fabric of our moral traditions, which he considers as arising from a shift from the manufacturing to the information age. This shift is, he thinks, normal and will prove self-correcting, given the intrinsic human need for social norms and rules.

In 2008 he published the book Falling Behind: Explaining the Development Gap Between Latin America and the United States, which resulted from research and a conference funded by Grupo Mayan to gain understanding on why Latin America, once far wealthier than North America, fell behind in terms of development in only a matter of centuries. Discussing this book at a 2009 conference, Fukuyama outlined his belief that inequality within Latin American nations is a key impediment to growth. An unequal distribution of wealth, he stated, leads to social upheaval which in turn results in stunted growth
 
เขายังชี้ถึงการครอบงำของชาติตะวันตกหลังจากที่กลุ่มชุมชนมุสลิมตกเป็นอาณานิคมว่า ต้องเสียภาพพจน์และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม จากกระบวนการที่เรียกว่า 'การศึกษา' ซึ่งชี้นำและครอบงำความคิดแบบท้องถิ่นให้หันไปหาโลกตะวันตก นอกจากนี้ผุ้นำท้องถิ่นที่รับค่านิยมตะวันตก แนวคิดชาตินิยม และสถาปนาโครงสร้างรัฐชาตินิยมสมัยใหม่ขึ้น ในงานชิ้นนี้เขาได้ตำหนิโครงสร้างวัฒนธรรมที่ถูกครอบงำ ทำให้โลกมุสลิมถูกแบ่งแยกออกเป็นรัฐต่างๆ ไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนก่อน
งานวิจัยที่วิเคราะห์โดยนักวิชาการที่มีชื่อเสียงชาวอินโดนีเซียและเป็นนักวิชการมุสลิม ได้เขียนวิเคราะห์ประเด็นก่อการร้ายโดยนำแนวคิดวาทกรรม และการครอบครองความเป็นเจ้ามาวิเคราะห์ แต่ได้เสนอมุมมองใหม่อีกด้านคือ การสร้างวาทกรรมของชาวมุสลิมหัวรุนแรง. Noorhaidi Hasan (2006) ในหนังสือ Islam in Southeast Asia: political, social and strategic challenges for the 21st century (*) วิเคราะห์ว่า ไม่เฉพาะตะวันตกเท่านั้นที่มีการสร้างวาทกรรม หากโลกมุสลิมเองก็สร้างวาทกรรมครอบงำความคิดไว้เช่นกัน เขาวิเคราะห์ในบทความเรื่อง September 11 and Islamic militancy in post new order Indonesia ว่า หลังจากเหตุการณ์ 11 กันยา และการออกมาประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ายนั้น โลกมุสลิมก็เกิดกระแสต่อต้านตะวันตกขึ้นด้วย Hasan วิเคราะห์ที่อินโดนีเซียซึ่งมีประชากรมุสลิมมากที่สุดซึ่งพบว่า หลังจากการประกาศสงคราม ปฏิกิริยาของชาวอินโดนีเซียได้แสดงออกมาในรูปของการประท้วงและต่อต้าน แนวคิดชาตินิยมได้ถูกปลุกระดมเพิ่มขึ้น ในกรณีนี้เขาพบว่า กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงใช้โอกาสดังกล่าวเพิ่มภาพลักษณ์ที่เป็นผู้กล้าให้กับโอซามา บิน ลาเดน และนอกจากนี้ ยังมีการกลับมาของยุคเฟื่องฟูการต่อต้านลัทธิไซออนนิสต์ในอินโดนีเซียด้วย หลังจากที่วาทกรรมการต่อต้านลัทธิไซออนนิสต์ค่อยๆ ลดลงช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่หลังเหตุการณ์ 11 กันยา ในประเทศอินโดนีเซียกลับมีการส่งเสริมวาทกรรมเรื่องความเกลียดชังอิสลามของตะวันตก กระตุ้นให้ชาวอินโดนีเซียเพิ่มการต่อต้านสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร การส่งเสริมภาพลักษณ์ของบิน ลาเดน ยิ่งเพิ่มพูนจำนวนผู้ต้องการสนับสนุนการญิฮาด หรือสงครามต่อต้านตะวันตกมากขึ้น โดยเขาชี้ให้เห็นถึงมุมมองอีกด้านหนึ่งในการสร้างวาทกรรมที่มีอิทธิพลด้านตรงกันข้ามกับโลกตะวันตก และเป็นงานแรกที่ชี้ให้เห็นมุมมองดังกล่าว
 
(*) Noorhaidi Hasan et al., Islam in Southeast Asia: political, social, and strategic challenges for the 21st century, p. 303-307

เรื่องวาทกรรมและลัทธิการครอบครองความเป็นเจ้าภาษาอังกฤษที่น่าสนใจอีกชิ้นหนึ่งคือบทความเรื่อง Islam and Modernization ในหนังสือ Islam in Southeast Asia: political, social and strategic challenges for the 21st century ที่วิเคราะห์โดย Syed Farid Alatas ได้พูดถึง วาทกรรมสังคมสมัยใหม่ (modernist discourse) ที่ขัดแย้งกับหลักปรัชญามุสลิม ซึ่งเน้นความพอเพียงและความสมถะ ทำให้โลกมุสลิมเกิดความต้องการสร้างทางเลือกและพัฒนาแนวทางของตนเองขึ้น

