ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้า้งสังคมแห่งการเรียนรู้...

หากต้องการลงบทความ/งานเขียนของท่าน สามารถแจ้งความประสงค์ได้ทางเว็บบอร์ด หรือทางอีเมล์แอดเดรส; po_kenchin@hotmail.com
หรือจะสมัครสมาชิกอย่างเดียวก็ได้นะครับ

31 มกราคม 2554

ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)


สันติภาพดำรงอยู่ทุกย่างก้าว
ดวงตะวันแดงจ้าคือหัวใจของฉัน
ดอกไม้แต่ละดอกยิ้มให้ฉัน
เติบโต เขียวสดชื่นเสียนี่กระไร
ช่างเย็นชื่นยามลมพัด
สันติภาพดำรงอยู่ทุกย่างก้าว
หนทางแห่งความเบิกบานไม่มีที่จะสิ้นสุด
         
           บทภาวนาได้สรุปเอาแก่นแท้แห่งสาระของท่านติช นัท ฮันห์ - สันติภาพไม่ใช่สิ่งภายนอกหรือสิ่งที่จะเสาะแสวงหาให้บรรลุได้ การอยู่อย่างมีสติ และเพลิดเพลินกับแต่ละย่างก้าวและลมหายใจเข้าออกเป็นการเพียงพอแล้ว สันติภาพดำรงอยู่ในแต่ละย่างก้าวเดิน และหากเราเดินในวิถีเช่นนี้ ดอกไม้จะบานภายใต้ฝ่าเท้าทุกๆ ก้าวเดิน ในความเป็นจริงดอกไม้จะยิ้มให้เรา และอวยพรเราบนหนทาง
          ท่านติช นัท ฮันห์ถือกำเหนิดขึ้นในภาคกลางของเวียดนามเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ และได้บวชเป็นพระภิกษุในพระบวรศาสนาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ เมื่ออายุย่างเข้าสิบหก เพียงแปดปีต่อมาท่านได้เป็นผู้ก่อตั้งสำนักอังกวง (An Guang Bhuddhist Insitute) ซึ่งได้กลายมาเป็นศูนย์พุทธศาสนาชั้นแนวหน้าของเวียดนามใต้
          ในปี ๒๕๐๕ ท่านติช นัท ฮันห์ ได้เดินทางมายังสหรัฐอเมริกาเพื่อศึกษาและสอนศาสนาเปรียบเทียบ ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและมหาวิทยาลัยพรินสตัน แต่ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ภิกษุร่วมสำนักในเวียดนามได้ส่งโทรเลขมานิมนต์ท่านกลับประเทศ เพื่อร่วมงานการยุติสงครามหลังการโค่นล้มระบบการปกครองกดขี่ของเดียม (Diem Regime) ท่านกลับประเทศทันที และกลายเป็นผู้นำขบวนการต่อต้านโดยสันติวิธีของศตวรรษนี้ โดยยึดหลักปรัชญาของคานธี
          ในปี พ.ศ.๒๕๐๗ ท่านติช นัท ฮันห์พร้อมด้วยคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย และเหล่านักศึกษาในเวียดนามได้ร่วมกันก่อตั้งโรงเรียนเยาวชนเพื่อบริการสังคม (Youth of Social Service) ซึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันได้ให้ชื่อว่าพืชพันธุ์สันติภาพน้อยๆ (Little Peace Corps) ทีมของคนหนุ่มสาวได้มุ่งสู่ชนบทเพื่อจัดตั้งโรงเรียนและศูนย์อนามัยและรื้อฟื้นหมู่บ้านที่ถูกโจมตีด้วยระเบิด ในยุคที่กรุงไซง่อนล่มสลาย มีพระ แม่ชี และนักสังคมสงเคราะห์หนุ่มสาวมากกว่าหนึ่งหมื่นคนได้เข้าร่วมพันธะการทำงานครั้งนั้น ในปีเดียวกันท่านได้จัดตั้งสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในเวียดนาม คือสำนักพิมพ์ลาบอย (La Boi Press)  ในหนังสือของท่าน และในฐานะของหัวหน้าบรรณาธิการของสิ่งพิมพ์อย่างเป็นทางการของโบสถ์ ยูนิไฟ บุดดิสท์ (Unified Bhuddhist Church) ท่านได้เรียกร้องสมานฉันท์ระหว่างพรรคที่ก่อสงครามในเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ข้อเขียนของท่านจึงถูกสั่งห้ามเผยแพร่จากรัฐบาลตรงข้ามทั้งสองฝ่าย
          ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ด้วยการกระตุ้นจากพระสหธัมมิกของท่านท่านจึงได้รับนิมนต์จาก Fellowship of Reconciliation and Cornell เดินทางมาสหรัฐอเมริกา เพื่อบรรยายให้พวกเราได้รับรู้ถึงความปรารถนาและความเจ็บปวดของมวลชนที่ส่วนใหญ่เป้นผู้ไร้สิทธิ์เสียงของเวียดนาม (New Yorker, มิ.ย. ๒๕, ๒๕๐๙) ท่านมีรายการที่แน่นขนัดทั้งการพูดตามรายการที่นัดหมายและการพบปะส่วนตัว ท่านได้พูดโน้มน้าวให้สำนึกถึงการหยุดยิงและเจรจาเพื่อการยุติ ด้วยแรงบันดาลจากท่านติช นัท ฮันห์ และโครงการด้านสันติภาพของท่าน มาร์ติน ลูเธฮร์ คิง เจอาร์ จึงได้เสนอชื่อท่านเพื่อเข้ารับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize) ในปี พ.ศ.๒๕๐๐ "ข้าพเจ้าไม่เห็นว่าจะมีผู้ใดอื่นที่สมควรต่อการรับรางวัลโนเบล ยิ่งกว่าภิกษุผู้อ่อนโยนจากเวียดนามท่านนี้" ลูเธอร์ คิง โดยอิทธิพลทางความคิดของท่าน ติช นัท ฮันห์ ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณชนเพื่อต่อต้านสงคราม ในการให้ข่าวหนังสือพิมพ์ร่วมกับท่านติช นัท ฮันห์ ในชิคาโก
          เมื่อบาทหลวงโทมัส เมอร์ตัน ผู้มีชื่อเสียงในฐานะนักบวชที่ทรงอิทธิคุณ ได้พบกับท่านติช นัท ฮันห์ที่สำนักสงฆ์ Gethsemami ใกล้ๆ หลุยส์วิลส์ เคนตัคกี้ ท่านบาทหลวงกล่าวกับเหล่านักศึกษาของท่านว่า "เพียงแต่ท่าทีการเปิดประตูและการเข้ามาในห้อง ก็บ่งบอกถึงญาณทัศนะของท่าน ท่านเป็นพระอย่างแท้จริง"
          บาทหลวงเมอร์ตันยังได้เขียนบทความ "นัท ฮันห์คือพี่ชายของฉัน (Nhat Hanh is My Brother) เป็นคำร้องที่ประทับใจเพื่อรับฟังข้อเสนอทางสันติภาพของท่านนัท ฮันห์ และสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อการสร้างเสริมสันติภาพของท่านนัท ฮันห์ หลังจากการพบปะกับวุฒิสภาฟูลไบรท์และเคเนดี้ เลขาธิการกระทรวงมหาดไทยแมคนามารา (Mcnamara) และคนอื่นๆ ในวอชิงตัน ท่านติช นัท ฮันห์ได้เดินทางไปยุโรปเพื่อพบปะกับสมาชิกระดับนำของรัฐและสำนักงานของโบสถ์คาทอลิก รวมทั้งการเข้าเฝ้าโป๊ป จอห์น ปอลที่ ๖ ถึงสองครั้ง เพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างคริสต์ศาสนา และพุทธสาสนิกชนในอันที่จะนำสันติภาพสู่เวียดนาม
          ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ในข้อเรียกร้องของ Unified Buddhist Church ท่านติช นัท ฮันห์ได้จัดตั้งกรรมการชาวพุทธเพื่อสันติภาพ ต่อการเจรจาสันติภาพที่กรุงปารีส ภายหลังจากการเซ็นสัญญาเพื่อสันติภาพในปี พ.ศ.๒๕๑๖ ท่านไม่ได้รับอนุญาติให้กลับเข้าเวียดนาม ท่านจึงได้จัดตั้งชุมชนเล็กๆ ห่างจากกรุงปารีสไปทางตะวันตกเฉียงใต้หนึ่งร้อยไมล์ โดยตั้งชื่อว่า "มันเทศ" (Sweet Potato) ในปี พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๐ ท่านติช นัท ฮันห์ได้นำการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือผู้อพยพชาวเรือในอ่่าวสยาม แต่ท่าทีเป็นศรัตรูของรัฐบาลไทยและรัฐบาลสิงคโปร์ทำให้เป็นไปไม่ได้ที่จะดำเนินงานต่อไป หลังจากนั้นอีกห้าปีท่านจึงได้อยู่ที่ชุมชนมันเทศ เจริญภาวนา อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำสวน และรับแขกผู้มาเยือนเป็นครั้งคราว
