ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้า้งสังคมแห่งการเรียนรู้...

หากต้องการลงบทความ/งานเขียนของท่าน สามารถแจ้งความประสงค์ได้ทางเว็บบอร์ด หรือทางอีเมล์แอดเดรส; po_kenchin@hotmail.com
หรือจะสมัครสมาชิกอย่างเดียวก็ได้นะครับ

12 กุมภาพันธ์ 2554

รูปแบบการออกค่าย

          การเรียนถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ รับผิดชอบให้สุดๆ การออกค่าย ถือเป็นการแสดงสปิริต ความรับผิดชอบต่อสังคม อย่างสุดๆ เช่นเดียวกัน ดังนั้นทำให้ผมกับเพื่อน ต่างสาขากัน ชอบเป็นชีวิตจิตใจ จนนำไปสู่การแข่งขันออกค่าย ท้ายสุดเพื่อนผมเขาชนะขาด เพราะอะไร..........เพราะเขายอม... ยอมเรียนไม่จบรุ่น...(เป้อ..ว่างั้นเหอะ)
            การออกค่ายที่ผมพบเห็นมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป สิ่งสำคัญคือรูปแบบหรือจุดมุ่งหมายของสมาชิกค่าย และเป็นไปตามนโยบายชื่อค่าย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
            1.การออกค่ายทั่วไป มักออกมาในรูปแบบการสร้างถาวรวัตถุ เช่น ฝายกั้นน้ำ(ค่ายของชาววิดวะ) สร้างศาลา,โรงเรียนห้องสมุด เป็นต้น โครงงานที่เสนอไป ไม่มีการแลกเปลี่ยน หรือศึกษาข้อมูลทั่วไปในหมู่บ้านกับชาวบ้าน ทำให้ไม่ทราบปัญหาที่แท้จริงของชาวบ้าน อีกทั้งโลกทัศน์    ภูมิปัญญาต่างๆ ของชาวบ้านในพื้นที่นั้นๆ มักถูกมองข้ามไป ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่นปัญหาฝ่ายน้ำล้นรั่ว ดินทรุด อุปกรณ์ชำรุดหรือเสียแล้วไม่งบซ่อมบำรุง รักษา เป็นต้น แน่นอนว่ามุมมองทางวิชาการ แนวทางการสร้างทางวิศวะกับปัญหาความเป็นอยู่ของชาวบ้าน อาจจะสวนทางกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นลักษณะประชาสังเคราะห์ มีปัญหาขาดแคลนอะไร หน่วยงานประชาสงเคราะห์ไปแจก ไปบรรเทาทุกข์ เป็นต้น ลักษณะขายผ้าเอาหน้ารอด (หรือผักชีโรยหน้า) ไว้ก่อน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ย่อมจะเกิดให้เกิดปัญหาเรื้อรัง ต่อไปอย่างไมมีวันจบสิ้น

            2. การสร้างวัตถุ  ศึกษาสภาพหมู่บ้าน สังคมด้วย
            รูปแบบนี้มีมากในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะของคณะทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  การออกค่ายของชมรม ชุมนุมต่างๆ เหล่านี้เป็นการนำเอารูปแบบการสร้างสิ่งต่างๆ เช่น ศาลา โรงเรียน รั้ว ห้องสมุด สนามกีฬา ฯลฯ ผสมผสานกับการศึกษาแบบทั่วไป (โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่เรียนศึกษาชุมชนหรือ เรียนมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา) ของพื้นที่ ที่สร้าง ทั้งปัญหาต่างๆ ของชุมชน ความเป็นมาของชุมชน สภาพเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้นอกจากจะเข้าใจปัญหาต่างๆ ของชุมชน,ความเป็นมาของชุมชน,ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ แล้ว  ยังจัดแบ่งความชัดเจนในการศึกษาออกค่ายด้วย เช่น โครงงานเกษตร โครงงานอนามัย โครงงานศึกษา โครงงานศึกษาชุมชน เป็นต้น สิ่งต่างๆ เพื่อเป็นการเข้าใจปัญหาต่างๆ ของชุมชนแล้วยังมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับชาวบ้านอีก มีการสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ ทำให้อาสาสมัครที่ออกค่ายได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์โดยตรงกับชาวบ้าน ชาวบ้านมีความรู้สึกสนิทสนม           มีความสัมพันธ์มากขึ้นตามลำดับ ชาวบ้านรู้สึกว่าชาวค่ายเป็นส่วนหนึ่งของชาวบ้านและชุมชน ชาวค่ายตั้งใจจะเข้าไปแลกเปลี่ยนปัญหา เข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชน กับความต้องการของชุมชนได้พอสมควร

            นอกจากนี้ ชาวค่ายยังมีโอกาสเข้าใจถึงปัญหาที่จริงของชาวบ้าน(เป็นการเตรียมตัว เตรียมใจ เรียนวิชามานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ของน้องที่ยังไม่เรียนอีกด้วย)