ลัทธิการครองความเป็นเจ้าของชาติตะวันตก มีการศึกษาในสาขาสื่อมวลชนโดยเฉพาะชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกากับกลุ่มประเทศมุสลิมในหนังสือ ทีวีอัลจาซีรา: สื่อมวลชนสากลของโลกอาหรับ (*) โดย ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว (2551) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับอิทธิพลการครอบครองความเป็นเจ้าของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาในด้านสื่อสารมวลชน ชี้ว่าสื่อมวลชนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาอย่าง CNN มีส่วนชี้นำภาพลักษณ์ผู้ดีหรือผู้ร้ายให้กับโลกอาหรับ เนื่องจากสถานี CNN ที่ให้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว จากสถานที่จริงและออกสู่สายตาคนทั่วโลกในสงครามอ่าวเปอร์เซียเมื่อปี พ.ศ. 2534 ทำให้ผูกขาดการเป็นผู้ส่งสารให้กับชาวโลกด้านเดียว เขาชี้ว่า การที่สหรัฐอเมริกาเป็นชาติมหาอำนาจและมีความเจริญก้าวหน้ามากที่สุดในโลก ทำให้ข้อมูลข่าวสารซึ่งถูกเผยแพร่ออกไปกลายเป็นผลงานระดับสากล จนมีการผลิตซ้ำและส่งต่อไปยังประเทศอื่นในรูปของข่าวต่างประเทศหรือสารคดี ซึ่งผู้ผลิตข่าวสารของสหรัฐฯ ต่างก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดดั้งเดิมของชาวยุโรปที่มีประวัติศาสตร์และภาพลักษณ์กับชาวอาหรับในแง่ลบ เมื่อนำเสนอภาพข่าวออกไปทั่วโลก จึงดูราวกับว่าเป็นการส่งภาพลักษณ์แง่ลบของชาติอาหรับและศาสนาอิสลามออกไปสู่การรับรู้ของชาวโลก เช่นเดียวกับที่เคยสร้างภาพลักษณ์ด้านลบให้กับกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ว่าเป็นภัยร้าย และประสบความสำเร็จ ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจสองระบบ 
(*) อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว, ทีวีอัลจาซีรา: สื่อมวลชนสากลของโลกอาหรับ (ปทุมธานี : สำนักพิมพ์นาครมีเดีย, 2551) 
นอกจาก CNN แล้ว ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเอง พบว่า ข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มชาติอาหรับนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่การสื่อสารมวลชนและการสร้างภาพลักษณ์และอิทธิพล โดยชี้ว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอาหรับแล้ว สื่อมวลชนของอิสราเอลมีเสรีภาพมากกว่าในการนำเข้ารายการจากโลกตะวันตก และมีนโยบายการอนุญาตให้มีเคเบิลทีวี ทำให้ประชาชนอิสราเอลมีข้อมูลข่าวสารรอบด้านมากกว่า โดยการตระหนักถึงอิทธิพลอันมหาศาลของสื่อ ทำให้ชนชั้นปกครองของประเทศการ์ตาเห็นความสำคัญ และเริ่มก่อตั้งสถานีอัลจาซีราเพื่อรายงานงานข่าวจากมุมมมองของโลกอาหรับ และกลายเป็นการแย่งชิงพื้นที่การสร้างวาทกรรมขึ้น 
เขาชี้ว่า การได้เปรียบทางด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทำให้อัลจาซีราได้รับข้อมูลระดับท้องถิ่นในโลกมุสลิมเร็วและลึกกว่า CNN หรือ BBC ของชาติตะวันตก และทำให้ขณะนี้อัลซีรามีโอกาศและใช้ประโยชน์จากช่องว่างทางข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่แบบเต็มประสิทธิภาพ โดยอยู่บนพื้นฐานทางอุดมการณ์ของโลกอาหรับคือ หลักอาหรับนิยม อิสลามนิยม และเสรีกึ่งสังคมนิยม และความเป็นอาหรับนิยมของอัลจาซีราทำให้เป็นสถานีข่าวที่เป็นที่นิยมในกลุ่มประเทศในตะวันออกกลางและกลุ่มประเทศมุสลิม ความได้เปรียบดังกล่าวข้างต้นกลายเป็นการต่อสู้กันด้านการข่าวจากสองฝ่ายคือโลกตะวันตกกับโลกอาหรับ หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มงานศึกษาที่ชี้ให้เห็นถึงการลุกขึ้นมาต่อสู้ด้านการสร้างอิทธิพลและการสร้างวาทกรรมของโลกมุสลิมยุคใหม่
 
