ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้า้งสังคมแห่งการเรียนรู้...

หากต้องการลงบทความ/งานเขียนของท่าน สามารถแจ้งความประสงค์ได้ทางเว็บบอร์ด หรือทางอีเมล์แอดเดรส; po_kenchin@hotmail.com
หรือจะสมัครสมาชิกอย่างเดียวก็ได้นะครับ

09 กุมภาพันธ์ 2554

เรื่องเล่าใต้ต้นยอป่า


                หากจะให้กล่าวอะไรบ้างอย่าง ....สั้น  ๆ  ที่เกี่ยวกับ ชนพ. แล้ว คงไม่ยากที่ใครจะกล่าวถึงได้  ...และคงไม่ยากเกินไป  แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับคำพูดหรือวลีที่เปล่งออกมาสื่อความหมายให้เข้าใจ ผมมีคำมากมายเกี่ยวกับ ชนพ. ที่อยากถ่ายทอด แต่ก็นั้นแหละ มีเพียงคำเดียวที่ผมใคร่จะนำเสนอนั้นคือ คำว่า ชนพ. บ้านของนักพัฒนารุ่นใหม่
                ผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่เป็น ชนพ. ที่ต้องกล่าวเช่นนี้ เพราะว่า เดิมที เด็กน้อยทุกคนที่เรียนสาขาการพัฒนาชุมชน (ชื่อสาขาเดิม) เป็นสมาชิกโดยตำแหน่งใน ชนพ. อยู่แล้ว จะเข้าหรือไม่ ออกตัว หรือ เก็บตัว คุณก็คือ ชนพ.
                โดยข้อเท็จจริงแล้ว ชนพ. ไม่ได้เกิดจากการรวมตัวของสาขาเรา(พัฒนาชุมชน) สาขาเดียวเท่านั้น จุดนี้หลาย ๆ คนคงไม่ทราบ แต่เดิมนั้น มีหลาย ๆ คน เช่น เพื่อนจากคณะเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ พัฒนาชุมชน ฯลฯ  ที่เป็นหมู่เป็นพวกกัน ตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์จะสร้างนักพัฒนา  ที่มีการจัดการพัฒนาแบบองค์รวมในการคิดงาน  ผมดีใจนะ ที่มีอารมณ์นั้นเกิดขึ้น เป็นอารมณ์เด็กเกษตร อารมณ์เด็กวิศวะ อารมณ์เด็กซีดี มาเกี่ยวข้องทางความคิดกัน ผมว่า มันเป็นอารมณ์ ของการทำงานแบบสหวิชา ซึ่งตอนผมเรียนอยู่ มันก็เป็นอารมณ์กู คือ พัฒนาชุมชน โฮม อะโลน ทางความคิด   แล้วนะ.....เศร้าใจ ไม่รู้ว่า ปัจจุบันนี้ ชนพ. มีอารมณ์อย่างไรบ้าง?
                โดยทั่วไปแล้ว มาตรฐานสำหรับ ชนพ นั้นในยุคผม คือ การออกค่ายและเวทีแลกเปลี่ยนความคิด สำหรับการออกค่ายนั้น ถือเป็นเครื่องหมายประกันคุณภาพของบุคลากร ชนพ. ก็ว่าได้    ผม เพื่อน ๆ น้อง ๆ หลาย ๆ คนก็คงมี และผ่านเวทีเรียนรู้อย่างนี้เช่นกัน ต้องยอมรับว่า ได้พิสูจน์ตัวเองในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ที่พูดอย่างนั้น เพราะว่า ประสบการณ์นั้น ย่อมเพิ่มพูนตามการทำงานและการใช้ชีวิต คุณค่าและท่าทีของคนย่อมผันแปรไปตามเวลา  ด้วยเหตุนี้ เราทุกคนใน ชนพ. จึงเสมือนฟันเฟืองเล็ก ๆ ในการขับเคลื่อน ชนพ. เพียงแต่ในยุคของผม นั้น ผมขอเรียกว่า ยุคแห่งการแสวงหาจุดยืนของ ชนพ. เพราะ ชนพ. ได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบจากการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอน ทั้งในแง่ความคิดคนเรียน และ สไตล์นักพัฒนาของสาขา