            3. ศึกษาชุมชน
            ทำกันในหมู่ของนักกิจกรรมที่มีประสบการณ์งานค่ายมาพอสมควร ถือเป็นการพัฒนาค่ายอาสาอาจจะเป็นสูงสุดของงานค่ายอาสา ค่ายนี้มุ่งเน้นการเก็บข้อมูล ศึกษาข้อมูลสภาพทั่วไปของหมู่บ้าน สังคมนั้นๆ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน ทัศนะต่างๆ ของชาวบ้านกับชาวค่าย จะได้ข้อมูลที่ชัดเจน ทำให้เข้าใจสภาพปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้าน(Holism ถือเป็นการมองที่เป็นระบบ ภาพรวมขององค์ความรู้) ความเป็นอยู่ของชุมชนเหมือนกับการเป็นคนในชุมชนหรือชุมชนนั้นๆ (ถ้าอยู่กันหลายวัน) นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับชาวค่ายจะมีมากขึ้นด้วยตามลำดับ แน่นอนสิ่งที่ได้เห็นและสิ่งที่ได้มักออกมาในรูปของข้อมูล ความรู้ ลักษณะที่เป็นนามธรรมซะมากกว่า  
            สรุปแล้วที่ผ่านมา การออกค่ายไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหาชนบทหรือชุมชนในพื้นที่แต่ประการใด แต่เป็นการกระตุ้นส่งเสริม สนับสนุนการทำงานร่วมกับชาวบ้าน ทั้งในรูปแบบการสร้างวัตถุ การศึกษาให้ชาวบ้านมีจิตสำนึก เข้าใจความเป็นจริงในสังคม อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับชาวค่าย(ส่วนมากเป็นภาพนักศึกษา) สิ่งต่างๆ ที่ชาวค่ายนำไปให้กับชาวบ้านนั้นยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชาวบ้านและชุมชน เป็นเพียงการไปบรรเทาทุกข์ ความเดือดร้อน เรื่องเล็กๆ เรื่องน้อยๆ เท่านั้นเอง นอกจากนี้ปัญหาที่ชาวค่ายก็ยังมีภาระหน้าที่อยู่ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นปัญหาสำคัญของชาวค่าย ปัญหาความไม่เข้าใจกันของชาวค่าย ความแตกต่างอุดมการณ์ แนวคิดกันซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอีกประการและเรื่องบประมาณที่ทางค่ายได้มานั้นมักจะน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการในการออกค่าย (แท้ที่จริง มักจะถูกตัดงบให้น้อยลงอยู่แล้วทุกปี)
            การออกค่ายจึงถือว่าเป็นลักษณะงานสงเคราะห์มากกว่า และการพัฒนาตัวผู้นำ สมาชิก การออกค่าย  รูปแบบการออกค่ายจะเป็นอย่างไร กิจกรรมในการออกค่ายมีอะไรบ้าง อุดมการณ์จากกการที่ได้ออกไปสัมผัสกับสภาพชีวิตจริงของสังคม ก็ทำให้โลกทัศน์ ทัศฯต่างๆ กว้างขึ้นอีก แต่ในความคิด ความหวังต่อตัวผู้ออกค่ายขึ้นอยู่กับความหวังขอแต่ละคน ว่ามีมาก น้อยแค่ไหน  หรือเป็นเพียงการชักชวน หรือตามกันมา หรือเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและตนเอง
            การออกค่ายจริงอยู่ว่าเป็นการแสวงหาของคนรุ่นใหม่ที่มุ่งเข้าหาสัจธรรม แต่ในส่วนหนึ่งไปล้มเหลว ผิดหวังในการออกค่ายครั้งต่อไป ความจริงแล้วการค้นหาความเป็นตัวของตัวเอง เข้าใจตัวเองนี้แหละคือสิ่งสำคัญ ฉะนั้นการออกค่ายเป็นการสร้างจิตสำนึกอุดมการณ์ที่ถูกต้องและเป็นจริงของสังคมต่อตัวเองมากกว่า การพัฒนาคนเป็นมนุษย์ในตัวเอง มีความเป็นสำคัญที่สุด  และจะทำให้ค่ายแต่ละชมรมก้าวไป ตามจุดหมายที่วางเอาไว้อย่างสูงสุด เพื่อสมาชิกค่ายได้เตรียมกาย เตรียมใจ จิตสำนึกเดียวกันพร้อมที่จะพัฒนาต่อตัวเอง ต่อสังคม ต่อไป

อ่านเขียนและสรรหามาให้อ่าน
ญ้อ ณ นคร
1/ก.พ/ 2538

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ9 เมษายน 2554 เวลา 23:12

    ยอม... ยอมเรียนไม่จบรุ่น...(เป้อ..ว่างั้นเหอะ)
    นับถือเลยย

    ตอบลบ
  2. อ่านบทความแล้วชื่นชมคนออกค่ายทำประโยชน์เพื่อสังคมจริงๆ
    เราเรียนด้านProgrammerค่ะ พอดีจะทำProjeectจบ สร้างโปรแกรมเกี่ยวกับการออกค่าย อาจารย์ให้ไปหาปัญหาของการออกค่ายมา เพื่อมาทำโปรแกรมไว้ใช้งานทางด้านนี้ เสนอปัญหาไปหลายอย่างแต่ไม่ผ่านสักที่ อาจารย์เลยบอกให้มาสอบถามคนออกค่ายอาสาโดยตรง เลยอยากจะรบกวน คนเคยออกค่ายอาสาบ่อยๆ ช่วยเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันหน่อยนะค่ะ ในอนาคตอาจมีโปรแกรมนี้ ไว้ให้คุณได้ใช้งาน เพื่อช่วยคุณลดปัญหาหรือแก้ปัญหาของการออกค่าย สิ่งสำคัญวัตถุประสงค์ของการออกค่ายและปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงออกค่ายมันคืออะไร??? แสดงความคิดเห็นกันมาเยอะๆนะค่ะ ขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ ล่วงหน้าค่ะ

    หากสะดวกส่งข้อมูลผ่านทางอีเมลล์ ปูยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ
    lukpoo_13@hotmail.com

    ตอบลบ