ประเด็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดมูลฐานนิยม
ในปัจจุบันมีงานศึกษาและบทความที่เกี่ยวกับลัทธิมูลฐานนิยมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะมูลฐานนิยมอิสลาม และมักนำแนวคิดมูลฐานนิยมมาอธิบายสาเหตุของความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มก่อการร้ายกับชาติตะวันตก งานศึกษาที่นำมาทบทวน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อไปนี้ ส่วนใหญ่เป็นงานศึกษาแนวคิดมูลฐานนิยมอิสลาม และเนื่องจากแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดใหม่และศัพท์ใหม่ที่เริ่มแพร่หลายในทศวรรษที่ 1970 หรือหลังปฏิรูปวัฒนธรรมในอิหร่าน งานศึกษาเกี่ยวกับมูลฐานนิยมจึงเป็นงานศึกษาของคนรุ่นใหม่ 

สำหรับการปะทะกันระหว่างกลุ่มมูลฐานนิยมกับสังคมสมัยใหม่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตรง เป็นงานศึกษาของนักวิชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Muhammad Wildan (2003) ให้ความเห็นในวิทยานิพนธ์ของเขาเรื่อง Islamic Fundamentalism and modernization: The case of Jama'ah Islamiyah in Indonesia (*) ว่า กลุ่มมุสลิมมูลฐานนิยมนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกมุสลิมมานานแล้ว หากแต่เริ่มแสดงบทบาทที่เข้มแข็งนับตั้งแต่เกิดกระแสโลกาภิวัฒน์และโลกสมัยใหม่ มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านการกลืนกลายของวัฒนธรรมตะวันตก ในกรณีการเกิดกลุ่มก่อการร้ายเจไอในอินโดนีเซีย เริ่มเกิดการรวมกลุ่มหลังจากการไหลบ่าเข้ามาของกระแสวัฒนธรรมตะวันตก และการมีอุดมการณ์ร่วมกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่ต่อต้านชาติตะวันตกหลังร่วมทำสงครามต่อต้านโซเวียต เพื่อขับไล่ให้พ้นจากอัฟกานิสถาน โดยอุดมการณ์ร่วมดังกล่าว บวกกับความหวาดกลัวการถูกรุกรานทางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดอุดมการณ์เคร่งในหลักการศาสนา และตีความหมายศาสนาเบื้องต้นตามมา สรุปโดยรวมในงานวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้พบว่า Wildan มองว่า การที่กลุ่มมุสลิมมูลฐานนิยม รวมทั้งกลุ่มหัวรุนแรงหรือพวกสุดโต่ง เกิดการรวมตัวกันเข้มแข็งและแสดงความรุนแรงขึ้นนั้น เนื่องมาจากการถูกกระตุ้นและการคุกคามจากชาติตะวันตกตามกระแสและอิทธิพลโลกาภิวัฒน์ 
(*) Muhammad Wildan, "Islamic Fundamentalism and modernization: The case of Jama'ah Islamiyah in Indonesia" Thesis for Master of Arts, Universiti Kebangsaan Malaysia, 2005

ส่วน Zachary Abuza (2003) ผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อการร้าย ได้เขียนหนังสือ Militant Islam in Southeast Asia : Crucible of Terror (*) โดยชี้ชัดลงไปว่า ลัทธิมูลฐานนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มจากการส่งคนเข้าร่วมสงครามกองโจรในอัฟกานิสถานเพื่อร่วมต่อต้านการรุกรานของสหภาพโซเวียต ทศวรรษที่ 1970 ซึ่งในระหว่างการปฏิบัติการสู้รบ ผู้คนที่ถูกส่งไปร่วมรบจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้ารับการอบรมจากสถาบันศาสนาของปากีสถาน ซึ่งได้มีหลักการสอนและการตีความทางศาสนาอย่างเคร่งครัด และมีการเน้นที่ข้อกฏหมายและการปกครองของศาสนา มีการต่อต้านการปกครองและข้อกฎหมายนอกศาสนา นอกจากนี้ ยังเชิดชูอุดมการณ์ณ์ต่อต้านสังคมสมัยใหม่ด้วย