          เดือนมิถุนายนปี พ.ศ.๒๕๒๕ ท่านติช นัท ฮันห์ได้ไปเยือนนิวยอร์ก ในปีต่อมาก็จัดตั้งหมู่บ้านลูกเกด (Plum Village) ศูนย์วิปัสนาที่ใหญ่กว่า ใกล้ๆ เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) รายล้อมด้วยสวนองุ่นและทุ่งนาสาลี ทุ่งข้าวโพด และทุ่งทานตะวัน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๖ ท่านได้เดินทางไปทวีปอเมริกาเหนือปีเว้นปี เพื่อจัดปฏิบัติธรรมและบรรยายธรรม การอยู่อย่างมีสติและความรับผิดชอบต่อสังคม "สร้างสันติภาพในปัจจุบันขณะที่เรามีชีวิตอยู่" ถึงแม้ว่าท่านติช นัท ฮันห์ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของท่านได้ แต่หนังสือของท่านที่เขียนด้วยลายมือยังคงหมุนเวียนเผยแพร่กันอยู่อย่างลับๆ ในเวียดนาม การปรากฏตัวของท่านเป็นสิ่งที่ตระหนักรู้ได้โดยผ่านสานุศิษย์และมิตรสหายของท่านที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาอยู่ทั่วโลก พยายามที่จะช่วยบรรเทาความทุกข์ยากของคนจนที่สิ้นหวัง ชาวเวียดนามลักลอบสนับสนุนครอบครัวที่หิวโหย และการรณรงค์เรียกร้องในฐานะนักเขียน ศิลปิน พระ และแม่ชี ผู้ถูกคุมขังเพราะความเชื่อของเขาหรืองานศิลปะของเขา งานเหล่านี้ได้แผ่ออกไปเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ถูกส่งกลับประเทศ และส่งข้าวของเครื่องใช้พร้อมทั้งความช่วยเหลือทางจิตวิญญาณให้กับผู้ลี้ภัยตามแคมป์ต่างๆ ในเมืองไทย มาเลเซีย และฮ่องกง
          ปัจจุบันท่านอายุ ๖๔ ปี (พ.ศ.๒๕๓๓) แต่ยังคงมองดูเหมือนอายุน้อยกว่าวัยจริงสักยี่สิบปี ติช นัท ฮันห์ ปรากฏตัวในฐานะของครูผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ยี่สิบ ในท่ามกลางสังคมที่เน้นเรื่องความเร็ว ประัสิทธิภาพ และความสำเร็จทางวัตถุ ความสามารถของท่านติช นัท อันห์ที่จะเดินอย่างเยือกเย็นด้วยความสงบสุขในสังคมตะวันตก แม้ว่าวิธีการแสดงความรู้สึกจะเรียบง่าย สาระของท่านเปิดเผยถึงหัวใจแห่งการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ถึงสภาพความเป็นจริงที่ออกมาจากการภาวนา การฝึกอบรมทางพระพุทธศาสนา และงานที่ท่านทำทั่วโลก
          วิธีการสอนของท่านมีแก่นหลักอยู่ตรงการหายใจอย่างมีสติ การมีสติเมื่อกระทำการแต่ละอย่างในชีวิตประจำวัน การภาวนา ท่านบอกเราว่า มิใช่สิ่งที่อยู่เฉพาะในห้องสมาธิ การล้างจานก็ศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกันกับการน้อมกราบคาราวะหรือการจุดธูป ท่านยังได้บอกเราถึงการแย้มยิ้มบนใบหน้าของเรา จักสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อทั่วร่างกายของเรา ท่านเรียกมันว่า "โยคะแห่งปาก" โดยข้อเท็จจริงของการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้ยืนยันว่า เมื่อเราได้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อบนใบหน้าภายใต้การแสดงออกของความรู้สึกอันแจ่มใส เราได้ให้บังเกิดผลกับระบบประสาทของเรา ซึ่งจะนำไปสู่ความรู้สึกเบิกบานอันแท้จริง สันติภาพและความสุขเป็นสิ่งที่หาได้ ท่านหมายเตือนเรา หากเราเพียงแต่จัดการกับความคิดที่ซัดส่ายให้เงียบสงบลงได้นานพอควร เพื่อกลับสู่ปัจจุบันขณะและมีโอกาสได้สังเกตท้องฟ้าคราม รอยยิ้มของเด็ก ดวงตะวันรับอรุณ "หากเรามีศานติสุข หากเรามีความสุข เราสามารถยิ้ม และทุกคนในครอบครัวของเรา สังคมทั้งมวลจะได้รับดอกผลแห่งความสงบสุขของเรา"

อาโนลด์, คอทเลอร์
เทอเนค, ฝรั่งเศส
กรกฎาคม  ๒๕๓๓
















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น