                การทำงานของ ชนพ. ใต้ร่มเงาของประธาน ชนพ. หลายท่าน และหลากทีมงานย่อมมีความแตกต่างกันไปตามบุคลิกและยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นมาตรฐานใน ชนพ. นั้น ยังชัดเจนเช่นเดิม ที่อยากนำเสนออย่างยิ่งนั้น 2 ประการ คือ การออกค่าย และ การเสวนาแลกเปลี่ยนความคิด
                ผมขออนุญาตกล่าวถึง ประเด็นแรกก่อน คือ การออกค่าย อย่างที่ผมกล่าวข้างต้น ค่ายเป็นเครื่องประกันคุณภาพของ ชนพ. หรือ อาจกล่าวได้ว่า ประกันคุณภาพเด็กพัฒนาชุมชน     ในคราวเดียว คำถามฉลาด ๆ บางครั้ง ยังก้องอยู่ในหัวผมจนถึงทุกวันนี้ ที่ว่า ออกค่ายหรือยัง? ไปค่ายไปทำอะไร? ได้อะไรจากค่ายบ้าง
                สิ่งที่ค่ายมี และเป็นอยู่ คือ ค่ายเป็นตัวเชื่อมร้อยความเป็นนักพัฒนารุ่นใหม่แก่เรา หลายคนที่ได้อยู่ค่าย คงมีคำตอบอยู่ในใจว่า ค่ายมีอะไร แต่คงต้องต้องสาธยายให้กันฟังอีกครั้งว่า
¥ ค่าย สอนให้เรา อดทนให้เป็น
¥ ค่าย สอนให้เรา ทนอดให้ได้
¥ ค่ายสอนให้เรา รู้ว่า หัวหน้ากับลูกน้อง ต่างกันอย่างไร
¥ ค่ายสอนให้เรา รู้ว่า หลักการเชื่อได้ แต่ควรปฏิบัติได้จริง
¥ ค่ายสอนให้เรารู้ว่า ชาวบ้านฉลาดกว่าที่คุณคิด
¥ ค่ายสอนให้เรารู้ว่า คนดีคือ คนทำงาน คนทำดี ไม่ใช่ คนไม่ทำชั่ว
¥ ค่ายสอนให้เรารู้ว่า เงินทุกบาทสำคัญ แต่จิตใจสำคัญกว่า
¥ ค่ายสอนให้เรารู้ว่า  เวทีเปิดใจตอนดึก เป็นเวทีที่ดี แต่ต้องเลือกเวลาทำ
                และเหตุผลอีกมากมาย   หลาย ๆ คนคงผ่านเวทีค่ายมาพอควร  ผมก็คงคล้าย ๆ กับท่าน ๆ คิดว่า มีประสบการณ์ในแง่บวกกับค่ายมากกว่าลบ  อาทิ  ค่ายบ้านแมด  หนองบัวลำภู  ประมาณปี 42-43  ผมรู้สึกดีมาก ๆ อาจเป็นเพราะว่า ค่ายนี้ ช่วยสอนผมและเพื่อน น้อง หลาย ๆ คนให้เข้าใจและโตขึ้นทางความคิดด้วย ทั้งในแง่ทักษะของชีวิตและการทำงานเรื่องที่สนุกสนาน ก็พอมี      เพราะเราต้องไปเตรียมค่ายกว่า 10 วัน  เตรียมค่ายจากป่าหญ้า  ขนาดกว่าไร่ เป็นแปลงเกษตร เป็นไปได้ไง? แค่ใช้เครื่องตัดหญ้า บางคนยังไม่เป็นเลย.....แล้วจะพัฒนาทั้งหมู่บ้าน... คนโง่แล้วขยัน ลำบาก ต้องเข้าใจ …….ฮา ฮา ฮา
                ผมยังจำได้เลยว่า ผมเคยทำแปลงเกษตร นะ ยังถูกชาวบ้าน(พี่หนา ที่ปรึกษาโครงงานเกษตร) แซวว่า ปลูกข้าวโพดไม่ต้องยกแปลงสูง ก็ได้ ก็แหม......ก็อยู่มหาวิทยาลัย นะ เขาสอนให้เรามั่นใจแบบวิชาการไง....ก็เลยพาลไปคิดถึงแปลงเกษตรสาธิต ประสบการณ์แค่นี้....และที่ฮาและแค้นในทีเดียว ก็คือ ตอนที่ให้เพื่อน ๆ น้อง ๆ มาปลูกพืชในแปลงนา  ขนาดขุดหลุมเป็นรู ๆ ให้แล้ว แค่หยอดลงรู...เค้ายังบอกว่า ร้อน เหนื่อย โอ๊ย....นั่นซิ...ว่าที่ นักพัฒนาประเทศไทย