(*) Zachary Abuza, Militant Islam in Southeast Asia: Crucible of terror (USA : Lynne Rienner Publishers, Inc, 2003
จากข้อสังเกตของ Abuza พบว่า มุสลิมหัวรุนแรงหลายค เป็นผลผลิตมาจากสถาบันเหล่านี้ เมื่อพวกเขากลับมายังบ้านเกิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงมีความต้องการสร้างรัฐอิสลามที่ปกครองด้วยชารีอะห์หรือกฎหมายอิสลามเพิ่มขึ้น และมองว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดการก่อการร้ายในพื้นที่ งานศึกษาส่วนใหญ่เห็นพ้องกับ Abuza ว่า มูลฐานนิยม (fundamentalism) อิสลามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ ขยายตัวในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ และขยายตัวหลังจากการส่งกองกำลังเข้าร่วมระหว่างอัฟกานิสถานกับสหภาพโซเวียต 
งานวิจัยของ Aiden Hall (2005) เรื่อง United Nations Member State: Australia - 'Lucky Country' or Terrorist Target (*) ชี้ว่า เหตุที่ออสเตรเลียมีความเสี่ยงต่อการเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายเป็นเพาะการขยายตัวของลัทธิมูลฐานนิยม หรือ Fundamentalism ในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกับออสเตรเลีย โดยลัทธิมูลฐานนิยมที่เพิ่มขึ้นในประเทศเหล่านี้เนื่องมาจาก การที่สองประเทศนี้มีกลุ่มนักรบที่เคยถูกส่งไปร่วมรบในอัฟกานิสถานช่วงทศวรรษที่ 1970 ทำให้เกิดการบ่มเพาะกลุ่มนักรบที่มีแนวคิดในการต่อสู้ที่รุนแรงกลับมา นอกจากนี้ทั้งสองประเทศดังกล่าวยังมีกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ซึ่งมีแนวคิดในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องการก่อตั้งรัฐอิสลามในประเทศด้วย 
(*) Aiden Hall, "United Nations Member State: Australia 'Lucky Country' or Terrorist Target", Thesis for Master of Arts, University of Sydney, 2005
ส่วนงานศึกษาของไทย เป็นการศึกษาที่เน้นเรื่องการเกิดของมุสลิมหัวรุนแรงและการก่อการร้าย โดยให้ความสำคัญที่การก่อการร้ายในภาคใต้ของประเทศไทย พัฒนาการของลัทธิมูลฐานนิยมนั้นเกิดมานานแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีหลักฐานความพยายามสร้างรัฐอิสลามที่ปกครองด้วยชารีอะห์ หรือกฎหมายหลักอิสลาม โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และงานที่เขียนขึ้นใหม่ 
งานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มก่อการร้ายในอินโดนีเซียของไทย คืองานศึกษาของ สุภาพรรค์ ตั้งไพโรจน์ (2549) ในหนังสือเจไอคืออะไร? ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มญามาอะห์ อิสลามิญะ หรือ เจไอ โดยเฉพาะ ที่เห็นพ้องว่ามูลฐานนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แพร่หลายเพิ่มขึ้นหลังจากมีการส่งกองกำลังช่วยรบในสงครามอัฟกานิสถานกับสหภาพโซเวียต แต่ก็ชี้ว่าลัทธิมูลฐานนิยมนั้นดำรงอยู่ในกลุ่มชนมุสลิมในภูมิภาคนี้ตั้งแต่ก่อนยุคอาณานิคมแล้ว เมื่อแรกที่ชาวมุสลิมแพร่ขยายในมลายา และส่วนอื่นๆ ในหมู่เกาะอินโดนีเซีย หลังจากพัฒนาการต่อสู้แบบกองโจร จากการเข้าร่วมสงครามอัฟกานิสถาน ยิ่งทำให้มีกระบวนการต่อต้านรัฐบาลอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างรัฐอุดมการณ์ของตนขึ้นมาในภูมิภาค จากการสำรวจงานศึกษาด้านการก่อการร้ายของไทยเกือบทั้งหมดที่มี พบว่างานศึกษาของสุภาพรรค์ ตั้งตรงไพโรจน์ ในเรื่อง เจไอคืออะไร? เป็นงานศึกษาชิ้นแรกของไทยที่ศึกษาเรื่องการก่อการร้ายสากลในรูปแบบใหม่อย่างละเอียด โดยมีการให้ข้อมูลเชิงลึกถึงกระบวนการการขยายตัวของกลุ่มแนวร่วมก่อกการร้ายในอินโดนีเซีย โดยเจาะประเด็นที่กลุ่ม JI ตั้งแต่เริ่มต้นการเป็นขบวนการกลุ่มนักรบแบบกองโจรมุสลิมที่ต่อสู้เพื่อเอกราชสมัยที่อินโดนีเซียยังอยู่ภายใต้การปกครองของเนเธอร์แลนด์ และขยายตัวเป็นกลุ่มที่เรียกร้องการตั้งรัฐอิสลามที่ใช้ชารีอะห์เป็นกฏหมาย จนกระทั่งพัฒนามาเป็นกลุ่มก่อการร้าย ญามาอะ อิสลามิยะ หรือ JI ซึ่งให้ภาพพัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปของกลุ่มก่อการร้ายเดิมจนถึงปัจจุบัน และปรัชญาที่เป็นต้นกำเนิดของกลุ่มมูลฐานนิยมในอินโดนีเซีย
งานศึกษาของไทยที่ศึกษาเรื่องเจไออีกชิ้นที่สำคัญคืองานของ สุรชาติ บำรุงสุข (2550) ในหนังสือ แนวคิด-ยุทธวิธีขบวนการก่อการร้าย เจไอ (*) ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างละเอียดถึงปรัชญาเบื้องหลังกลุ่มก่อการร้าย JI โดยเริ่มจากการอรรถาธิบายถึงกระแสความคิดที่ทำให้เกิดความเบี่ยงเบนจากจารีตเดิมของอิสลาม โดยชี้ว่ากระแสการฟื้นฟูอิสลาม หรือกลุ่มมูลฐานนิยม ซึ่งเขาให้คำนิยามเป็นภาษาไทยว่า "อิสลามเคร่งจารีต" จากภาษาอังกฤษว่า Islamic Fundamentalism เป็นกระบวนการเกิดกระแสฟื้นฟูอิสลามและอิสลามเคร่งจารีต ตั้งแต่เริ่มถือกำเนิดในตะวันออกกลางอันเป็นดินแดนต้นกำเนิด โดยในงานศึกษาชี้ว่า สาเหตุที่ต้องศึกษาถึงหลักการอิสลามเคร่งจารีต (Islamic Fundamentalism) เนื่องจากผู้ก่อการร้ายส่วนใหญ่มักประกาศตัวว่าเป็น นักฟื้นฟูศาสนา แต่ขณะเดียวกันเขาก็ชี้ว่า นักฟื้นฟูศาสนาไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย ในหนังสือเล่มนี้อธิบายว่า เป้าหมายของกลุ่มนักฟื้นฟูอิสลามตามแนวคิดของกลุ่มหัวรุนแรงก็คือ การให้ผู้คนใช้ชีวิตตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัดในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่การแยกศาสนาออกจากวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตก โดยต้องการให้ระบบสังคมการเมืองเป็นรัฐอุดมคติตามแนวทางของศาสดามุฮัมมัด 
(*) สุรชาติ บำรุงสุข, แนวคิด-ยุทธวิธีขบวนการก่อการร้าย เจไอ ( กรุงเทพฯ : Animate Print And Design Co.,Ltd, 2550)
จุดเริ่มต้นเกิดจากนักคิดในกลุ่มนักปฏิวัติแห่งอียิปต์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อกลุ่มภราดรภาพมุสลิม (MUSLIM BROTHERHOOD ) ชื่อ SAYYID QUTB ซึ่งตีความแนวคิดทางศาสนาหลายอย่างให้สอดคล้องกับการยึดอำนาจรัฐด้วยวิธีรุนแรง รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับวันสิ้นโลก และการคบคิดของยิวกับคริสเตียนที่จะทำลายศาสนาอิสลาม และการกำจัดคนโฉดเขลากับคนกลับกลอกในศรัทธา เป็นแนวคิดที่นักฟื้นฟูศาสนาอิสลามนิยมความรุนแรงยึดถือ โดยแนวคิดดังกล่าวนี้ กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงมองชาวยิวกับชาวคริสเตียนว่าเป็นกลุ่มจ้องทำลายศาสนาอิสลาม. ซัยยิด กุตบ์เป็นผู้สอนให้ใช้กำลังในการญิฮาด โดยระบุว่าสังคมของตะวันตก คริสเตรียน ยิว คอมมิวนิสต์ และสังคมมุสลิมร่วมสมัย ล้วนเป็นระบอบที่โฉดเขลา รวมทั้งปฏิเสธระบอบการปกครองของรัฐที่ไม่ใช้กฎหมายชารีอะห์. มุสลิมที่แท้จริงมีหน้าที่ตองญิฮาดต่อระบอบเหล่านั้น และนี่คือที่มาของความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปของคำว่าญิฮาด
 
