ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้า้งสังคมแห่งการเรียนรู้...

หากต้องการลงบทความ/งานเขียนของท่าน สามารถแจ้งความประสงค์ได้ทางเว็บบอร์ด หรือทางอีเมล์แอดเดรส; po_kenchin@hotmail.com
หรือจะสมัครสมาชิกอย่างเดียวก็ได้นะครับ

24 มกราคม 2554

ร่วมไว้อาลัยกับการจากไปของ ทองใบ ทองเปาด์



นามปากกา:ศรีสารคาม, ธิดา ประชารักษ์, รังสรรค์ ภพไพบูลย์
เกิด:12 เมษายน พ.ศ. 2469 (อายุ 84 ปี)
อำเภอเมืองมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม
ถึงแก่กรรม:2554-1-24
อาชีพ:นักหนังสือพิมพ์ ทนายความ

            ทองใบ ทองเปาด์ (12 เมษายน พ.ศ. 2469 - 24 มกราคม พ.ศ. 2554) ทนายความ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 และสมาชิกวุฒิสภา

ทองใบ ทองเปาด์ เกิดที่ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 6 คนของ นายหนู และนางเหง่า มีอาชีพทำนา จบชั้นมัธยม 6 ที่จังหวัดมหาสารคาม และมาเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เข้าเรียนที่คณะสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วลาออกมาเรียนนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระหว่างศึกษาในกรุงเทพ เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน จึงอาศัยเป็นเด็กวัด อยู่วัดชนะสงครามมาตลอด
หลังจบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เริ่มทำงานเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ ควบคู่ไปกับการเป็นทนายความเพื่อช่วยเหลือคนยากไร้ ที่ถูกสังคมเอารับเอาเปรียบ โดยไม่คิดค่าตอบแทน แม้กระทั่งคดีความที่ไม่มีทนายคนไหนกล้ารับว่าความ เช่น เคดีแรงงาน คดีชาวสลัม คดีเด็กและสตรี คดีทางการเมือง คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือคดีรักษาผลประโยชน์เพื่อแผ่นดิน ทองใบ ทองเปาด์ก็รับว่าความให้ทั้งสิ้น โดยทองใบถือคติที่ว่า การคุกคามขู่เข็ญถือเป็นเรื่องธรรมดาของการทำงานในอาชีพทนายความ หากเราทำงานเพื่อประชาชนเป็นหลักใหญ่ ทำความดีประชาชนจะคุ้มครองเรา
           ทองใบเห็นว่าการว่าความเพื่อช่วยเหลือประชาชนนั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะไม่ว่าจะว่าความมากเท่าไหร่ คดีต่างๆก็มิได้ลดน้อยลงเลย เขาจึงได้ดำเนินงานสอนกฎหมายให้ประชาชนควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นชาวบ้านในระดับท้องถิ่น คนงานในโรงงาน และนักเรียน เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่กระทำผิดกฎหมาย และยังอาจสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้มากขึ้นด้วย
ทองใบว่าความให้กับนักหนังสือพิมพ์ในคดีกบฏสันติภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2496 พร้อมกับทำงานเป็นนักหนังสือพิมพ์ ที่หนังสือพิมพ์ "ไทยใหม่" ร่วมกับ สุภา ศิริมานนท์ ต่อมาย้ายไปหนังสือพิมพ์ "พิมพ์ไทย" ร่วมกับ ทวีป วรดิลก ย้ายไป "สยามนิกร" "สุภาพบุรุษ-ประชามิตร" และ "ข่าวภาพ" โดยมีหน้าที่เขียนข่าวการเมือง มีฉายาว่า "บ๊อบการเมือง" (เนื่องจากขณะนั้น ทองใบไว้ผมยาว ทรงบ๊อบ)
ในปี พ.ศ. 2501 ได้เดินทางร่วมคณะหนังสือพิมพ์ไปประเทศจีน ร่วมกับกุหลาบ สายประดิษฐ์ สุวัฒน์ วรดิลก และเพ็ญศรี พุ่มชูศรี เมื่อกลับมาจึงถูกจับขังคุกหลายปีโดยไม่มีความผิด ได้รับการปล่อยตัวเมื่อ พ.ศ. 2509 ออกมาทำงานเป็นทนายความ และนักข่าวหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์
ทองใบ ทองเปาด์ ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2527 - 2529  และได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2527 แต่ทองใบปฏิเสธที่จะเดินทางไปรับรางวัลที่ประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องจากต้องรับรางวัลจากประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ซึ่งในขณะนั้นมีภาพของผู้นำเผด็จการ และละเมิดสิทธิมนุษยชน จากกรณีลอบสังหารนายเบนีโย อากีโน (สามีของนางคอราซอน อากีโน) เมื่อ พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ.2547 ทองใบก็ได้รับเลือกให้รับรางวัล นักกฎหมายดีเด่น จากกองทุนศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์อีกด้วย 
           ทองใบ ทองเปาด์ ได้เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวาย เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น