                กับหัวหน้าโครงการอื่น ๆ ก็ฮา  ๆ นะ ตรงนี้ ยังสอนให้เรา  ๆ รู้ถึงความจริงว่า หัวโขน    มันไม่สำคัญนะ แต่มัน...........จริง ๆ     ตอนไม่มีหัวโขนก็โอเคนะ เพื่อน   พอมีหัวโขน ก็ว่ากันไป เราก็เป็น.....จริง ๆ เลย    แต่เพราะ ชนพ.  จึงได้เรียนรู้ สุดท้ายเราได้บทเรียนและนำมาแปลงเป็นทุนสมองแก่ตนเอง ก็คือ   คนกับงาน มันแข็งเกินไป ฉะนั้น เวลาทำงานกับคน ต้องใช้ความรู้สึก แต่ไม่ใช่ให้มีอารมณ์นะ... ฮา ฮา ฮา    และอีกข้อที่ผมจำมาทำงานจนปัจจุบันก็คือ ชาวบ้านเก่งพอตัวนะ และที่สำคัญก็คือ เขามีชุดคำตอบการพัฒนาเหมือนกัน มีหลาย ๆ ชุด      สำหรับนักพัฒนา      ทุกคน....ฮา ฮา ฮา  นี่ถ้าเป็นสมัยผมเรียนคงมีเพื่อนหรือน้องบางคน พูดขึ้นว่า   “เดี๋ยวจัดให้
                คงมีเท่านี้ สำหรับการระลึกถึงค่าย ขออนุญาตกล่าวถึง ประเด็นที่สอง เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิด  โดยข้อเท็จจริงแล้ว  จะเรียกว่า เวทีเสวนาก็ไม่ตรงเสียทีเดียวนัก เพราะไม่มีเวที  เดิมเป็น  แคร่ และเสื่อ  ประเด็นการพูดคุยเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป ในสังคม ณ ห้วงเวลานั้น ในยุคผม ไม่มีน้ำมันแพง ในยุคผม ไม่มีโจร(กระจอก)ใต้  หัวข้อที่คุยกัน ถ้าเป็นการอวดอ้างฤทธานุภาพเกินไปนะ เราจะคุยกันเรื่อง การเรียน การทำงานค่าย เรื่องที่เกี่ยวกับ ชนพ.  เรื่องชาวบ้าน(พี่น้อง ๆ ชนพ)  เรื่องประท้วงเจ้ากรม มข. และ เรื่องฟุตบอล  เรื่องฟุตบอล ส่วนใหญ่ก็ประมาณนี้
                เวทีเช่นนี้  เกิดขึ้นบ่อย ๆ ครั้ง บ่อยครั้ง บ่อย บางคนก็เพลีย เพราะเป็นเรื่องหนัก บางคนก็หลับ เพราะคุยกันนาน บางคนก็คุย จนไม่อยากให้(มัน)คุย  แต่สิ่งที่เราได้สิ่งหนึ่ง คือ ความรู้จัก ความเข้าใจ และสนิทสนมกันในหมู่พี่น้อง เพื่อน ๆ แม้บางที อาจจะทำให้หลาย ๆ คน อยากออกกำลังกายขึ้นมาในเวทีนั้น  ๆ ก็ตามใจ  แต่ความคิดรวบยอดของการทำกิจกรรมถือว่า  ใช้ได้
                มาถึงตรงนี้ ผมขอขอบคุณความกล้าและความตั้งใจของ ชนพ. ที่ยังดำรง 2  กิจกรรมอันทรงคุณค่านี้   จะอย่างไร เวลาเปลี่ยนไป ซุ้มไม้ไผ่หมดไป และกลับมาอีกครั้ง และหมดไป แต่หวังใจอย่างยิ่งว่า จิตใจของคน ชนพ. จะไม่เปลี่ยน และไม่พลวัตตามค่านิยมอันไร้ค่าแห่งโลกทุนนิยมวิปริต
               

                                                                                                                                            พี่โหน่ง cd # 14

1 ความคิดเห็น:

  1. ฮาๆๆ
    เรื่องนี้เค้าแต่งนะ
    เศร้าๆๆ
    ไม่ใช่ นายกฯโหน่งเด้อ

    แต่ก็ดี...ที่มันยังอยู่
    อยู่กับ ชนพ. ต่อไป

    ตอบลบ