ประเด็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดโลกาภิวัตน์
สำหรับงานที่ใช้อธิบายความขัดแย้งระหว่างโลกตะวันตกกับกลุ่มมูลฐานนิยม มีงานศึกษาที่กล่าวถึงสาเหตุของการปะทะกัน โดย Malcolm Waters (2001) ในหนังสือ globalization (*) เอาไว้ว่า เกิดตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ต่อเนื่องมาจนถึงยุคโลกาภิวัตน์ เพราะค่านิยมในยุคสมัยใหม่ได้ลดความสำคัญของศาสนาลง มีการให้ความสำคัญของการพึ่งพาตัวเอง และการใช้หลักเหตุผลและหลักวิทยาศาสตร์มาแทนความเชื่อและศรัทธาในศาสนา เมื่อมาถึงยุคโลกาภิวัตน์ เขาชี้ว่า โลกาภิวัตน์มีลักษณะที่ขัดแย้งกับหลักศาสนาต่างๆ อยู่มาก เช่น การเกิดความเป็นสากลและแพร่หลายของวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งทำให้ศาสนา เช่น อิสลามต้องเผชิญหน้ากับข้อขัดแย้งหลายประการ อาทิ เรื่องของสิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี หรือแม้กระทั่งความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลกว่าเป็นสิ่งถูกต้อง นอกจากนี้โลกาภิวัตน์ยังทำให้รัฐชาติมีความสำคัญเหนือศาสนจักร 

 
(*) Malcolm Walter, Globalization , p. 161-173
ในงานของชาวอินโดนีเซียเรื่องการก่อการร้าย มีการเอ่ยถึงเรื่องผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์เช่นในงานของ Asep Chaerudin (2003) (*) ในวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการก่อการร้าย โดยเฉพาะนั้น ให้มุมมองอีกด้านของโลกาภิวัฒน์ แทนที่จะชี้ว่าผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ที่ก่อให้เกิดก่อการร้าย ที่มักชี้ด้านการรุกรานทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชาติตะวันตกส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชุมชนมูลฐานนิยม สำหรับในงานศึกษาชิ้นนี้กลับชี้ว่า โลกาภิวัฒน์มีส่วนกระตุ้นให้เกิดการก่อการร้ายรูปแบบใหม่ที่ขยายตัวมีเครือข่ายข้ามชาติขึ้น ขณะที่ก่อนหน้าทศวรรษที่1960 นั้น การก่อการร้ายนั้นอยู่ในรูปแบบของการต่อต้านรัฐภายในประเทศเท่านั้น และเป้าหมายในการโจมตีเป็นเพียงกลุ่มพลเรือนในประเทศเท่านั้น แต่เมื่อโลกพัฒนาไปสู่โลกาภิวัฒน์ซึ่งทำให้การคมนาคมเป็นไปได้สะดวกและราคาไม่แพง การติดต่อสื่อสารง่ายขึ้น และความรู้สึกในความเป็นรัฐหรือชาตินิยมน้อยลง ความเป็นพี่น้องหรือกลุ่มเดียวกันข้ามรัฐชาติมีมากขึ้น เหล่านี้เป็นปัจจัยที่ทำให้การก่อการร้ายเปลี่ยนแปลงจากเดิม กลายเป็นกลุ่มการก่อการร้ายที่มีเครือข่ายข้ามชาติ และมีเป้าหมายที่ไม่ได้เป็นเพียงภายในประเทศ รวมทั้งเป้าหมายที่โจมตีก็อาจไม่ใช่รัฐของตนเองด้วย 
(*) Asep Chaerudin, "Countering Trasnational Terrorism in Southeast Asia with Respect to Terrorism in Indonesia and the Philippines", Thesis for Master of Arts, Naval Postgraduate School, Monterey, California, 2003.
นักวิชาการและนักการศึกษาไทยที่นำทฤษฎีโลกาภิวัฒน์มาอธิบายในงานศึกษาของตนหลายเรื่อง โดยเฉพาะในประเด็นด้านรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในหนังสือชาตินิยมและหลังชาตินิยม (*) ของธีรยุทธ บุญมี ได้นำแนวคิดเรื่องโลกาภิวัฒน์มาอธิบายเรื่องผลกระทบต่อความเป็นรัฐชาติในโลกปัจจุบันในหลายๆ ด้านด้วยกัน โดยได้แจกแจงว่า โลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดองค์กรสากลข้ามรัฐ ทำให้หลายองค์กรสามารถแทรกแซงกิจการภายในของประเทศหนึ่งๆ ได้ รัฐชาติหนึ่งๆ มีความสำคัญน้อยกว่าองค์กร ในด้านเศรษฐกิจและการเงินก็เช่นกัน โลกาภิวัฒน์ก่อให้เกิดการผลิตอุตสาหกรรมแบบใหม่ที่มีลักษณะการบริหารบริการกระจายกว้างไปทั่วโลก และการเลิกให้รัฐเป็นผู้กำหนดค่าของเงินตราสกุลต่างๆ ของตน ทำให้พรมแดนของรัฐหลีกทางให้ตลาดทั่วโลกมีบทบาทในกากำหนดค่าเงินตราสกุลต่างๆ ตลาดจะเป็นการกำหนดร่วมของผู้คนทั้งหมดบนโลก และอยู่เหนือการควบคุมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ 
(*) ธีรยุทธ บุญมี, ชาตินิยมและหลังชาตินิยม (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สายธาร, 2546) 
สุดท้ายเขาชี้ว่า โลกาภิวัฒน์มีผลกระทบอย่างสูงด้านวัฒนธรรมด้วย โดยเฉพาะที่ทำให้เกิดแรงบีบคั้นต่อความเป็นรัฐชาติ โดยเฉพาะเรื่องของอัตลักษณ์ โดยเขาชี้ว่า แต่ก่อนคนจะรู้สึกผูกพันกับความเป็นชาติ แต่หลังจากได้รับผลกระทบจากวัฒนธรรมที่เป็นสากล ทำให้ผู้คนผูกติดกับภาษาหรือวัฒนธรรมของชาติน้อยลง แต่จะเลือกอยู่กับวัฒนธรรม วิถีชีวิตย่อยหรืออัตลักษณ์เฉพาะที่แสวงหาได้จากตลาดสินค้าและวัฒนธรรมแบบประชานิยม ความจงรักภักดีต่อชาติน้อยลงด้วยเช่นกัน และผลกระทบที่ทำให้รัฐชาติลดบทบาทนั้นได้สร้างผลกระทบอื่นๆ ตามมาด้วย หนึ่งในผลกระทบที่ตามมาคือ การกระทบต่อความั่นคงปลอดภัย เช่นเรื่องการเมือง การทหาร โดยเฉพาะปัญหาการก่อการร้าย ปัญหาแนวคิดมูลฐานนิยม เพราะโลกาภิวัฒน์สร้างสิทธิอันชอบธรรมในการแทรกแซงพื้นที่อื่นๆ ได้ทั้งทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม เช่น การอ้างเรื่องสิทธิมนุษยชน การแทรกแซงโดยการอ้างการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม และการแทรกแซงดังกล่าวทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างสังคมอยู่ตลอดเวลา 
ส่วนงานเขียนผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ที่มีต่อการเกิดกลุ่มก่อการร้ายโดยตรงที่มีชื่อเสียงและชี้ถึงประเด็นดังกล่าวได้อย่างชัดเจนคือ งานของ เบนจามิน บาร์เบอร์ (2547) เรื่อง "ญิฮาด ปะทะแม็คเวิล์ด" : การท้าทายของลัทธิก่อการร้ายต่อประชาธิปไตย (*) งานชิ้นนี้ถือว่าได้พูดถึงผลกระทบของโลกาภิวัฒน์ที่ทำให้เกิดการก่อการร้ายแบบใหม่ ซึ่งมีคนนำแนวคิดของเขามาอ้างอิงในงานด้านสังคมศาสตร์และประเด็นก่อการร้ายจำนวนมาก เขาชี้ให้เห็นถึงสภาวะสงครามในปัจจุบันที่เป็นการปะทะกันระหว่างสองแนวคิด และเปรียบเทียบโลกของชาตินิยม อนุรักษ์นิยม การต่อต้านการเคลื่อนไหวและการพัฒนาใดๆ ในโลกนั้น เป็นโลกของกลุ่มญิฮาด ขณะที่ แม็คเวิล์ดเป็นตัวแทนของโลกทุนนิยมและบริโภคนิยม 
(*) เบนจามิน บาร์เบอร์, วิภาดา กิตติโกวิท(แปล), ญิฮาดปะทะแม็คเวิล์ด :การท้าทายของลัทธิก่อการร้ายต่อระบบประชาธิปไตย (กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา, 2547) 
เบนจามินชี้ว่า กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้การไหลบ่าเข้ามามากของกระแสบริโภคนิยม ทำให้เกิดการครอบงำทางความคิดและวัฒนธรรม โดยเข้ายึดพื้นที่แนวคิดเดิม จนขัดแย้งกับกลุ่มอนุรักษ์นิยม และชาตินิยมที่ต้องการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและความคิดดั้งเดิมของตนเอง สถานการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการต่อต้านขึ้น ในกลุ่มชาตินิยมซึ่งต้องการมีพื้นที่ของตนเอง เพราะไม่สามารถแทรกเข้าไปในบริบทของบริโภคนิยมได้ การต่อต้านดังกล่าวนำไปสู่การญิฮาด หรือการก่อการร้าย งานศึกษาชิ้นนี้ถือเป็นบทวิเคราะห์ให้เห็นปัจจัยอันก่อให้เกิดการก่อการร้าย โดยแสดงให้เห็นว่าโลกาภิวัฒน์และบริโภคนิยมเป็นปัจจัยหลักสำคัญอันหนึ่ง
บทความที่ชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของสังคมโลกที่เกิดขึ้นจากโลกาภิวัตน์ต่อมาคือ งานของ Lesey McCulloch (2005) ในบทความเรื่อง Greed: the Silent Force of Conflict in Acehในหนังสือ Violence in between (*) กล่าวถึงกลุ่มก่อการร้ายในอินโดนีเซีย. McCulloch ชี้ว่า การแบ่งแยกดินแดนและการก่อความรุนแรงในจังหวัดอาเจะห์ในอินโดนีเซียนั้น เกิดจากการไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรของตนและการถูกเอารัดเอาเปรียบทางด้านเศรษฐกิจจากกองกำลังทหาร และบรรษัทข้ามชาติ ความเป็นโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการเอื้อต่อความสามารถในการบุกรุกและล่วงล้ำพื้นที่ทรัพยากรของท้องถิ่น และการละเมิดสิทธิของบรรษัทข้ามชาติ เช่น การเข้ามาดึงเอาทรัพยากรธรรมชาติในอาเจะห์ของ บริษัท Mobil Axon ของสหรัฐอเมริกา โดยบทความดังกล่าวให้ความสำคัญกับบทบาทของเศรษฐกิจว่า เป็นปัจจัยที่ผลักดันให้ชาวอาเจะห์เกิดการต่อต้านรัฐบาล และก่อตั้งกำลังของตน โดยหันไปมีความสัมพันธ์กับลิเบียซึ่งเป็นที่รู้โดยทั่วกันว่า เป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย ท้ายที่สุด ขบวนการปลดปล่อยอาเจะห์ได้เข้าร่วมกับกลุ่มก่อการร้ายสากล
(*) Lesley McCulloch, et al., Violence in Between (Australia: Monash University Press, 2005) p. 204-215
สำหรับงานภาษาไทยที่นำทฤษฎีโลกาภิวัฒน์มาอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์ก่อการร้าย โดยตรง พบในงานของ สุภาพรรค์ ตั้งไพโรจน์ (2549) ในหนังสือเจไอคืออะไร? ที่ชี้ให้เห็นว่า การออกมาประกาศสงครามต่อต้านการก่อการร้ยของสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดภาพความเชื่อว่าเป็นสงครามระหว่างตะวันตกกับโลกอิสลาม เพราะสหรัฐอเมริกามุ่งบุกอัฟกานิสถานและทำสงครามกับอิรัก รวมทั้งยังเข้ามาแทรกแซงกิจการของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความเชื่อดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวเพื่อก่อตั้งรัฐอิสลามในภูมิภาคของกลุ่มเจไอ ยิ่งรัฐบาลประเทศต่างๆ ในภูมิภาคให้ความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกามากขึ้นเท่าใด เจไอก็ยิ่งเกิดความกังวลต่อการดำรงอยู่ของตน และเกิดความโกรธแค้นที่ศาสนาอิสลามกำลังจะถูกสกัดกั้นการแผ่ขยาย อันเป็นเหตุหนึ่งที่เจไอแสดงศักยภาพของกลุ่มให้รัฐบาลในหลายประเทศในภูมิภาครวมทั้งสหรัฐฯและพันธมิตรเห็น ด้วยการปฏิบัติการก่อการร้าย และจากการวิเคราะห์ของสุภาพรรค์ ได้ชี้ว่า การก่อวินาศกรรมในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้น 
งานชิ้นต่อมาเกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์และการก่อการร้ายคือ งานของ Eric Hobsbawm ซึ่งเป็นนักวิชาการสายประวัติศาสตร์ ในหนังสือ Globalisation, Democracy and Terrorism (*) โดยได้นำเอาประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน. Hobsbawm ได้วิเคราะห์เอาไว้ว่า โลกาภิวัฒน์สร้างผลกระทบกับโลกในศตวรรษที่ 21 อย่างมาก ซึ่งคล้ายกับการวิเคราะห์ในหนังสือเล่มอื่น กล่าวคือ โลกาภิวัตน์ได้ลดบทบาทความเป็นรัฐชาติลง การเกิดบริษัทข้ามชาติทำให้บริษัทของอีกชาติหนึ่งสามารถควบคุมรัฐบาลของอีกรัฐชาติหนึ่งได้ และในหลายสถานการณ์ บริษัทข้ามชาติมีอำนาจเหนือรัฐชาติหนึ่งๆ รวมทั้งมีบุคลากรในการควบคุมของตนเองมากกว่าพลเมืองในบางรัฐด้วย ดังนั้น เมื่อพูดถึงเรื่องของสงคราม เขาให้ความเห็นว่า สงครามในศตวรรษที่ 21 จะไม่เป็นสงครามระหว่างรัฐอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นสงครามระหว่างอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน ซึ่งเขาชี้ว่า เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ยุคสงครามเย็นแล้ว แต่ยังเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐอเมริกากับ สหภาพโซเวียต แต่ก็เป็นสงครามที่ขัดแย้งระหว่างสองอุดมการณ์ 
(*) Eric Hobsbawm, Globalisation, Democracy and Terrorism (Great Britain : Abacus, 2008)
ในงานชิ้นนี้ยังชี้เช่นเดียวกับงานอื่นๆ ในประเด็นเกี่ยวกับ โลกาภิวัฒน์ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่เท่าเทียมกันในระดับระหว่างประเทศ และการที่เป็นยุคโลกาภิวัฒน์ทำให้กลุ่มก่อการร้ายมีเครือข่ายในหลายประเทศ. Hobsbawm มองว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายนั้น อันที่จริงไม่ใช่สงคราม มันเหมือนกับการที่เราพูดว่า เรากำลังมีสงครามต่อต้านยาเสพติดอะไรทำนองนั้น. สำหรับรายชื่อขบวนการก่อการร้ายกับการปฏิบัติการจู่โจมของกลุ่มก่อการร้ายที่สหรัฐฯ แถลง ถ้าสำรวจดูจะพบว่า ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นเพียงการโจมตียิบย่อยที่ประสบความสำเร็จบ้างในบางครั้ง และอานุภาพของฝ่ายตรงข้ามก็ไม่ได้เท่าเทียมกับกองทัพสหรัฐฯ ที่จะเรียกว่าสงคราม (เช่นการที่สหรัฐฯ บุกอิรัก) แต่กับกลุ่มก่อการร้าย ได้รับการมองว่าเป็นเพียงปัญหาสังคมโลกที่รุนแรง แต่ไม่ใช่สงคราม เพราะแม้แต่วินาศกรรม 11 กันยายนยังไม่สามารถสร้างความเสียหายให้กับนิวยอร์คได้อย่างที่สงครามควรเป็น สื่อและรัฐบาลประชาธิปไตยในยุคโลกาภิวัฒน์ต่างหากที่ทำให้ปัญหานี้ดูใหญ่โตเกินความเป็นจริง 
 

3 ความคิดเห็น:

  1. เป็นบทความที่ดีมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ19 มีนาคม 2556 เวลา 13:29

    The product, according to the brand, can be applied throughout the day on dry hair if one's hair is medium to very coarse. s Therapy Treatment line, which is a lightweight replenishing treatment that protects and maintains hair condition. When one thinks of fungus, they don't generally associate it with
    the head or scalp, but the itching, burning scalp, rash or pimples on the scalp could very well be caused by a fungus,
    requiring antifungal shampoo to provide well needed
    relief to the symptoms.

    My page ... hair products

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ13 เมษายน 2556 เวลา 05:41

    Here’s what your property ads in newspapers must have in order to get the best offer.
    The benefits of having high thread count sheets is that mills
    are forced to create much finer threads in order to increase the amount of threads in a square inch (keeping
    in mind that they don't also increase the ply). It ends when God kills thousands of His Chosen People with a plague (love those germs) and an earthquake (shake, rattle and roll) as punishment for rumblings in the ranks. As of now, I can only speculate that there are more good than bad to go on-line for the newspaper publishers in Malaysia as apparently there has been no case where a newspaper publisher has gone bust. The second and major mutiny ends with a bang and not a whimper.

    Feel free to visit my blog ... egyptian newspapers

    ตอบลบ